hellboy
นาย เฉลิมพล วงศ์วิโรจน์รักษ์

กฏหมายแบบไหนที่คุณอยากรู้" คำถามจาก อ.แหวว "


พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม
งานแรกที่ อ.แหววได้ให้มาเป็นการบ้านก็คือ กฏหมายแบบไหนที่คุณสนใจ และสำคัญอย่างไร ก่อนอื่นผมต้องขอสนับสนุนความคิดของอ.แหววที่ว่า นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรม ส่วนใหญ่มาจากสายวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ ฉะนั้นจึงเป็นเหตุให้ละเลย หรือใส่ใจในกฏหมายต่างๆ แม้ว่า กฏหมายเบื้องต้น สมควรจะเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทราบ ซึ่งผมยอมรับได้อย่างไม่อายเลยว่า มิเคยได้ใส่ใจ หรือสนใจในเรื่องของกฏหมาย ในการตัดสินใจลงทะเบียนเรียนในวิชานี้ เป็นเหตุผลที่เกิดจากการใคร่ครวญ และคิดว่าวิชานี้น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในแง่ของ งานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ และอีกส่วนหนึ่งมาจาก วิชาเลือกที่มีอยู่ ไม่น่าสนใจเท่าวิชานี้ สำหรับการบ้านครั้งแรก ทำให้ผมได้ใตร่ตรองว่า กฏหมายใดที่ผมสนใจ และในที่สุด ผมก็ได้บังเกิดความคิดว่า กฏหมายที่น่าสนใจในวิชานี้ น่าจะเป็น กฏหมายที่เกี่ยวกับกฏหมายโทรคมนาคม ซึ่งด้วยลักษณะงานของผม และจุดประสงค์ของวิชานี้ ผมคิดว่าสมควรศึกษากฏหมายทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งเมื่อคืนวาน ผมได้เข้าไปในเว็บ WWW.krisdika.go.th แล้วลองอ่าน พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ้งผมได้ลองอ่าน พรบ.ที่แก้ไขแล้ว และเปรียบเทียบกับ พรบ.เดิม จึงบังเกิดข้อสงสัยอยู่หลายประการ ในบางมาตราที่มีการแก้ไข เช่นในหมวดที่๑ ในเรื่องการขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ในมาตราที่ ๘ (๑) ที่ พรบ.เดิม เคยกล่าวว่า ผู้ขอใบอนุญาตแบบที่สอง และสาม ต้องมิใช่คนต่างด้าวและต้องมี สัดส่วนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่ควรน้อยร้อยละเจ็ดสิบของทุนนิติบุคลนั้น ซึ่งใน พรบ.ที่แก้ไขล่าสุดจะกล่าวเพียงแต่ว่า ผู้ขอใบอนุญาตต้องมิใช่คนต่างด้าวเพียงเท่านั้น ในส่วนประเด็นต่อมาที่มีข้อสงสัยคือ หมวด ๗ ในมาตราที่ ๕๘ ซึ่ง พรบ.เดิม จะกล่าวว่าผู้รับใบอนุญาตจะเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินอื่นๆที่มีลักษณะเป็นการเรียกเก็บล่วงหน้ามิได้ ส่วน พรบ.ที่แก้ไขแล้วมีเพิ่มขึ้นคือ ส่วนการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในท้ายสุดของ พรบ.ได้มีการชี้แจงในส่วน พรบ.ที่มีการแก้ไขว่า มีเหตุผลใดจึงมีการแก้ไข หรือ เพิ่มเติม ผมจึงเรียนอ.แหววว่า เหตุผลดังกล่าวสมควรแล้วใช่หรือไม่ครับ อนึ่ง เหตุผลที่ผมสนใจใน พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้น ก็เนื่องมาจาก พรบ.ฉบับนี้จะกล่าวถึงการประกอบกิจการทางด้านโทรคมนาคม ซึ่ง บริษัทที่ผมได้ทำงานอยู่ คือ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ก็เป็นรัฐวิสาหกิจเดิมที่ให้บริการทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงานให้อยู่ในรูปของบริษัท และปรับเปลี่ยนตัวเองจากผู้ควบคุมดูแลมาเป็นผู้ประกอบการ เฉกเช่นเดียวกับผู้ให้บริการายอื่นซึ่งได้รับสัมประทานจาก บริษัทนั่นเอง และเหตุผลอีกประการที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนตัวเองและการเปิดเสรีทางด้านโทรคมนาคมก็ส่งผลทำให้เกิด คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมมาเป็นหน่วยงานกำกับดูแล ส่งผลให้บริษัทต้องถูกควบคุมดูแลจาก ทช.ซึ่งหากไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจในแง่กฏหมายหรือ พรบ.ฉบับนี้ก็ย่อมส่งผลต่อการดำเนินงาน ส่งผมต่อการประกอบธุรกิจ และส่งผลต่อรายได้ของบริษัทนั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 58956เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วคะ

คุณสนใจเรื่องพรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม เพียงอย่างเดียวเหรอคะ

อยากรู้กฏหมายว่าเมื่อถูกจับแล้วจะต้องทำอย่างไรไม่ว่าจะเป็นคดีการลักลอบเข้าไปบุกรุกที่ดินของป่าสงวนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

อยากทราบกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงในปี 51 นี้ ที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน มี.ค.51ที่ผ่านมาแล้วมีผลกระทบกับผู้จัดทำบัญชีและผู้สอบบัญชีค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท