ในมุมมองของ….ครูมะเดื่อ….ตอนที่ ๙ "ทฤษฎีบริหารการศึกษา : ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง....."



องค์ประกอบสำคัญที่สุดของงานวิชาการที่จะส่งผลให้งานวิชาการประสบผลสำเร็จ

ตามเป้าหมายคืออะไร..? คำตอบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะเป็นอะไรก็ช่าง ...

แต่สำหรับคุณมะเดื่อแล้วขอตอบว่า......คือนักเรียน...



งานวิชาการจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาด นักเรียน และ " นักเรียน " คือ คนที่สำคัญที่สุด

ในสถานศึกษา... หากจะกล่าวตามหลักการที่รู้กันทั่วไปว่า การเรียนการสอนจะเกิดขึ้น

จะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ ครู นักรเียน และกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัด

ตามหลักสูตร...เป็นหลักสากลทั่ว ๆ ไป



ผู้บริหารที่ฉลาด จะต้องมองออกถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของงานวิชาการของโรงเรียน มิใช่

ดูเพียง " ผลสัมฤทธิ์ของการเรียน" ว่า หากผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ ก็เพราะครูสอนไม่ดี

มิหนำซ้ำ ก็อาจจะระบายอารมณ์กับครูที่ไม่ถูกชะตากับตนเองอีกต่างหาก



เหมือนกรณีศึกษาที่ขอนำมาฝากมิตรรักแฟนเพลงต่อไปนี้สักหนึ่งกรณี

ผู้บริหารเพิ่งย้ายมารับต่ำแหน่งที่โรงรียนแห่งหนึ่งในภาคเรียนที่ ๒ หลังจากผล

การสอบ O _ NET ป.๖ ประกาศ ปรากฏว่า มีวิชาหนึ่งมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าวิชาอื่น ๆ

และเป็นวิชาที่ครูผู้สอนเป็นครูที่สอนก่อนที่ ผู้บริหารจะมารับตำแหน่งที่นี่



ในที่ประชุมครู ผู้บริหารระเบิดอารมณ์ใส่ครูผู้สอนคนนั้นอย่าง....ลืมคิด...

ผู้บริหาร : ครู...สอนอะไรกัน ไม่ได้เรื่อง ไม่มีหัวคิด สู้เด็ก ๆ ก็ไม่ได้

ทำอะไรไม่มีระบบ ระเบียบ

ครู : !!

คำว่า " เด็ก ๆ " ของผู้บริหาร หมายถึง ครูจ้างสอน เด็ก ๆ ซึีงเพิ่งมาประจำที่โ๋รงเรียนนี้

หลังจากที่ผู้บริหารมารับตำแหน่ง ที่จริง ๆ แล้วคือตำแหน่ง....ครูพื่เลี้ยงเด็กพิเศษ

แต่ผู้บริหาร กลับให้ไปสอนในชั้นประถมต้น



การพูดเช่นนี้ แสดงออกถึง ผู้บริหารไม่มีความคิดมากกว่า ไม่ใช่ครูผู้สอนคนนั้นหรอก

เพราะ ผู้บริหารไม่ได้คำนึงถึงหลักการบริหารงานใด ๆ เลย แต่กำลังใช้หลักบริหาร

ที่เรียกว่า " ตีให้แตก...แล้วแยกปกครอง" การตำหนิติติงนั่้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา

ไม่ควรใช้ไม่ว่ากับเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น มันบ่งบอกถึง " นิสัยปากเสีย ถาวร" ของตนเอง

อีกด้วย เพราะที่ถูกแล้ว จะต้องช่วยกันหาสาเหตุที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน

ทำให้ผลสัมฤทธิ์ตกต่ำมากกว่า อีกประการหนึ่ง ผู้บริหารเอง ก็เพิ่งย้ายมารับต่ำแหน่ง

ยังไม่รู้บริบทพื้นฐานของโรงเรียนนี้ดีพอด้วยซ้ำไป



การจัดครูเข้าสอนประจำชั้น หรือประจำวิชาก็ตาม ผุับริหารควรคำนึงถึงความเหมาะสม

กับชั้น วิชา และความรู้ความสามารถของครูผู้สอนมากกว่า..."ความพอใจ"

จริงอยู่...บางครั้ง โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้น ก็อาจจะมีปัญหาที่ครูคนหนึ่งอาจจะ

ต้องสอนหลายวิชา แต่ในกรณีที่มีครูเกินชั้น ก็ควรพิจารณาโดยการแสดงความ

คิดเห็นของครูทุกคน ซึีงอาจจะได้ครูที่สมัครใจสอน หรือ ครูที่ถนัดจะสอนในชั้น

หรือวิชานั้น ๆ



โดยเฉพาะอย่างยิ่ง....ในโรงเีรยนประถมศึกษา ในระดับชั้นประถมต้น ป.๑ - ป.๓

สมควร และจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องจัดครูที่มี " ประสบการณ์สอน"มาหลาย ๆ ปี

เข้าไปสอน เพราะในชั้นนี้เปรียบเสมือน " เสาเข็ม" สำหรับการสร้างอาคาร

หาก " เสาเข็ม" ขาดความมั่นคง แข็งแรงพอแล้วไซร้ ไม่ว่าเสาทุกต้น หรือตัวอาคาร

จะสร้างอย่างดีเพียงใด....อาคารทั้งหลังก็จะขาดความมั่นคงแข็งแรง อาจจะมีสิทธิ์์

พังทลายลงได้ทีเดียว



การจัดครู เข้าสอน สังวรว่า

อย่าเลือกที่ ใบหน้า......ว่าเหมาะสม

ให้ส่วนรวม ร่วมปรึกษา ค่านิยม

อย่าใช้แต่....อารมณ์....เป็นกฎเ่กณฑ์


ยังมีต่ออีกหลายตอนจ้ะ โปรดติดตาม....หากยังไม่...ระอา....เสียก่อนนะ


หมายเลขบันทึก: 590156เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2015 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

การบริหารงานวิชาการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูได้แสดงความคิดเห็นในบางโอกาส ระดมสมองเพื่อพัฒนางานไปสู่จุดหมายร่วมกัน ไม่ใช่สั่งการอย่างเดียวค่ะ

...งานบริหาร กับงานสอน...มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันคือผู้บริหารไม่ได้ทำการสอน และครูไม่ได้บริหารงาน ในความคิดของพี่...อยากให้คุณมะเดื่อศึกษาวิจัยสภาพปัญหาของงานวิชาการของโรงเรียนอันประกอบด้วยหลักสูตร ครูผู้สอน นักเรียน สื่อการเรียนการสอน และกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนผู้ปกครอง(ชุมชน)เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปแก้ไขพัฒนางานวิชาการด้านต่างๆข้างต้นให้กับครูนะคะ...ขอเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีจ้ะคุณอร เป็นไปตามนั้นจ้ะ ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ

สวัสดีจ้ะท่าน ดร.พจนา งานวิจัยตามที่ท่านแนะนำ คุณมะเดื่อคงสรุปผลและรายงานไปแล้ว

เมื่อสักสิบปีกว่า ๆ มาแล้ว แต่ ไม่ได้เขียนรายงาน หากแต่ผลการวิจัย ช่วยให้โรงเรีียนขนาดเล็กสุด

ของคุณมะเดื่อ...กลับกลายเป็นโรงเรียนขนาดกลาง โดยคุณมะเดื่อใช้การบริหารงานวิชาการ

แบบ " บ ว ร " จ้ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดี และมีประโยชน์จ้ะ

เห็นด้วยนะครับว่าการพัฒนาต้องร่วมมือกันแบบ บ ว ร ไม่ควรดูเฉพาะปลายทางเท่านั้นครับ

สวัสดีจ้ะน้องทิมดาบ ไม่ว่าองค์กรใด ๆ หากขาดความร่วมมือแล้วไซร้ งานก็จะสะดุดแน่นอนจ้ะ ขอบคุณที่มาให้กำลังใจจ้ะ

สวัสดีค่ะคุณมะเดื่อ มาชื่นชม ให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณจ้ะคุณครูทิพย์ ขอบคุณสำหรับกำลังใจมากมายที่มอบให้คุณมะเดื่อจ้าา

มาเป็นกำลังใจให้หญิงเหล็กอีกคนนะคะ สู้ ๆ ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท