ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๗๙. นิยามใหม่ของ "ที่นี่" และ "เดี๋ยวนี้"



บทความเรื่อง Extra-Sensory Perception : How a world filled with sensors will change the way we see, hear, think and liveบอกเราว่ามนุษย์ยุคต่อไปจะรับรู้ได้ไกลกว่าที่ประสาทรับรู้ของเรารับรู้ได้เอง เพราะจะมี sensor หลากหลายชนิด ติดตั้งอยู่ในที่ต่างๆ ส่งสัญญาณมายัง คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ ที่อยู่ติดตัวเรา แล้วคอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณเข้าสู่สมอง ของเราอีกทีหนึ่ง

สมัยก่อนเราต้องหัดขี่จักรยาน หัดขับรถยนต์ สมัยหน้าเราจะต้องหัดอยู่กับคอมพิวเตอร์ที่ส่งสัญญาณจาก sensor เข้าสู่การรับรู้ของเรา ในโลกยุค ubiquitous computing

นั่นหมายความว่า เราต้องปรับตัวของเรา ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ที่เป็น "สิ่งแวดล้อมขยาย" คืออยู่ไกล หรืออยู่นอกระบบประสาทรับรู้ของเรา

แต่ sensors เก่งกว่านั้น เขาสามารถรับรู้ความต้องการของเรา เช่นระดับเสียงเพลงที่เราชอบ ระดับอุณหภูมิ ที่พอดีสำหรับเรา และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่ตัวเรา

ผู้เขียนบทความเรียกโลกยุคใหม่ว่า sensor-driven world ซึ่งจะช่วยปลดปล่อยมนุษย์จากการจ้องจอสมาร์ทโฟน มาอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น

กลับไปเหมือนสมัยไม่มีสมาร์ทโฟน แต่รับรู้ "ที่นี่" และ "เดี๋ยวนี้" ได้ไกล และซับซ้อนกว่าเดิมอย่างมากมาย



วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.พ. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 588260เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่นี่..เดี๋ยวนี้..รู้ได้ด้วยตัวตน..(ไม่ต้องมีตำรา..ขอแต่มีคำว่า"อยากที่จะเรียนรู้")...ไม่ต้องรอ..เครื่องที่ว่า..มั้ง...สิ่งที่มนุษย์ขาดหายไปเพราะไม่ได้ถูกฝึก...ให้ใช้.."สัญชาติญาณ"ที่มีโดยธรรมชาติ"..กลับกันโดยฝึกให้ถูกเป็น..ทาส"วิทยาการ"...ที่กำลังล้าหลังลงทุกวัน....กับ..คำว่า"ธรรมชาติ"..(.แอบคิด..ตามประสา..คนล้า..วิทยาการ)...

ยิ่งเรียนยิ่งห่าง ทางสายเอก...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท