ว่าด้วยทักษะ "Critical Thinking" ในทักษะศตวรรษที่ 21 (4)


คราวก่อนได้กล่าวถึงวิภาษวิธีตามแนวของเพลโต้ ครั้งนี้ จะได้นำเสนอทักษะการวิพากษ์ ของเฮเกล
โดยปรัชญาและวิธีการวิพากษ์ของเฮเกลสามารถอ่านต่อได้ ที่นี่ อาจารย์ต้นได้เขียนไว้ได้ดีในลิงค์นี้

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ปรัชญาการวิพากษ์ เป็นต้นกำเนิดทางความคิดตะวันตกหลายอย่าง ปรัชญาสาย
วิพากษ์หมายถึงท่าทีของทฤษฎีพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงทุกชนิดทั้งกาย จิต ความคิด และสังคม
จอร์จ ฟรีดิช เฮเกล เป็นผู้เสนอทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน เกิดจากความขัดแย้งด้านความคิดระหว่าง
ข้อเสนอหรือสิ่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน(Thesis) และข้อขัดแย้งหักล้างหรือความคิดที่ไม่พึงใจในสภาพที่ดำรง
อยู่ (Anti Thesis) ทั้งสองอย่างที่ขัดแย้งทางความคิดกันอยู่ จะเกิดสภาพความคิดใหม่คือ (Synthesis)
และสภาพความคิดใหม่ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการนี้ จนกว่าจะถึงจิตสมบูรณ์

การวิพากษ์ข้อมูลข่าวสาร หรือ แม้แต่ประวัติศาสตร์ ทำให้เราได้เห็นกระบวนการเปลียนแปลงทางความคิด
เช่นนี้อยู่เสมอ เฮเกล เป็น จิตนิยม จึงอธิบายเน้นไปที่ความคิด เมื่อกระบวนการทางความคิดเปลี่ยนแปลงทุก
สิ่งก็เปลี่ยนแปลง ทักษะคิดวิพากษ์ในทักษะศตวรรษที่ 21 จะต้องวิเคราะห์ข่าวสารว่ามีพัฒนาการทางความคิด
มาไม่แน่นอนมีความเปลี่ยนแปลงอยุ่ตลอดเวลา และมีความไม่แน่นอนเป็นหลัก หักล้าง ขัดแย้งกัน ตลอดเวลา

สำหรับผมแล้วผมคิดว่า เฮเกล กับ มาร์กซ เป็นพวกจิตนิยมเหมือนกัน มาร์กซ นำความคิดของเฮเกลมาสังเคราะห์
เป็นทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ หรือลัทธิมาร์ก มีต้นกำเนิดการนั่งเขียนอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทฤษฎีมาร์กซ์
ชี้นำทางด้านความคิด แม้ว่ามาร์กซ์จะดำเนินการทางการเมืองบ้าง แต่ไม่ถึงกับการเปลี่ยนแปลงจนเขาเสียชีวิตไป
เสียก่อน คนที่ทำให้แนวคิดของเขาสำเร็จก็คือ นักปฏิบัติทั้งหลาย

ชุมชนนักปฏิบัติ ของมากซ์ ได้แก่ พอล พต เหมา เลนิน สตาลิน คลาสโตร เช กู วาร่า คิม อิล ซุง เขาเหล่านั้น
อยู่ในชุมชนนักปฎิบัติการ ผลงานและวิธีการของชุมชนนักปฏิบัติ ของเขาดูในทุ่งสังหารที่กัมพูชา ปฏิวัติในจีน
เพราะชุมชนนักปฏิบัติเขาหยุด Anti thesis ในทฤษฎีของมาร์กซ์





คำสำคัญ (Tags): #critical thinking
หมายเลขบันทึก: 589440เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2015 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2015 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท