คุณค่าของบันทึกที่ไม่ค่อยมีข้อคิดเห็นจากหนองสรวง ของ น.เมืองสรวงถึง น้อง ๆ ที่กำลังจะจบการศึกษาปี 2550


บันทึกที่เรียบง่าย แต่ตรงไปตรงมา ได้สร้างความรู้สึกที่ดีๆขึ้นมาแล้ว


คนดีที่เคยเสีย

ผลพวงศิษย์รามคำแหงสู่บันได “นิติกร”

การจดแจ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ชุมชน

คอยห่วงใย คอยเป็นกำลังใจ,สร้างคนในเนื้องานเฉพาะ, Social Hight Speed

นี่คือบันทึกในบล็อกของ คุณ น.เมืองสรวง บางท่านอาจจะผ่านตามาบ้าง บางท่านไม่เคยผ่านตามาเลย

แล้วมีคุณค่าอะไรในบันทึกเหล่านี้ ที่มีข้อคิดเห็นเพียงน้อยนิด  บางเรื่อง ไม่มีข้อคิดเห็นเลย
แล้วคุณค่าอยู่ตรงไหนล่ะ

การวัดคุณค่า ความน่าสนใจของหลายคน มักจะวัดที่ตัวเลขทางสถิติที่สูงขึ้น หรือข้อคิดเห็นมากมายต่อท้ายบันทึก นั่นคือสิ่งที่สามารถเห็นได้

แต่ยังมีคุณค่าในบันทึกที่หลายคนเข้าไม่ถึง  มองไม่เห็น เพราะไม่สามารถที่จะสัมผัสได้จากบันทึกที่เปิดอ่านตรงหน้า

“ gotoknow ก็มีเรื่องเกี่ยวกับคนหนองกุงศรีด้วยหรือ”
หนองกุงศรี คือ อำเภอหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีตำบลหนองสรวงตั้งอยู่ เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของ คุณ น.เมืองสรวง เจ้าของบล็อกนั่นเอง

”อ่านบันทึกใน gotoknow ไม่ค่อยเห็นใครเขียนบันทึกที่บอกถึงสิ่งที่ไม่เข้าท่าเข้าทางในอดีต แต่ก็ค้นพบตัวเอง จนเป็นนักเรียนพลตำรวจ และกลายเป็น สิบตำรวจเอก สินสวัสดิ์ โพนเฉลียว”

เรื่องราวของคนรากหญ้า รากแก้วที่จะได้รับการบันทึกในที่แห่งนี้ gotoknow อย่างเรื่อง คนดีที่เคยเสียนี้ ต้องใช้เวลาตะลุยอ่านไปเรื่อยๆ จนจะเจอสักเรื่องหนึ่ง เพราะเรื่องราวในมุมมอง รากแก้ว รากหญ้า มีปริมาณน้อย เมื่อปะปนอยู่ร่วมกับบันทึกของ blogger คนอื่นๆ ทำให้การค้นพบบันทึกของ น.เมืองสรวง ยากขึ้น

แต่บันทึกนี้ ถูกค้นพบจากการจัดทำเวบไซค์ เครือข่ายคนรักท้องถิ่น http://www.sasukmsu.com/nongsueng ซึ่งทำการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ หนองสรวง , บันทึกของ คุณ น.เมืองสรวงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ทำให้สามารถพบเห็นข้อมูลได้ทันที ไม่ต้องงมเข็มในมหาสมุทร

รุ่นน้องที่เปิดอ่าน เป็นรุ่นน้องที่กำลังศึกษาอยู่พอดี ซึ่งบันทึกของ คุณ น.เมืองสรวง ได้เขียนสื่อสารถึงรุ่นน้องที่กำลังจะจบเหมือนเข้าใจถึงความรู้สึกของรุ่นน้องที่กำลังจะก้าวเข้าสู่โลกกว้าง และชีวิตจริงนอกห้องเรียน

ใน gotoknow ผู้อ่านและคนเขียนบันทึกส่วนใหญ่ คือบุคคลที่ทำงานในวงการต่างๆ มีนักเรียน นักศึกษา เข้ามาบ้าง

แต่ น.เมืองสรวงผู้ที่มีแนวทางเป็นของตัวเอง ได้ถ่ายทอดความรู้สึก สื่อสารไปยังรุ่นน้องเหล่านั้น

สื่อสารข้อความจาก gotoknow ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ชาว gotoknow ไม่ได้คิดถึง

”เปิดอ่านบันทึกอื่นๆใน gotoknow แล้ว น่าอ่าน แต่จะให้เขียนแบบที่หลายคนเขียนนั้น เขียนยากจัง พอเห็นพี่ น.เมืองสรวง เขียนแล้ว แบบนี้เราก็สามารถเขียนได้”

คำพูดที่บอกออกมา แสดงว่า คนอ่านกลุ่มนี้ ได้ค้นพบคอเดียวกันแล้ว

“พี่ น.เมืองสรวง เค้าหน้าตาเป็นยังไงหรือ ทำไมพี่เขาไม่ใส่รูปเหมือนคนอื่นบ้าง หรือว่า ไม่มีกล้องถ่ายรูป”

นั่นแน่ะ เป็นข้อสังเกตทันที
ความจริง นายบอนเคยเขียนแนะนำเรื่องการใส่รูปบ้างแล้ว และ Scan รูปภาพของเขาให้



แต่ที่ น.เมืองสรวงยังไม่ใส่รูป อาจเป็นเพราะอ่านคำแนะนำของนายบอนไม่เข้าใจ อ่านไม่รู้เรื่อง หรือว่า รูปภาพของเขา ดูไม่ดีพอ เลยไม่เอาใส่

”พี่ น.เมืองสรวง เค้าทำงานแบบพี่จตุพรหรือเปล่า”
เป็นคำถามหลังจากที่อ่านเรื่องที่เขาเล่าว่า เคยเป็นอาสาสมัคร กรมการพัฒนาชุมชนมา 2 ปี และพูดถึงเรื่องการจัดแจ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่ชุมชน กล่าวถึงเรื่องการถ่ายทอดภูมิปัญญาในบันทึก.การจดแจ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ชุมชน

บันทึกของ น.เมืองสรวงที่หยิบยกมากล่าวถึงนี้ ความจริง น.เมืองสรวงได้เขียนบันทึกไว้เมื่อ 10 กว่าวันที่แล้ว


นายบอนได้ยินจากปากของรุ่นน้องแล้ว ปลื้มในแทนคุณ น.เมืองสรวง
นี่คือ คุณค่าของบันทึกที่ไม่ค่อยมีข้อคิดเห็นจากหนองสรวง ไม่อาจจะใช้วัดความนิยม หรือความสนใจจากชาว gotoknow ได้


เพราะบันทึกนี้ เป็นที่สนใจของรุ่นน้องคนกาฬสินธุ์ คนจังหวัดเดียวกับ น.เมืองสรวง ที่สนใจสอบถามเกี่ยวกับบันทึกที่ได้อ่านนี้

เสียดายที่รุ่นน้องไม่ได้เขียนข้อคิดเห็นให้ น.เมืองสรวงได้อ่าน
เสียดายที่ น.เมืองสรวงไม่ได้อยู่ที่กาฬสินธุ์ในเวลานี้
เสียดายที่เขาไม่ได้รับฟังคำถาม ความรู้สึกชื่นชมของรุ่นน้องด้วยตัวของเขาเอง

<h2>แต่บันทึกของเขา ที่สื่อสารถึงรุ่นน้องที่กำลังจะเรียนจบนั้น ได้ทำหน้าที่ของมัน ตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของบันทึก ต้องการสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายของเขาแล้ว</h2>
เรื่องราวที่หยิบยกมาบอกเล่า และทิ้งท้ายด้วยหลักคิด และกำลังใจดีๆก่อนจบบันทึก
บันทึกที่เรียบง่าย แต่ตรงไปตรงมา ได้สร้างความรู้สึกที่ดีๆขึ้นมาแล้ว…..

 
Kprocover

หมายเลขบันทึก: 58957เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ยินดีครับ..จงมุ่งมั่น..จงฟันฝ่า..จงรู้คุณค่าของตน..แล้วฝันนั้นจะเป็นจริงกับสิ่งที่น้อง ๆ ตั้งใจนะครับ......

บันทึกเป็นเพียงบทเรียนบทหนึ่งของชีวิตเท่านั้น...แต่ชีวิตต้องก้าวเดิน....จุดหมายคือ "ความพอเพียง พอประมาณตน......

  • อ่านแล้วมีพลังขึ้นอีกนะคะ  ยามท้อแท้  บางครั้งเราต้องการกำลังใจ  ที่พอหาได้จากการอ่านที่มีคุณค่าที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลกว่าการไปคิดทำอย่างอื่น

การมุ่งมั่นตั้งใจจริงย่อมประสบกับความสำเร็จ

ครูอ้อยขอเป็นกำลังใจให้เสมอ  นายบอน  คุณ น เมืองสรวง

การได้ฟังข้อคิดเห็นจากปากแบบสดๆเนี่ย ได้ความรู้สึกอีกแบบนะครับ เสียดายที่เจ้าตัวไมไ่ด้ฟังด้วยตัวเอง ครูอ้อยคงได้ฟังอะไรแบบนี้บ่อยๆอ่ะดิ
  • แน่นอน  ครูอ้อยชอบติดตามว่า  เขาแสดงความคิดเห็นแล้วเขากลับมาอ่านและแสดงความคิดเห็นซ้ำหรือไม่
  • ครูอ้อยเคยพลาดเรื่องนี้ที่ไม่กลับมาอ่านซ้ำ
  • คุณบอนจำได้หรือไม่
  • คุณบอนนั่นล่ะที่สอนครูอ้อย
  • ครูอ้อยไม่ได้เข้ามาอ่านบันทึกซ้ำ จึงไม่รู้ว่ามิตรภาพจากคนหนึ่งรอคอยครูอ้อยอยู่
  • จริงๆนะคุณบอนสอนครูอ้อยเยอะเลย
  • ไม่รู้ว่าจะกลับมาอ่านบันทึกนี้หรือเปล่า

เศร้าจริง  สอนครูอ้อยแล้ว  ตัวเองก็ไม่ทำตาม สงสัยสอนแล้วไม่จำละมั้ง

อ่านสิครับ แต่หลายครั้ง กำลังเปิดอ่านอยู่ Net หลุดครับ เลยต้องหายไป Net ที่บ้านช้าจะตาย

ไม่ได้สอนใครครับ..แค่ความรู้สึกก็เท่านั้นเอง....ถ้ามุมมองอาจเป็นแค่การคิดเห็น..แต่การปฏิบัติก็ต้องดูที่ผลงานและความตั้งใจครับ

คุณ น.เมืองสรวง

  • แต่สำหรับครูอ้อยแล้วในมุมมองก็คือ  อะไรที่ครูอ้อยนำมาใช้เป็นการสอน  เช่น  ครูอ้อยไปเห็นคำกลอนหนึ่งบท  ที่กินใจ ครูอ้อยจำ และคิดว่าคำกลอนนั้นสอนครูอ้อย
  • ครุอ้อยอ่านบันทึกของท่านใด  ที่ครูอ้อยขาด  ครูอ้อยนำมาเติมให้ตัวเอง  สิ่งที่ดีที่นำมาเติมนั้น  เทียบกับว่าได้เป็นครูของครูอ้อยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
ครั้งเดียวไม่เคยพอ ทำไมเปิดอีกหน้าต่างหนึ่งไม่ได้  ลำบากจัง  คุณบอน  กับ น.เมืองสรวง  อ่านบันทึกใหม่ ครูอ้อยกับเพื่อนชายใน GotoKnow  หรือยังคะ
" ได้อ่านแล้วครับเป็นอะไรที่มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง...ครับ......

อ้าว ขอบคุณท่านน.เมืองสรวง ที่มาทำหน้าที่ตอบข่อคิดเห็นแทน ตอนที่นายบอนยังไม่มา

 

5555 บันทึกใหม่ของครูอ้อย 555
โปรดระัวังนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท