ยอมรับตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไข



" ความสุขที่แท้จริงของคนเราคือการยอมรับในตัวตนของตนเองให้ได้ว่า

เราเป็นอย่างนี้ ไม่มีใครเป็นเหมือนเรา เราเป็นเรา และเราก็รักและเข้าใจตัวเราเองมากที่สุด "


. . . ค น เ ร า เ ลื อ ก เ กิ ด ไ ม่ ไ ด้ แ ต่ เ ลื อ ก ที่ จ ะ เ ป็ น ไ ด้ . . .

คนเราไม่มีทางรู้ได้หรอกว่าตนเองจะเกิดมาเป็นลูกใคร อยู่ในครอบครัวไหน หรือยากดีมีจนอย่างไร ดังนั้นเมื่อเกิดมาก็ต้องยอมรับสภาพในการเกิดของตนเองเสียก่อน แต่มีบางคนไม่พยายามที่จะเข้าใจ นั่งตีโพยตีพายว่าทำไมโชคชะตากลั่นแกล้งลิขิตให้ตนเองต้องเกิดมากับครอบครัวที่ยากจน การแสดงความรู้สึกเช่นนี้ไม่เกิดผลดีแต่อย่างใด หนำซ้ำยังนำไปสู่ความตกต่ำที่มากขึ้นเรื่อยๆในทางกลับกันถ้าคนที่ยอมรับสภาพความจริงของตนเองได้ แล้วพยายามต่อสู้เพื่อหลีกหนีจากสภาพที่เป็นอยู่ หรือพยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น คนเหล่านี้ถือเป็นบุคคลที่น่าคบหาและน่านับถือมากกว่า

วามทุกข์ของคนเราส่วนมากมักมาจากการที่เราไม่สามารถยอมรับในตนเองได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภูมิหลัง หรือเรื่องทางกายภาพรูปร่างหน้าตาก็ตาม ไม่ว่าเราจะหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่แค่ไหน ไม่ว่าเราจะดำเมี่ยมหรือเหมือนอีกาแค่ไหน หรือต่ำเตี้ยเหมือนลูกหมาแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ก็ประกอบขึ้นมาเป็นตัวเรา ไม่มีอะไรที่จะดีทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่เช่นนั้นสังคมก็อยู่ไม่ได้ ตัวเราก็เช่นกันต้องมีทั้งด้านดีและไม่ดีสลับกันไป แต่ทำอย่างไรที่เราจะยอมรับตัวของเราเองได้ โดยไม่เอาไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เช่น เห็นคนอื่นเขาดั้งจมูกสูงกว่าก็ต้องไปผ่าเสริมดั้งเพื่อให้โด่งเท่าเขา จะได้ไม่มีใครมาล้อหรือมาแซว อย่างนี้แสดงว่าไม่ได้ยอมรับในตัวตนของตนเองเลย

รูปธรรม นามธรรม ทุกอย่างย่อมเสื่อมสลาย สิ่งที่อยู่คงทนคือความดี ถ้าเราเห็นคนอื่นทำดีแล้วเรายังทำเลวอยู่ เราก็ควรต้องยอมรับตนเองให้ได้เสียก่อนว่า เราทำไม่ดีนะ สิ่งที่เราเห็นจากคนอื่นเป็นสิ่งที่ดีกว่า ถ้ามีโอกาส คราวต่อไปเราจะปฏิบัติตนให้ดี เหมือนกับที่เห็นคนอื่นปฏิบัติ นั่นคือเอาเยี่ยงแต่ไม่ได้เอาอย่าง เหมือนสุภาษิตที่เขาบอกว่า . . . จงเอาเยี่ยงกาแต่อย่าเอาอย่างกา คือ ให้เอาเยี่ยงกาที่ตื่นแต่เช้าออกไปหากิน แต่อย่าเอาอย่างกาที่ชอบขโมยของของคนอื่น


ความสุขที่แท้จริงของคนเราคือการยอมรับในตัวตนของตัวเองให้ได้ว่าเราเป็นอย่างนี้ ไม่มีใครเหมือน เราเป็นเราและเราก็รักและเข้าใจตัวเราเองมากที่สุด แน่นอนว่าอะไรที่เป็นสิ่งดีๆ ที่เราเห็นคนอื่นปฏิบัติ เราก็พร้อมที่จะทำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพียงแค่เรารู้และเข้าใจเป็นอย่างดีว่าทำไมเราถึงประพฤติเช่นนั้น เราควรยอมรับในสิ่งที่เรามีและเป็นไปอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่แข่งกับใคร ไม่เปรียบเทียบกับใคร เพราะเราก็คือเรา เขาก็คือเขา ไม่มีใครมาแทนตัวเราได้ เราไม่แข่งกับใครแต่เชื่อในคุณค่าของตนเองและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

คนที่เห็นคุณค่าและเคารพในตนเอง (Self-Esteem) จะเป็นคนที่มีความสุข โดยที่ไม่นำพาต่อความพ่ายแพ้ และไม่เก็บมาใส่ใจหรือคิดว่าเป็นเพราะความสามารถของตนเอง ในขณะที่คนที่ไม่มีความสุขมักจะใส่ใจต่อความพ่ายแพ้ และเก็บไปคิดว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับชีวิตของตน เป็นเพราะตนไร้ความสามารถถึงทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้น . . . ความสุขอยู่ที่ว่าเราทำใจรับตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน . . .



ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. สุขได้ถ้าคิดเป็น. กรุงเทพฯ : เติมเต็มใจ, 2550.

โดย : ชุติกาญจน์ ชำนิธุระการ

คำสำคัญ (Tags): #kmanw#ความสุข
หมายเลขบันทึก: 589433เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2015 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2015 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท