กริยาที่เป็นกลุ่มคำ: ปัญหาของผู้เรียน (Multi-word verbs: Learner problems) ตอนที่ 3


องค์ประกอบ (particles)

ความหมายขององค์ประกอบ เช่น up, in, on สามารถที่จะสร้างปัญหาให้กับผู้เรียนได้เหมือนกัน เพราะในบางครั้ง องค์ประกอบจะมีหลายความหมายมากๆ แต่ก็ไม่ใช่กริยาที่เป็นกลุ่มคำทุกคำ เช่น องค์ประกอบที่ใช้คำว่า up ที่หมายถึงการเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่าง grow up, heat up, cheer up อย่างไรก็ตาม คำว่า up ในที่นี้จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับ split up ได้ (คำนี้จะแปลว่า ลดลง) คำแนะนำในข้อนี้มีดังนี้

1. การที่แบบฝึกหัดจำนวนมากที่มีอยู่ จะเน้นไปที่องค์ประกอบ และทำให้ผู้เรียนมีความอ่อนไหวต่อความหมายในกลุ่ม ฉันพบว่าสิ่งนั้นมีคุณค่า เพราะได้กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้กริยาวลี ดูเหมือนกับว่าพวกเขาได้มีเครื่องมือในการทำให้คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยมีความหมายได้

2. ตราบเท่าที่พวกครูยังเน้นว่าความหมายขององค์ประกอบที่ผู้เรียนกำลังพบเจอนั้น จะไม่เหมือนกับกริยาที่เป็นกลุ่มคำ ต่อมาแบบฝึกหัดนั้นจะมีประโยชน์ในการทำให้ความเข้าใจกริยาที่เป็นกลุ่มคำค่อยชัดเจนขึ้น

การออกเสียง (Pronunciation)

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าคำที่ยากในการออกเสียง จะเป็นคำที่ยากต่อการเรียนรู้ แน่นอนว่ากริยาวลีไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ถึงแม้ว่าจะมีการออกเสียงเน้นหนักผิดไปบ้างก็ตาม

บ่อยครั้งที่นักเรียนจะไม่เต็มใจในการเน้นคำที่เป็นองค์ประกอบ เช่น We did the kitchen up. คำว่า kitchen จะมีการเน้นเสียง แต่ถ้าเปลี่ยนจากคำนามก็คือ kitchen เป็น it เราจะเน้นเสียงที่องค์ประกอบที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น We did it up.

วิธีการที่จะช่วยผู้เรียนก็คือ ใช้ภาพกราฟฟิค เช่น การใช้กล่องเน้นเสียง (stress boxes) บนกระดานดำ และให้เน้นเสียงเหนือคำ หรือพยางค์ในประโยคทั้งหมด และฝึกปฏิบัติการออกเสียงประโยคดังกล่าว

หนังสืออ้างอิง

Vanessa Steele. (2015). Multi-word verbs: Learner problems. TE Editor on 28 June, 2005



ความเห็น (1)

เป็นการสอน อธิบาย ที่ดีมากๆๆค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท