ปรัชญาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภาวะผู้นำ ของ ศ. ระพี สาคริก (19)


"แม้ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเซียเช่นมลายู อินโดจีน หมู่เกาะสุมาตรา พม่า และอินเดีย ล้วนแล้วต่างก็ตกไปอยู่ภายใต้อิทธิพลอาวุธจากชนชาติตะวันตก เพื่อหวังทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศเหล่านั้นมาแล้วแทบทั้งหมด

ถ้ามองเห็นเหตุผลได้อย่างลึกซึ้งเราย่อมพบว่า ประเทศที่เข้ามายึดครองเหล่านั้นคงคิดได้ว่า ภาวะการยึดครองด้วยกำลังอาวุธ หาใช่เป็นสิ่งที่ทำให้ตกเป็นทาสอย่างแท้จริงไม่ กล่าวคือการถูกยึดครองด้วยกำลังอาวุธยังไม่ใช่เรื่องที่ลึกซึ้งถึงพื้นฐาน หากการตกเป็นทาสทางจิตใจย่อมทำให้คนทั้งชาติจำต้องตกเป็นทาสอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ฉันจึงขอกล่าวฝากไว้ ณ ที่นี้ว่า "การรู้ไม่เท่าทันต่อความคิดของผู้ที่ไม่หวังดี ย่อมเป็นสิ่งที่ช่วยให้ประเทศในเขตร้อน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จำต้องตกเป็นทาสอย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน"

จากบทความเรื่อง "บนเส้นทางสู่ความหายนะของชาติไทย มองผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร" ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑

จากบทความของคุณปู่ระพี เห็นอำนาจสองประการของตะวันตก คือ อาวุธ และ การครอบงำให้เป็นทาส
ท่านกล่าวถึงด้านเกษตรเพียงด้านเดียว แต่ผมก็มองไปถึงนักเรียนนอกด้านศึกษาศาสตร์ ที่เป็นปัญญาชน
ครอบงำอยู่ในขณะนี้ และกำลังวิเคราะห์ปัญญาชนนักเรียนนอกด้านอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยนี้ด้วย

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาระพี
หมายเลขบันทึก: 589762เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2015 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2015 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท