ทีมทำงาน...การเรียนรู้...ดูเด็กดี


26 มี.ค.58...ผมได้ออกบริการคลินิกกิจกรรมบำบัดจิตอาสา ณ ศูนย์การเรียนแห่งหนึ่งชุมชนมุสลิมที่ตั้งมานาน 20 ปีและมีความต้องการพัฒนาเด็ก 9 ราย ทางเครือข่ายบ้านเรียนจึงร่วมมือกับทีมที่ใจดีมีพี่นิ่ม คุณไพบูลย์ อ.ป่าน อ.แอน คุณครูเสริมศิริ คุณซาการียา ผู้ปกครอง คุณครู และเด็กๆทุกท่าน...บทเรียนที่น่าสนใจคือ การค้นหาวิธีช่วยพัฒนาเด็กในบริบทการเลี้ยงลูกตามพระศาสดาและความรู้ความเข้าใจของผู้ใหญ่ที่อยากพัฒนาลูกหลานอย่างจริงจัง

เมื่อวิเคราะห์สุขภาวะตามสถานการณ์ชีวิตและบริบทของทีมทำงาน ก็พบว่า มีความต้องการในการฝึกฝนการทำงานแบบสหวิชาชีพ ซึ่งไม่ง่ายที่ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวลามากกว่านี้ เพราะทุกคนต้องการตระหนักรู้ "บทบาทวิชาชีพกับบทบาทของตัวเองในการพัฒนาเด็กๆแต่ละรายบุคคล" รวมทั้งทุกคนควรทำความเข้าใจว่า "ทีมเครือข่ายบ้านเรียน หรือ ทีมนักกิจกรรมบำบัด หรือ ทีมวิศวกรหุ่นยนต์ หรือ ทีมคุณครู หรือ ทีมผู้ปกครอง หรือ ทีมผู้มีประสบการณ์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จะเข้ามาพัฒนาพลเมืองเด็กพิเศษอย่างไร และต้องปรึกษาวิชาชีพใดเพิ่มเติม เช่น แพทย์ ครูการศึกษาพิเศษ ฯลฯ" ศึกษาลิงค์นี้เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการการทำงานแบบสหวิชาชีพที่ต้องปรับใช้ในการนัดหมายประชุมครั้งต่อไป

ในส่วนบทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่อ.แอนกับดร.ป๊อปลองทำเป็นตัวอย่างในวันนั้น คือ การทดลองใช้แบบประเมินที่หลากหลายมิติ

เช่น แบบประเมินทักษะการทำกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคมด้วยการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง แบบประเมินความต้องการในหัวข้อมากมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กพิเศษ แบบประเมินพัฒนาการรอบด้านที่กระทรวงศึกษาธิการนำมาให้นักการศึกษาใช้ร่วมกับการรับรองเบื้องต้นจากบุคลากรทางการแพทย์ก่อนจะส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำเรื่องการขอจดทะเบียนคนพิการเพื่อรับสวัสดิการทางการบำบัดฟื้นฟูและทางการศึกษาต่อไป เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีในเวลา 2 ชม. (อีก 1 ชม.ประชุมครูกับผู้ปกครอง) ที่จำกัดในการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กแต่ละรายกับการสื่อสารความเข้าใจกับผู้ปกครอง ทำให้ทีมทำงานครั้งนี้บริการจัดการอย่างเต็มศักยภาพ ก็ทำให้ดร.ป๊อปได้ใช้ประสบการณ์ด้วยการสังเกตทักษะการสื่อสาร การเล่น การวาดรูป การเขียน พร้อมๆกันเคสละ 10 นาทีพร้อมพูดคุยกับผู้ปกครองถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกๆ แล้วให้ทีมทำงานแต่ละท่านได้ใช้ประสบการณ์ส่วนบุคคลในการใช้และไม่ใช้แบบประเมินข้างต้น ซึ่งเราได้มีการประชุมผู้ปกครองถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ธรรมชาติของลูกเพื่อปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ลดอาการเหม่อลอย ลดอาการไม่อยู่นิ่ง ลดอาการกลัวคนแปลกหน้า ลดอาการพูดน้อย ลดอาการคับข้องใจ ฯลฯ ที่ส่งผลให้ทักษะการเรียนรู้ทำกิจวัตรประจำวันและการศึกษามีความจำเป็นที่ต้องการทีมสหวิชาชีพทั้งทางการแพทย์ การศึกษา และการช่วยเหลือ (ให้เวลามากขึ้น) ของผู้ปกครอง-ชุมชน

จึงสรุปว่า

1. ควรประชุมวางแผนให้ชัดเจนกว่านี้ว่า "ทีมทำงานแต่ละท่านน่าจะมีบทบาทการประเมินทักษะการเรียนรู้ของเด็กกับผู้ปกครองอย่างไรจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น" ข้อมูล ณ ปัจจุบัน คือ เด็กจำนวน 9 รายที่มีความต้องการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีพัฒนาการช้ารอบด้าน คือ มีทักษะทางสังคมไม่สมวัย มีทักษะการดูแลตนเองไม่สมวัย หรือมีทักษะการสื่อสาร-จัดการอารมณ์ไม่สมวัย

2. ควรใช้แบบประเมินที่มีหัวข้อมิติเดียวเพื่อง่ายในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งผมตัดสินใจใช้กรอบอ้างอิงพัฒนาการเด็ก 3-18 ปี

3. ควรประชุมพัฒนาระบบการส่งปรึกษาแพทย์ การจัดโครงการอบรม และการสื่อสารจัดการความรู้สู่สาธารณะ ตามบริบทที่ทีมทำงานถนัด ผมมีตัวอย่างของเวปไซด์ที่ดีมากๆ ในการจัดกิจกรรมบำบัดผสมผสานกับศูนย์การเรียน/บ้านเรียน เช่น


หมายเลขบันทึก: 588532เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2015 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2015 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ทีมทำงานสหวิชาชีพและเครือข่ายบ้านเรียนมีกิจกรรมหลากลหายมาก

สนใจพับ Origami ไหมครับ

จะเป็นอาสาสมัครไปช่วยครับ

ตามมาเชียร์น้องครับ ขอบคุณมากๆครับ


ขอบพระคุณและยินดีอย่างยิ่งครับพี่ขจิต

ตามมาเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำบันทึกมาให้อ่าน

เชียร์ๆ ค่ะอ.ดร.ป๊อป อ.แอน

พักผ่อนบ้างนะคะ ^^

ขอบพระคุณมากครับคุณอรและพี่ณัฐพัชร

ขอบพระคุณมากครับพี่เปิ้ลกับพี่ Tuknarak

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท