655. "ทุนทางปัญญา...ทุนแห่งศตวรรษที่ 21"


ทุนทางปัญญา

มีคนถามผมว่าตอนนี้ทำ AI อยู่ มันจะสิ้นสุดตรงไหนคะอาจารย์... คำตอบคือจริงๆ แล้วไม่มีที่สิ้นสุด มันทำได้ทุกอย่างในชีวิต สามารถเปลี่ยนโจทย์ไปได้เรื่อยๆ เพื่อ AI คือการตั้งคำถาม ถามหาเรื่องดีๆ โดยเชื่อว่าในองค์กรมีเรื่องดีๆ เมื่อเราเจอเรื่องดีแล้ว เราจะเจอไปเรื่อยๆครับ มากขึ้นเรื่อยๆแบบไม่มีที่สิ้นสุด แต่แน่หละขอบเขตมันอยู่ไหน ผมเลยขอนำเสนอกรอบการคิดที่จะเป็นประโยชน์ค่อผู้สนใจ AI ครับ (อ้อแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการตั้งคำถามแบบเดียวกันกับ OD)


เราต้องถามกันก่อนว่า AI ทำไปเพื่ออะไร แนวคิดหนึ่งคือเเพื่อเพิ่มทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนนี้คืออะไร ก็คือปัญญาเราเอง ปัญญาหมายถึงการที่พลังการคิด พลังสมองของคนในองค์กร รวมทั้งการรู้ว่าอะไรควรไม่ควร ที่เรียกว่าทุน ก็เพราะต้องสั่งสม ก็เหมือนกับคุณ เวลาทำงาน ถ้าไม่มีทักษะ ไม่มีประสบการณ์จะทำอะไรก็ยาก ของอย่างนี้ต้องใช้เวลาสั่งสม ซึ่งถ้าปล่อยตามบุญตามกรรม ตามมีตามเกิดก็ได้ เราก็อาจเห็นปัญหาเรื้อรังตามมา คนขาดปัญญา เช่นเก่ง แต่ขาดความยั่งคิด คุมอารมณ์ไม่ได้ ไม่รู้อะไรควรไม่ควร ล่าสุดเจอไปด่าลูกค้า ลูกค้าจะฟ้องหมิ่นประมาทบริษัทเอา ต้องเคลียร์กันวุ่น ในทาง OD เราเรียกว่าองค์กรนั้นยังพร่องเรื่องทุนทางปัญญาครับ

ตรงนี้เองที่เราต้องมีการพัฒนาองค์กร (OD) ที่มีเครื่องมือเยอะมาก แต่ที่ผมถนัดใช้คือ AI ครับ ... แล้วมันต้องพัฒนาถึงไหน ลองค่อยๆ พิจารณาตามองค์ประกอบของทุนทางปัญญาครับ ทุนทางปัญญาโดยตัวมันเองประกอบด้วยทุนย่อยสามทุน คือทุนมนุษย์ (Human Capital) คือทักษะและทัศนคติของคนในองค์กร ทุนทางสังคม (Social Capital) หรือความสามารถในการทำงานร่วมกันขององค์กร และทุนทางโครงสร้าง (Structural Capital) หรือขั้นตอน นโยบายการทำงานดีๆ

ถ้าองค์กรสั่งสมคนที่มีความสามรารถและมีทัศนคติดี โดยสามาถทำงานร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้กระบวนการทำงานที่ดี นโยบายดีๆ องค์กรจะกลายเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน งานได้ผลคนเป็นสุขครับ ถ้ามีครบ ก็จะถือเป้นองค์กรที่มีทุนทางปัญญาสูง พร้อมจะไปสู้ไปแข่งขันกับใครก็ได้ พร้อมรบนั่นเอง..

การทำ OD ก็เพื่อเหตุผลนี้ครับ คราวนี้มาสู่คำถามที่ว่าจะทำ AI หรือ OD ไปถึงไหน ..ก็จนกว่าจะถึงภาวะที่เรามีทุนทางปัญญาพร้อม นี่เรียกว่าอุดมคติเลยครับ จะว่าไปเราทำกันทั้งชีวิต เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน สิ่งแวดล้อม ความ้ทาย เทคโนโลยี ทุกอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง เลยต้องทำ OD ไปเรื่อยๆ

เช่นในแถบสแกนดิเนเวียร์ มีปัญหาเรื่องกวางเรนเดียร์ถูกรถชนตาย โดยเฉพาะเวลากลางคืน คำถามเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าเอากรอบทุนทางปัญญาเป็นตัวตั้ง เราก็จะเห็นว่า

Human Capital ต้องพัฒนาทักษะและทัศนคติในการขับรถของคนให้ขับรถแบบระวังๆ

Social Capital พัฒนาความสามารถในการอยู่ร่วมกันของคนกับกวาง ต้องเข้าใจกวางละว่ากวางหากินอยู่ตรงไหน จะเดินไปตรงไหน จะได้หลบถูก

Structural Capital ค้นหาขั้นตอนดีๆ นโยบายดีๆ เช่นทำป้ายเตือนว่าแถวนี้มีกวางข้ามถนนบ่อย อาจกำหนดโทษถ้าชนกวางถูกปรับ แต่ที่เขาทำอย่างสร้างสรรค์ย่างหนึ่งคือเอาสีเรืองแสงทำทาเขากวาง ทำให้เวลากลางคืนคนขับรถผ่านมองเห็น กวางไม่ถูกชนตายง่ายๆ นี่ก็สามารถลดอัตราการตายของกวางได้

แล้วสุดหรือยัง ตอบได้อย่างนี้ ตามกรอบของเวลา ระยะสั้น หรือไม่เกินหนึ่งปี เราหวังแค่อย่างที่สามคือ Structural Capital แต่ในระยะยาว เราสามารถสร้างทัศนคติคน ความเข้าใจ ความรู้ในเรื่องกวาง และสัตว์อื่นๆ เป็นเขตที่คนอยู้ร่วมกับสัตว์อย่างกลมกลืนมากที่สุดในโลก ตรงนั้นเป็นภาพฝันระยะยาว แต่เบื้องต้นที่ทำได้เลยคือทาสีเขากวาง ซึ่งบางทียิงนกตัวเดียวได้นกอีกสองตัวครับ คือบางครั้งการมรนโยบาย ขั้นตอนดีๆ จะทำให้ทักษะ ทัศนคติคนมันดีขึ้น การทำงานร่วมกันบางทีก็ดีขึ้นไปเอง

ตัวอย่างอื่นๆ เช่นคณบดีของผมมีนโยบายง่ายๆ "ส่งไปเรียนต่อเอก เดี๋ยวทำวิจัยเป็นเอง" จบครับ ตอนนี้จริงๆครับ ทำวิจัยกันสุดๆ ไม่ต้องสอน ไม่ต้องเคี่ยวเข็ญมาก พอไปเรียนต่อ Human Capital องค์กรก็ดีขึ้น คุยกันภาษเดียวกันได้ มี Social Capital แล้ว แต่พอไหม คณบดีผมก็ต้องพัฒนาองค์กรอีกไม่หยุด เพราะมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นตอนนี้ AEC เข้ามา ก็ต้องพัฒนาองค์กร ยกระดับไปอีก หรืออย่างลูกศิษย์ผมทำ AI ผมก็เจอ Structural Capital ง่ายๆที่ทำให้เขาทำ AI เป็นเร็วขึ้น และผมก็ทำงานกับพวกเขาสนุกขึ้น คือผมทำ Performance Management Interview (PMI) ซึ่งเป็นการโค้ชประเภทหนึ่งช่วงแรกๆ กำหนดให้ต้องมาหา หรือโทรมาคุยกับผมทุกสามวัน เพื่อทบทวนว่าทำอะไรไปบ้าง และผมก็แนะนำเพิ่มเติม ปรากฏว่าพอทำอย่างนี้นักศึกษาทำงานได้ก้าวหน้า ชนิดก้าวกระโดด เรียกว่าต่างกว่าเมื่อก่อนที่ไม่ได้ทำครับ ตรงนี้ถือเป็นทุนทางปัญญาขององค์กรผม (AI Thailand ) เลยครับ แต่ค้องพัฒนาอีกไหม ก็ต้องทำ เพราะผมทำเครือข่ายลูกศิษย์ 90% ของผมติดต่อกันทาง Line ทาง FB ผมก็ต้องพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้เหมาะกับกลุ่มที่อยู่ไกล ๆ ...สองวันนี้โค้ชทาง Line เลย ก็ดีครับรู้สึกว่าเขาก้าวหน้าเร็วกว่าพิมพ์คุยกันเฉยๆ

สรุปแล้วอยากให้องค์กรก้าวไกล งานได้ผล คนเป็นสุข ต้องหมั่นพัฒนาทุนทางปัญญา ฝึกคน พัฒนาทัศนคติ พัฒนาขีดความสามารถในการทำงานร่วมกัน สุดท้ายสร้างขั้นตอนดีๆ นโยบายที่จะทำให้คนเก่งขึ้นดีขึ้นทำงานด้วยกันแล้วได้ผลมากขึ้น ระยะสั้นอย่างน้อยก็ได้ทุนทางโครงสร้าง ซึ่งทำได้ด้วยวิธีการทาง OD มีหลายวิธีให้เลือก ผมถนัด AI ก็จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อๆไปครับ

หมายเลขบันทึก: 589007เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2015 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2015 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วได้เรียนรู้ไปด้วย

ผมชอบเอาทฤษฏีไปประยุกต์ใช้มากกว่าครับ

ขอบคุณมากๆครับอาจารย์

ฝึกคนไปเรื่อยๆ

บางครั้งก็รู้สึกว่า เราทำเต็มร้อย

ได้ผลประมาณ 10% ที่ลงมือทำ

ส่วนอื่นๆ อาจมีความรู้แต่ไม่ลงมือทำ

ผมพึ่งจะได้เรียนเกี่ยวกับ OD ก็ยังไม่เข้าใจมากมาย ได้อ่านบทความของอาจารย์ก็ทำให้เริ่มมีความเข้าใจขึ้นครับ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท