ทำไมต้องคิดค้นเรื่อง "ข้าวรูระแหง"


"ข้าวรูระแหง" คือ ยุทธศาสตร์ (เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส) การใช้ภาวะ "ความแห้งแล้ง" ให้เป็นประโยชน์

ในระบบการทำนาแบบไม่ไถ

*****************************

พื้นฐานของระบบคิดนี้มาจากการทำงานวิจัยกับชุมชนของผม เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชในนาข้าว เมื่อสมัยยี่สิบปีที่แล้ว

ทั้งนี้เพราะ.......

ในช่วงที่แล้งจัดๆ วัชพืชในนาส่วนใหญ่จะมีไม่มาก ที่มีบ้าง ก็มักจะอ่อนแอ ไม่เจริญ สามารถกำจัดได้โดยง่าย

------------------------------

ดังนั้น............

ถ้าเรามีข้าวขึ้นในนาช่วงนั้น การกำจัดวัชพืช หรือดูแลไม่ให้วัชพืชแข่งขัน จะง่ายมากๆ

เพียงใช้เครื่องมือการเกษตรอะไรก็ได้ หรือเดินใช้เท้าเขี่ยเบาๆ ต้นและรากวัชพืชก็จะหลุดลอยและแห้งตายอย่างรวดเร็ว

และ......

ถ้าเราปลูกข้าวโดยวิธี "หยอดให้ลึก" ไว้นิดหนึ่ง ข้าวที่งอกขึ้นมาได้ ก็จะได้รับความชื้นต่อเนื่อง พอที่จะเจริญเติบโตได้

เพราะหลักการก็คือ.................

ควรหยอดในช่วงแล้งที่สุดของปีนั้นๆ (วันดินนาแห้งสูงสุด) ก่อนฝนแรกจะมา

ถ้ามีความชื้นในขณะที่หยอด มีเพียงพอจนข้าวงอกได้ ต่อไป ข้าวก็จะโตได้อย่างแน่นอน

ถ้าบังเอิญ ยังแห้งเกินไป งอกยังไม่ได้ ก็ไม่เสียอะไร เมล็ดข้าวจะรอได้ อีกสักพักถ้ามีความชื้นอีกสักหน่อยข้าวก็งอกได้เอง

และ....

ต่อจากนั้น โดยธรรมชาติของบ้านเรา พอเกินระยะแห้งสูงสุดแล้ว ฝน และความชื้นก็น่าจะสูงขึ้นจนเจริญเติบโตได้ อย่างค่อนข้างแน่นอน เพราะเราปลูกในระยะแล้งที่สุดอยู่แล้ว ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วยังไงก็ต้องมีฝนมาอย่างค่อนข้างแน่นอน

และการตกของฝน จะไม่มีแรงจนท่วมนาทีเดียว ส่วนใหญ่จะค่อยๆตก จนดินอิ่มน้ำแล้วจึงจะเริ่มท่วมในระยะต่อๆไป

ที่ทำให้ข้าวมีโอกาสเจริญเติบโต และปรับตัวได้ จากเหง้าในดิน ขึ้นมาแตกกอบนดินได้ทันพอดีๆ

นี่คือข้อสรุปของงานวิจัยการทำข้าวนาหยอด เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชในนาข้าว

------------------------------------------

ยิ่งกว่านั้น......

ถ้ามีการหยอดได้ตรงกับรอยแตกของรูระแหง ก็ยิ่งจะทำให้รากข้าวเจริญไปหาความชื้นได้โดยง่าย

จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการหยอดข้าวลงรูระแหง อย่างที่ผมคิดไว้ ในหลักการของการปลูกข้าว "รูระแหง" ก็น่าจะยิ่งดี

เพราะ รูระแหง ก็คือรอยแตกธรรมชาติในดิน ที่ค่อนข้างจะถาวร และจะแตกแยกออกจากกันได้โดยง่ายเมื่อความชื้นในดินลดลง และรากข้าวเจริญเติบโตได้ง่ายมากๆ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของข้าวในระยะที่แห้งแล้งนั้นพอดีๆ

ดังนั้น การปลูกข้าว "รูระแหง" จึงเป็นเทคนิคการปลูกที่ช่วยแก้ปัญหาความแห้งแล้งได้อย่างตรงประเด็น ตรงตามยุทธศาสตร์ทุกระดับ ในการแก้ปัญหาความแห้งแล้งอย่างครบถ้วน อย่างแน่นอน

นี่คือที่มาของแนวคิดลึกๆ ของการปลูกข้าวใน "รูระแหง" ครับ

หมายเลขบันทึก: 588259เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

n see that this is the key "ควรหยอดในช่วงแล้งที่สุดของปีนั้นๆ (วันดินนาแห้งสูงสุด) ก่อนฝนแรกจะมา". A good question would be "how do we know "when"? Can we rely on TH dept of meteorology's forecast? Do we listen to 'seers' and crackpots? Statistics does not work exactly!

ประสบการณ์ของแปลงนา และขนาดรูระแหงช่วยได้ครับ อิอิอิอิอิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท