การประเมินโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อ สมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม


การประเมินโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อ

สมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมิน ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการประเมิน

กรอบการประเมิน

สรุปผลการประเมิน

อภิปรายผล

ข้อเสนอแนะ

วัตถุประสงค์ของการประเมิน

1.เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม

2.เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาครูตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม

3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาครูตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม

4.เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาครูตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม

กรอบการประเมิน

ในการประเมินโครงการโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่

ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ผู้ประเมินได้ดำเนินการตามกรอบ การประเมินดังนี้

1.การประเมินบริบท (Context Evaluation) คือการประเมินบริบทของโครงการ

พัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคมเกี่ยวกับความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐ ต้นสังกัด โรงเรียน สภาพความพร้อมของชุมชน ความต้องการของครูและนักเรียน

2.การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) คือการประเมินเกี่ยวปัจจัยนำเข้าของ

โครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียน ไทรงามพิทยาคม ด้านความพร้อม ความสามารถ ความเพียงพอ ความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์

3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) คือการประเมินเกี่ยวกับการ

ดำเนินการโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม

4.การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คือการประเมินผลผลิตของโครงการ

พัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ในเรื่องความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปประยุกต์ใช้ และสมรรถนะครู

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1.แบบประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ซึ่งผู้ประเมินได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครูผู้สอน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยแปลความหมายดังนี้

คะแนน 5 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมากที่สุด

คะแนน 4 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมาก

คะแนน 3 หมายถึง ระดับความเหมาะสมปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อย

คะแนน 1 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

2.แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ซึ่งผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

คะแนน 5 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมากที่สุด

คะแนน 4 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมาก

คะแนน 3 หมายถึง ระดับความเหมาะสมปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อย

คะแนน 1 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

3.แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ซึ่งผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

คะแนน 5 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมากที่สุด

คะแนน 4 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมาก

คะแนน 3 หมายถึง ระดับความเหมาะสมปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อย

คะแนน 1 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

ตอนที่ 2 แบบประเมินผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

คะแนน 5 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมากที่สุด

คะแนน 4 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมาก

คะแนน 3 หมายถึง ระดับความเหมาะสมปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อย

คะแนน 1 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

4.แบบประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 แบบประเมินสมรรถนะครูของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ซึ่งผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

คะแนน 5 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมากที่สุด

คะแนน 4 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมาก

คะแนน 3 หมายถึง ระดับความเหมาะสมปานกลาง

คะแนน 2 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อย

คะแนน 1 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

ตอนที่ 2 แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ

การนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งใช้ทดสอบครูผู้สอน มีลักษณะแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ แบบประเมินฉบับที่ 1 เป็นแบบประเมินด้านบริบทของโครงการ ซึ่งผู้ประเมินได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครูผู้สอน แบบประเมินฉบับที่ 2 เป็นแบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ซึ่งผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน แบบประเมินฉบับที่ 3 แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน แบบประเมินฉบับที่ 4 แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามด้านผลผลิตเรื่องสมรรถนะครู ผู้ประเมินได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดโครงการ ตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ใช้สำหรับประเมินครูผู้สอน ด้านความรู้ ความเข้าใจ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปประยุกต์ใช้ โดยทำการประเมิน 2 ครั้ง คือ ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม ซึ่งผู้ประเมินได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม ด้วยตนเองทั้งหมด

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1.การตรวจสอบแบบประเมิน

2.ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบประเมินที่ได้รับกลับคืนมา

3.ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ประเมินใช้การแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ

และนำเสนอในรูปตาราง

4.ด้านบริบทของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินฉบับที่ 1 และ

วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean,) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation,) และนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

5.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินฉบับที่ 2

และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean,) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation,) และนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

6.ด้านกระบวนการของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินฉบับที่ 3

ทั้ง 2 ตอน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean,) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation,) และนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย

7.ด้านผลผลิตของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมิน ฉบับที่ 4 ตอนที่ 1

ในด้านสมรรถนะครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean,) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation,) และนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ตอนที่ 2 ด้านความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำไปประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ร้อยละเฉลี่ย ของคะแนนทดสอบก่อนการอบรม และหลังการอบรม ค่าร้อยละผลการพัฒนาเมื่อเทียบกับคะแนนทดสอบก่อนการอบรมหาค่าเฉลี่ย (Mean,) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation,)

สรุปผลการประเมิน

จากการประเมินโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม โดย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน ในด้านบริบทของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบ CIPP Model เป็นกรอบแนวความคิดในการประเมิน สรุปผลได้ดังนี้

1. ด้านบริบท เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้บริหาร และครูผู้สอน ประเมินความสอดคล้องของบริบทของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตำแหน่ง ในภาพรวมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีความสอดคล้องมากที่สุดคือมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียน ในภาพรวมของผู้บริหาร และครูผู้สอนประเมินตรงกันว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก และที่มีความสอดคล้องมากที่สุดคือสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 และทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครูผู้สอน ประเมินตรงกันว่าโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม มีความสอดคล้องกับความต้องการ ของนักเรียนน้อยที่สุด แต่ก็ยังอยู่ในระดับมาก

2. ด้านปัจจัยนำเข้า เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร และครูผู้สอนประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตำแหน่ง ผู้บริหาร และครูผู้สอนประเมินตรงกันว่าปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ข้อที่มีความพร้อมมากที่สุดคือ ผู้บริหารมีความพร้อมและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ และน้อยที่สุดคือโรงเรียนมีผู้รับผิดชอบขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับ ปานกลาง

3. ด้านกระบวนการ ในส่วนของการดำเนินงาน เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร และครูผู้สอนประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตำแหน่งในภาพรวมผู้บริหารประเมินถึงความเหมาะสมด้านกระบวนการอยูในระดับมากที่สุด และที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือมีแผนการดำเนินการที่เป็นขั้นตอนชัดเจน ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือการเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้รับผิดชอบสม่ำเสมอ แต่ก็ยังอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมของครูผู้สอนประเมินถึงความเหมาะสมด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก และที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือประชาสัมพันธ์โครงการให้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงและประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ สรุปผลการดำเนินโครงการและประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ แต่ก็ยังอยู่ในระดับมาก ในด้านการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมพบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน ประเมินความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากเมื่อพิจารณาตามตำแหน่ง ในภาพรวมผู้บริหารประเมินอยู่ในระดับมาก และที่เหมาะสมมากที่สุดคือสถานที่ใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในส่วนที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือบรรยากาศการอบรมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในภาพรวมของครูผู้สอนประเมินอยู่ในระดับมาก และที่มีเหมาะสมมากที่สุดคือสถานที่ใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในส่วนที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่อบรม และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

4. ด้านผลผลิต ในด้านสมรรถนะครู จากการประเมินครั้งที่ 1 เมื่อพิจารณาใน

ภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน ประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่ มากที่สุดคือครูปฏิบัติการสอนตรงเวลา ด้านที่น้อยที่สุดคือครูเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาค และครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียน เมื่อพิจารณาตามตำแหน่ง ในภาพรวมของผู้บริหาร ประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือครูสามารถควบคุมชั้นเรียน ด้านที่น้อยที่สุดคือครูจัดสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียน ในภาพรวมของครูผู้สอนประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือครูสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในการจัดการเรียนรู้ ด้านที่น้อยที่สุดคือครูจัดสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียน ในภาพรวมของนักเรียนประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือครูใช้เวลาจัดกิจกรรม การเรียนรู้เหมาะสมต่อเนื้อหา และครูมีวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ด้านที่น้อยที่สุดคือครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาค และจากการประเมินสมรรถนะครู ครั้งที่ 2 เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่าผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน ประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือครูสอดแทรกหลักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีในการจัดการเรียนรู้ ด้านที่น้อยที่สุดคือ ครูรู้จักความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เมื่อพิจารณาตามตำแหน่ง ในภาพรวม ของผู้บริหาร ประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือครูปฏิบัติการสอนตรงเวลา ด้านที่น้อยที่สุดคือครูสอนให้ผู้เรียนฝึกคิด ทำ และแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบัน ในภาพรวมของครูผู้สอนประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือ ครูปฏิบัติการสอนตรงเวลา ด้านที่น้อยที่สุดคือครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ในภาพรวมของนักเรียนประเมินสมรรถนะครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มากที่สุดคือครูสอดแทรกหลักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีในการจัดการเรียนรู้ ที่น้อยที่สุดคือครูรู้จักความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

ในด้านการทดสอบความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการ

นำไปประยุกต์ใช้ พบว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้เข้ารับการอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 56.00 และหลังการอบรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.26 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละก่อนการอบรมและหลังการอบรม ในภาพรวมผู้เข้ารับการอบรมมีพัฒนาการสูงขึ้น คิดเป็นค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 27.26

อภิปรายผล

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำมาอภิปรายผลการประเมินโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ได้ดังนี้

1. ด้านบริบทของโครงการ

จากผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครูผู้สอน พบว่าอยู่ในระดับมาก ที่เป็นดังนี้อาจเนื่องมาจากโครงการ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 ซึ่งเป็นแผนที่อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559): ฉบับสรุป พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)นโยบายและ ทิศทางการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน รวมถึงสภาพความพร้อมของชุมชนตลอดจนความต้องการของคณะครู และนักเรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทับทิม ปานคะเชนทร์ (2553) ได้ประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) ในภาพรวม พบว่า ผู้ประเมินมีความเห็นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่ม ผู้ดำเนินโครงการมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ

จากผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของผู้บริหาร และครูผู้สอน ของโครงการพัฒนาครู

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ที่เป็นดังนี้อาจเนื่องมาจากครูมีความพร้อมในการที่จะเรียนรู้และ มีความสามารถในการดำเนินการ มีผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ผู้ปกครอง ชุมชน ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ วิทยากรท้องถิ่นมีความรู้ ความสามารถถ่ายทอดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ท้องถิ่นมีแหล่งเรียนรู้การดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากผู้บริหารในด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการอย่างเพียงพอ ตลอดจนระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม จึงทำให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์ ส่งผลให้ครูผู้สอนมีสมรรถนะครู อยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กาญจนา บุญยัง, เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ และ อุษณากร ทาวะรมย์ (2552, บทคัดย่อ) การศึกษาเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิจัยพบว่า กลไกการส่งเสริมให้ อบต. นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงานและส่งเสริมให้ประชาชนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้คือ 1) ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ชัดเจนและต่อเนื่อง 2) เตรียมความพร้อมของผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ 3) พัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง 4) ผู้บริหารของ อบต. ต้องขับเคลื่อนการบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง 5) สร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนารูปแบบการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 6) ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องประชาสัมพันธ์และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของพอเพียงให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิยะดา ธนสารมงคลกุล (2552, บทคัดย่อ) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนประทุมนุสรณ์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นที่ต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบประโยชน์ของการ บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนการสอนโดยการอบรมให้ความรู้ การสาธิต รวมทั้งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชินานารถ ดวงละว้า (2556, บทคัดย่อ) การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ การพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาครูควรมีการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีรูปแบบวิธีการ ที่หลากหลายจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศการสอน

3. ด้านกระบวนการของโครงการ

จากผลการประเมินกระบวนการของผู้บริหาร และครูผู้สอนของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ที่เป็นดังนี้อาจเนื่องมาจากได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึง ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ กำหนดภาระงานผู้รับผิดชอบได้ชัดเจน มีการเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้รับผิดชอบ มีแผนการดำเนินการที่เป็นขั้นตอนชัดเจนมีการนิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและ มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสรุปผลการดำเนินโครงการและประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ การดำเนินโครงการที่มีกระบวนการที่ดีส่งผลให้ การดำเนินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิยะดา ธนสารมงคลกุล (2552, บทคัดย่อ) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนประทุมนุสรณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน ประทุมนุสรณ์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นที่ต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบประโยชน์ของการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการเรียนการสอน โดยการอบรมให้ความรู้ การสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยกตัวอย่างการบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่นๆเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์ ปัจจัยสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนตระหนักร่วมกันคือรูปแบบการบริหารงานและนโยบายการทำงาน นอกจากนั้นก็คือการสร้างระบบการสื่อสารที่ดี การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีการให้รางวัลกับผู้ที่ตั้งใจทำงานและตักเตือน ผู้ที่ประพฤติผิดระเบียบวินัย

4. ด้านผลผลิตของโครงการ

จากการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ในด้านสมรรถนะครู ด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้ ในภาพรวมของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน ในครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

พบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกตามด้านพบว่า ในด้านสมรรถนะครูจากการประเมิน ครั้งที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับมาก (= 3.60) และจากการประเมิน ครั้งที่ 2 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ พบว่าอยู่ในระดับมาก (= 4.36) ในด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้ ผลการประเมินก่อนการอบรมในภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 56.00 และผลการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.26 จากผลการประเมินที่สูงขึ้นทั้งในด้านสมรรถนะครูและด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่บริบทของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ และกระบวนการของโครงการ จึงส่งผลให้ผลผลิตของโครงการ คือครูผู้สอนมีสมรรถนะครูที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จำนง ขันกสิกรรม (2553, บทคัดย่อ) ผลการวิจัยพบว่าการน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติงานในฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร ในด้านต่างๆมีระดับผลการปฏิบัติงานดังนี้ 1. การบริหารงานด้านวิชาการ มีระดับผลการปฏิบัติงานอยู่ใน ระดับมาก (= 4.08)2. งานพัฒนาหลักสูตรด้านการเรียนการสอน มีระดับผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก (= 4.08)3. งานวัดผลและประเมินผล มีระดับผลการปฏิบัติงานอยู่ใน ระดับมาก (= 4.01) 4. งานวิทยบริการและห้อสมุด มีระดับผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (= 4.06) 5. งานอาชีวะศึกษาระบบทวิภาคี มีระดับผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (= 4.00) 6. งานสื่อการเรียนการสอนมีระดับผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (= 4.04) และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์ (2555, บทคัดย่อ) การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความเป็นเลิศวิชาการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้า ทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก อยู่ในระดับมาก และมีกิจกรรมที่นักเรียนและครูจัดขึ้นเพื่อบริการสังคมด้วยจิตสาธารณะ อย่างหลากหลาย รวมถึงได้รับรางวัลจากการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติมากขึ้น

จากสรุปผลการประเมิน และอภิปรายผลโครงการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม พบว่าครูผู้สอนของโรงเรียนไทรงามพิทยาคม มีความรู้ ความเข้าใจ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ รวมถึงมีสมรรถนะครูที่สูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำผลการประเมินไปใช้

1.ด้านบริบทของโครงการ จากการประเมินพบว่าโครงการมีความสอดคล้อง

กับความต้องการของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ ดังนั้นในการจัดทำโครงการควรได้ศึกษาความต้องการของนักเรียน และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบมากยิ่งขึ้น

2.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จากการประเมินพบว่าโรงเรียนมีผู้รับผิดชอบ

ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ ดังนั้นในการดำเนินการควรได้กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่รวดเร็ว และเพื่อการนิเทศ กำกับ ติดตาม

3.ด้านกระบวนการของโครงการ จากการประเมินพบว่าการสรุปผลการดำเนิน

โครงการและประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ ดังนั้นเมื่อ เสร็จสิ้นโครงการควรได้สรุปผลโครงการ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน นักเรียน ในทุกช่องทางเช่น จัดนิทรรศการ เอกสาร เว็บไซด์ ในส่วนของการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาที่อบรมและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ จึงควร จัดอบรมทบทวนความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ

4.ด้านผลผลิตของโครงการ ด้านสมรรถนะครูจากการประเมินพบว่า ด้านครูรู้จัก

ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ด้านครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางความคิดครู และด้านจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อตามลำดับ สมควรได้มีการจัดอบรมพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถใน 3 ด้านให้มากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1.ควรนำโครงพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อ

สมรรถนะครูโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสมรรถนะและสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

2.ศึกษารูปแบบใหม่ในการพัฒนาครูผู้สอนที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

และเปรียบเทียบ เพื่อได้รูปแบบในการพัฒนาครูผู้สอนที่เหมาะสม ต่อไป

3.ศึกษาสภาพปัญหาสมรรถนะครูด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูเฉพาะด้าน

หมายเลขบันทึก: 588538เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2015 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2015 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากครับ

มาเขียนอีกนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท