​คุกคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม (ตอน 2) แนวทางการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน


คุกคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหาย หรือคุกคุ้มครองเหยื่อและพยานหรือบริการเหยื่อ (Victim Service) มีการดำเนินงานอยู่ในกรมราชทัณฑ์ของหลายประเทศ เช่น USA แคนาดา สก็อตแลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ UK ไอร์แลนด์ และนอร์เวย์ เป็นต้น สำหรับ Victim Service ของ USA มีการดำเนินงานในกรมราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ (50 มลรัฐ) โดยจะมีการจัดตั้งกองบริการเหยื่อ (Victim Services Division) ขึ้นในกรมราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการชดเชยเหยื่อ แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ แนวคิดในการสร้างความปลอดภัยให้แก่สังคมและชุมชน และ แนวคิดในการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก....................................


คุกคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม (ตอน 2) แนวทางการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ.นม


หลักสูตร Victim Service กรมราชทัณฑ์ มลรัฐเซาท์แคโรไลนา

แนวทางการดำเนินงาน

แนวทางการดำเนินงาน Victim Service ของกรมราชทัณฑ์อินเดียน่า และ กรมราชทัณฑ์เซาท์แคโรไลนา มีดังนี้

  • การลงทะเบียนแจ้งเตือน เหยื่อ และ พยานสามารถลงทะเบียนแจ้งเตือน ตามหลักเกณฑ์และกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนแจ้งเตือนตามที่ทางกรมราชทัณฑ์กำหนดเพื่อขอทราบข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลการปล่อยตัวผู้กระทำผิด และ ข้อมูลการหลบหนี เป็นต้น
  • การแจ้งเตือนเหยื่อ แนวทางการแจ้งเตือนเหยื่อของกองบริการเหยื่อกรมราชทัณฑ์มลรัฐอินเดียน่า และ มลรัฐเซาท์แคโรไลนา มีการแจ้งเตือนเหยื่อ 2 แบบ คือ
    • การส่งหนังสือคู่มือแจ้งเตือน กองบริการเหยื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการแจ้งเตือนข้อมูลผู้กระทำผิดให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและพยาน เช่น ข้อมูลการปล่อยตัวผู้กระทำความผิด จะมีการประกาศหรือแจ้งให้เหยื่อและพยานทราบก่อนปล่อยผู้กระทำความผิด 45 วัน โดยข้อมูลทั้งหมดที่แจ้งเตือนเหยื่อจะจัดเก็บไว้เป็นความลับ ผู้กระทำผิดจะไม่ได้รับการแจ้งให้ทราบถึง การร้องขอและการแจ้งเตือนหรือข้อมูลใด ๆ ที่เหยื่อจะมีให้ผู้กระทำผิด ทนายความของผู้กระทำความผิด หรือ ประชาชน
    • การแจ้งข้อมูลเหยื่อแบบอัตโนมัติ โปรแกรมการแจ้งข้อมูลเหยื่อ แบบอัตโนมัติกรมราชทัณฑ์รัฐอินเดียน่าเปิดตัวต่อสาธารณชนเมื่อ เมษายน 2007 มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในอินเดียนาได้รับข้อมูลเรียลไทม์ (ทันที) เกี่ยวกับสถานะของการดูแลผู้กระทำผิดในเรือนจำมณฑล 92 แห่ง ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนเพื่อรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับข้อมูลผู้กระทำผิด การปล่อย การโอน การหลบหนี และ การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ การให้บริการเข้าถึงข้อมูล ผู้กระทำผิดสามารถใช้บริการได้ ทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง
  • การประสานงานและบริการข้อมูลอื่น ๆ

กองบริการเหยื่อ กรมราชทัณฑ์อินเดียน่าและเซาท์แคโรไลนา มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและพยาน We are ready to provide you with referrals to other agencies that provide various services to crime victims and witnesses. รวมตลอดถึงบริการประสานข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและพยาน We will be happy to assist you with referrals for:เช่น Attorney General อัยการสูงสุด ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานอัยการท้องถิ่น กรมคุมประพฤติ หน่วยงาน / องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือเหยื่ออื่นๆ เป็นต้น

  • กรณีเหยื่อหรือพยานถูกคุกคาม

กรณีเหยื่อหรือพยานถูกรบกวนหรือถูกคุกคามโดยผู้กระทำผิด กองบริการเหยื่อ กรมราชทัณฑ์อินเดียน่า และ เซาท์แคโรไลนาจะมีฝ่ายประสานงานและรับแจ้งเหตุเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

  • กฎหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงินเหยื่อ

กองบริการเหยื่อ กรมราชทัณฑ์อินเดียน่า จะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินเหยื่ออาชญากรรม ที่มีความรุนแรง หรือที่เรียกว่ากองทุนเงินช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมรุนแรง และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สภานิติบัญญัติอินเดียน่าได้ตราขึ้นในปี 1978 ซึ่งอยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบของสถาบันกฎหมายอาญาในการช่วยเหลือเหยื่อหรือผู้อยู่ในความอุปการะ ของเหยื่อ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายงานศพ ค่าใช้จ่ายกรณีคนสูญหายและการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา เป็นต้น

  • การเขียนจดหมายของเหยื่อผู้กระทำความผิด

กรมราชทัณฑ์อินเดียน่าและเซาท์แคโรไลนา มีโปรแกรมที่จะช่วยให้ผู้ที่กระทำผิดจะได้รับจดหมายของเหยื่อ และเขียนจดหมายถึงเหยื่อของพวกเขาในขณะเดียวกันก็มีการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อหรือที่อยู่) แต่จดหมายดังกล่าวจะยังไม่ถูกส่งต่อไปยังเหยื่อ เว้นแต่ เหยื่อได้ตกลงยอมรับว่าสนใจในการรับจดหมาย ดังกล่าว โดยเฉพาะ จดหมายทุกฉบับของผู้กระทำผิดจะได้รับ การเก็บรักษาไว้ใช้ในกรณีที่ผู้กระทำผิดตัดสินใจที่จะยอมรับการติดต่อ

  • การสนับสนุนความยุติธรรมทางอาญา

กองบริการเหยื่อ กรมราชทัณฑ์อินเดียน่าและเซาท์แคโรไลนาจะทำหน้าที่ในการ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเหยื่อและพยานในขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการทำทัณฑ์บน ระหว่างการทำทัณฑ์บน หลังการทำทัณฑ์บน และขั้นตอนการผ่อนผันกำหนดเวลาการพิจารณาคดี

ผลการดำเนินงาน

กองบริการเหยื่อ กรมราชทัณฑ์ เซาท์แคโรไลนา ได้รับรางวัลการปฏิบัติที่ดีที่สุด จากสมาคมเจ้าพนักงานอเมริกัน เหยื่ออาชญากรรม กรมราชทัณฑ์ เซาท์แคโรไลนา ร้อยละ 42 ได้ลงทะเบียน การแจ้งเตือน มีจำนวนเหยื่อลงทะเบียนการแจ้งเตือน ประมาณ 19,000 คน ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีอัตรา การลงทะเบียนแจ้งเตือนเติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 28

โดยสรุป

โปรแกรมคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหาย หรือโปรแกรมคุ้มครองเหยื่อและพยานหรือบริการเหยื่อ (Victim Service) มีการดำเนินงานอยู่ในกรมราชทัณฑ์ของหลายประเทศ เช่น USA แคนาดา สก็อตแลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ UK ไอร์แลนด์ และนอร์เวย์ เป็นต้น สำหรับ Victim Service ของ USA มีการดำเนินงานในกรมราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ (50 มลรัฐ) โดยจะมีการจัดตั้งกองบริการเหยื่อ (Victim Services Division) ขึ้นในกรมราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการชดเชยเหยื่อ แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ แนวคิดในการสร้างความปลอดภัยให้แก่สังคมและชุมชน และ แนวคิดในการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก ทำหน้าที่ในการรับลงทะเบียนเหยื่อและพยาน การแจ้งเตือนข้อมูลแก่เหยื่อและพยาน เช่น ข้อมูลการปล่อยตัวผู้กระทำความผิด จะมีการประกาศหรือแจ้งให้เหยื่อและพยานทราบก่อนปล่อยผู้กระทำความผิด 45 วัน การให้บริการเข้าถึงข้อมูลผู้กระทำผิด (การโอน การหลบหนี และข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ) ที่เหยื่อและพยานสามารถใช้บริการได้ทางโทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นโปรแกรมที่เหยื่อและพยานให้ความสนใจ และการที่ผู้กระทำผิดได้มีโอกาสทำงานเพื่อหารายได้สมทบทุนกองทุนช่วยเหลือเหยื่อได้ชดเชย และ ชดใช้หนี้เหยื่อ รวมตลอดถึงการช่วยลดค่าใช้จ่ายของเรือนจำ ซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนได้อีกทางหนึ่ง


.............................



หมายเหตุ

บทความเรื่อง คุกคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม หรือแนวคิดในการคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม ของกรมราชทัณฑ์ในต่างประเทศ โดย วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ได้ลงเผยแพร่ในวารสารอาชญาวิทยา ฉบับที่ 22 ปี 11 สิงหาคม 2557 และ เว็บไซต์ http://www.correct.go.th/blogknowledge/attachments...

คำสำคัญ (Tags): #คุกคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม (ตอน 2) แนวทางการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน#กรมราชทัณฑ์มลรัฐอินเดียน่า#เรือนจำมลรัฐอินเดียน่า#กรมราชทัณฑ์มลรัฐเซาท์แคโรไลนา#เรือนจำมลรัฐเซาท์แคโรไลนา#กฎหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงินเหยื่ออาชญากรรม#กองทุนช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม#โปรแกรมคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหาย#โปรแกรมคุ้มครองเหยื่อและพยานหรือบริการเหยื่อ (Victim Service)#เรือนจำสหราชอาณาจักร#เรือนจำสหรัฐอเมริกา#กรมราชทัณฑ์แคนาดา#เรือนจำแคนาดา#กรมราชทัณฑ์สก็อตแลนด์#เรือนจำสก็อตแลนด์#กรมราชทัณฑ์ออสเตรเลีย#เรือนจำออสเตรเลีย#กรมราชทัณฑ์นิวซีแลนด์#เรือนจำนิวซีแลนด์#กรมราชทัณฑ์ไอร์แลนด์#เรือนจำไอร์แลนด์#กรมราชทัณฑ์นอร์เวย์#เรือนจำนอร์เวย์#กองบริการเหยื่อ (Victim Services Division)#แนวคิดในการชดเชยเหยื่ออาชญากรรม#แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ#แนวคิดในการสร้างความปลอดภัยให้แก่สังคมและชุมชน#การแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก#การช่วยลดค่าใช้จ่ายของเรือนจำซึ่งมาจากเงินภาษีอากรของประชาชน#การให้ผู้กระทำผิดได้มีโอกาสทำงานเพื่อหารายได้สมทบทุนกองทุนช่วยเหลือเหยื่อได้ชดเชยและชดใช้หนี้เหยื่อ
หมายเลขบันทึก: 589986เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2015 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2015 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท