การเรียนรู้ช่วยสะท้อนคิดหรือไม่?


ขอบพระคุณกรณีศึกษาที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมบำบัดศึกษา

การรับรู้คือการตื่นรู้ถึงข้อมูลความรู้สึกที่หลากหลายเพื่อเชื่อมโยงกับบริบทของตนเองกับผู้อื่นในสถานการณ์ชีวิตหนึ่ง: แรกเกิด คลอดครบกำหนด นน.ตัว เป็นไปตามเกณฑ์อายุดีมาตลอด เลี้ยงง่าย ทุกอย่าง เว้นเรื่องกิน ลูกกินนมแม่ถึงอายุ 9 เดือน และก็กินนมผงต่อ กินจากขวดนมได้ดี ดิฉันเริ่มให้กินอาหารเสริม เช่น ฟักทองบด ไข่ต้มบด ใส่นมแม่ ตั้งแต่อายุ 5 เดือนครึ่ง พอสัก อายุ 7-8 เดือน ก็เริ่มใส่ทุกอย่าง เป็นข้าวต้ม ตำลึง ไข่ ฟักทอง ปลา หมู กล้วย รวมๆกัน และปั่นเป็นชาม รวมๆหลายๆอย่าง ในชามเดียวกัน ให้เค้ากินมาตลอด พออายุ สัก 9 เดือน ก็ปั่นแบบหยาบๆขึ้น ลูกก็กลืนได้กินดี กิน 3 เวลา มื้อละชาม มาตลอด มีปัญหาอาเจียนบ้าง เวลาที่กินแล้วรู้สึกติดคอ เค้าจะอาเจียนออกมาและอาเจียนขย้อนสิ่งที่กินเข้าไปแล้วออกมาเกือบหมด ก็เลยไม่กล้าที่จะทำหยาบขึ้นกว่าเดิม มีบางช่วงที่ลูกเป็นหวัดไม่สบาย ยิ่งไม่ยอมกินหยาบเลย จะกินแต่นม เพราะเค้าคงเจ็บคอ แต่พอหายหวัด ก็กลับมากินได้ใหม่ แต่ไม่สามารถกินหยาบไปกว่านี้ได้ เพราะเค้าจะไม่เคี้ยว จะกลืนเลย พอกลืนแล้วติดคอ จะอาเจียน ไม่ใช่แค่คำที่ป้อนคำนั้น แต่เป็นสิ่งที่อยู่ในท้องก่อนหน้านั้น ก็จะออกมาด้วย เช่นกินนมมื้อก่อนนั้น ก็ออกมาเป็นนม หรือ กินข้าวไปแล้วครึ่งชาม ก็ออกมาครึ่งชามที่พึ่งกินเข้าไปเลย ทำให้ ดิฉัน ไม่ค่อยกล้าที่จะป้อนหยาบ เพราะเค้าจะเจ็บเวลาอาเจียน และเค้าก็จะไม่กินอีก ดิฉันเลยยังให้ลูกกินอาหารปั่นเรื่อยๆ มาจนถึง อายุ 2 ปีได้ พยายามลองป้อน ขนมปัง ซาลาเปา เป็นชิ้นเล็ก ลูกอมจนละลาย ผ่านไป 2 ชม. ก็ยังอมอยู่อย่างนั้น บางทีอมไว้จนหลับไปเลย และพอ อมไว้ เค้าก็จะไม่ยอมที่จะกินนม หรือ กินนม ก็ต้องควัก หรือพยายามให้เค้าคายออกมา ไม่งั้น คงฟันผุ

การรู้คิดคือการสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ชีวิตด้วยความมุ่งมั่น: ดิฉัน เคยปรึกษาหมอเด็ก เค้าบอกให้เพิ่มความหยาบ ค่อยๆฝึกไป อาจเพราะเด็กไม่ได้ฝึกการเคี้ยวมาก่อน ซึ่งดิฉันก็ว่าน่าจะจริง ลูกเป็นเด็กแปลกมาก ตอนสมัยพวกเราเด็กๆ ต้องมีอาการหมั่นเขี้ยว อยากกัดนั่นนี่ แต่ตั้่งแต่จำความได้ ลูกดิฉัน ไม่เคยคิดจะกัดอะไรเลย ไม่เคยหมั่นเขี้ยวแม้ฟันกรามจะขึ้น ไม่เคยอยากหยิบนั่นนี่เคี้ยวกินแบบเด็กทั่วไป ดิฉัน ก็เรื่มใหม่โดยให้กินเป็นข้าวต้มเละๆโดยไม่ปั่น ตอนลูกอายุ 2.2 ปี ช่วงแรกๆก็กินๆ คายๆ กินชามนึง คายออกมาสักครึ่งชาม ผ่านมา 4 เดือนแล้วตอนนี้ ก็ไม่ปั่นแล้ว เป็นข้าวต้ม ใส่ไข่ หมูสับละเอียด ปลาสับ ใส่แครอทฟักทองต้ม แต่ต้องมีน้ำซุปเยอะหน่อย และสิ่งที่ใส่แต่ละอย่างต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สัก 0.5 ซม ได้ ลูกก็ยอมกินนะคะ ไม่ได้ต้องปั่นแล้ว ก็กินได้สัก เกือบหมดชาม ทุกมื้อนะคะ แต่ปัญหา คือว่าแม้จะกินหมดชาม แต่กินในสภาพที่ ก็ยังไม่เคี้ยว เค้าอมเข้าไป แล้วกลืนเลยทุกคำ ดังนั้นบางครั้งเจอหมูสับชิ้นใหญ่หน่อย หรือ แครอทแข็งหน่อย เค้าก็๋จะอาเจียนเหมือนเดิม ด้านการพูด เค้าก็พูดได้ 3-4 พยางค์ ร้องเพลงได้ ท่อง 1-20 ได้ ท่อง A-Z ได้ บางทีพาเค้าไปกินข้าวนอกบ้าน ก็เอาข้าวสวย ข้าวผัด ใส่ปาก ก็อม อยู่อย่างนั้น ไม่เคี้ยว ไม่กลืน บางทีอม จนเต็มปาก แล้วก็คายออกมา บางที เค้าก็พยายามจะกลืน แต่พอกลืนทั้งที่หยาบก็ติดคอ ทันใดนั้น อาเจียน ออกมา และอาเจียนของที่อยู่ในท้องออกมาหมดเลยอะคะ 1เดือน ก่อน เลยพาเค้าไปรร.เตรียมอนุบาล เพราะหวังว่า บางที เค้าเป็นลูกคนเดียวอยู่บ้าน ก็เลยทำให้ไม่มีเพื่อน ไม่ได้รู้สึกอยากกิน หรือ เห็นเพื่อนกิน จุดประสงค์ที่เอาไปเข้ารร. เพื่อหวัง ให้เห็นเพื่อน ลองให้ครูป้อนดูบ้าง เผื่อจะช่วยได้ ปรากฏหนักกว่า เดิมค่ะ เพราะเมนู อาหาร ของรร. ลูกกินไม่ได้สักอย่าง จนตอนนี้ นน. ลดลงไป 2 กก ใน 1 เดือน เมนูเป็นข้าวผัดหมูหยอง ข้าวผัดอเมริกันบ้าง ข้าวหมูแดง บ้าง บะหมี่ลูกชิ้นบ้าง ไปรร. แทบไม่ได้กินอะไรเลย นอกจากนม ครูก็กลับมาบอกว่า ป้อนลูกคูณไม่ได้เลย ใส่ปากไปได้ 4-5 ช้อน ก็อมไว้ และสักพัก ก็อาเจียน ครูๆ ก็หนีกันหมด ไม่มีใครกล้าป้อนเลย เห็นกินไม่ได้ ก็จบ ให้กินนม รอกลับบ้าน ดิฉัน เลยว่า ถึงพาไปรร. ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในตัวลูกเลย แถมนน. ลูกผอมลงอีก

การเรียนรู้คือการสะท้อนคิดเพื่อทบทวนและตั้งใจ (ตื่นตัว) ด้วยความคิดบวกในปัจจุบันขณะ: พอดี ดิฉัน อ่านในเน็ต เห็นอ. เคยให้คำแนะนำ กับเด็กกลุ่มนี้ เลยอยากข้อสอบถามวิธีปฏิบัติกับอ. หน่อยค่ะ เลยอยาก ถามอ. ว่ามันมีเทคนิก ฝึกเคี้ยวได้อย่างไร หมอเด็กบอกดิฉันว่า ให้ลองเอาแครอทแท่งๆ ให้เข้ากัด หรือเอาพวก บิสกิต ให้เค้ากัดดู ดิฉันลองหมดแล้วค่ะ ลูกกัดด้วยฟันหน้า กัดเสร็จแล้วอมไว้ในปาก นาน ผ่านไป 2 ชม คายออกมาค่ะ บางทีก็ลองกลืน พอกลืนติดคอ อาเจียนต่อค่ะ หมอเด็กบอกลองให้เค้าให้หิวๆดูค่อยให้กิน ก็ลองนะคะ ไม่ได้ให้กิน อะไรทั้งวัน ก็ยังไม่เคี้ยวอยู่ดีค่ะ ปัญหาของลูก ไม่ใช่แค่การไม่เคี้ยวค่ะ คือถ้าอม แล้วคาย ดิฉันก็จะไม่กลัวที่จะให้เค้าอม แต่นี่ คือบางทีแค่ติดคอ ระคายคอ เค้าอาเจียน อาเจียนอย่างเยอะด้วยนะคะ

ขอบคุณ อ. สำหรับ การตอบคำถามที่รวดเร็วนี้ค่ะ ขออธิบายเพิ่มเติมนะคะ

จากการเรียนรู้ของดร.ป๊อปในฐานะนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมและนักสั่งจิตใต้สำนึกเบื้องต้น ก็ใช้ NLP Presupposition ก็พบว่า "There is no failure, only feedback" แต่ผมขอใส่ประสบการณ์กับเคสที่ผ่านมาด้วยการใช้วลีที่ว่า "Learning is not failure, Learning is a feedback of cognition - Cognition is understanding the perception which is knowing your multi-sensory integrated with motor behavior." ดูจากตัวอย่างการสนทนาที่ลุ่มลึกดังนี้

To: Supalak Khemthong

Thursday, March 12, 2015 9:52 AM

คุณแม่:ขอบคุณ อ. สำหรับ การตอบคำถามที่รวดเร็วนี้ค่ะ ขออธิบายเพิ่มเติมนะคะ

ดร.ป๊อป: ขอบคุณครับสำหรับคำถามจากคุณแม่ ขออนุญาตตอบคำถามดังนี้

จากข้อมูลพัฒนาการบริโภคอาหาร ผมสงสัยว่า ทำไมคุณแม่ไม่ให้ลูกทานอาหารแบบแยกส่วนในช่วง 7-9 เดือน เพราะการปั่นหยาบและใส่รวมกันทุุกอย่างทำให้น้องไม่ได้รับรู้ผิวสัมผัสอาหาร ที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มทักษะการเคี้ยวและการกลืนที่เป็นธรรมชาติ ในการกลืนที่ดูว่า กลืนได้แต่ถ้าเคี้ยวไม่สมบูรณ์อาจทำให้เกิดสำลักเงียบ ซึ่งถ้าน้องไม่ไอออกมาเองก็จะกลายเป็นอาเจียนและมีอาหารที่ไม่ละเอียดติดคอ จริงๆแล้วอาหารจะบดได้โดยธรรมชาติถ้ากระตุ้นการเคี้ยวทั้งจากเหงือกและฟัน อย่างค่อยเป็นค่อยไป พูดง่ายๆ คือ กลืนไม่ทันและอาหารยังหยาบอยู่ทำให้กลืนลำบาก

คุณแม่: เหตุที่ช่วง 7-9 เดือน ไม่ได้แยกอาหารเป็นส่วน แต่ใส่รวมๆกัน แล้วปั่น เพราะช่วงแรกนั้นอยากให้ลูกได้สารอาหาร ครบ 5 หมู่ค่ะ เลยอยากให้ใน 1 ชามที่กิน มีทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ และผักรวมอยู่ในนั้น ก็เลยอาจเป็นส่วนนึง ที่ทำให้ลูกชินกับรสชาติแบบเดิมๆ ค่ะ แต่ก็พยายามเปลี่ยนผักวนๆไปเรื่อยๆ วันนี้ฟักทอง พรุ่งนี้ตำลึง วันต่อไปบรอคโคลี แครอท แต่ตัวยืนพื้นคงเป็นข้าวไข่หมูปลาเป็นหลักในแต่ละมื้อค่ะ ส่วนนึงที่สังเกตุว่าเค้าอาเจียนตอนกินอาหารปั่นหยาบช่วงเด็กๆ 1-2 ปี คือบางที เค้ากลืนยังไม่หมดค่ะ เหมือนอมไว้ทีคอ ก่อน แล้ว รอกลืนตอนคำใหญ่ๆทีเดียว เค้าก็จะอาเจียนค่ะ แต่ปัจจุบันนี้ ถ้าลองให้กินแบบข้าวสวย ถ้า 3-4 เม็ด เล่นๆไปก็กลืนค่ะ แต่ถ้าสัก ครึ่งช้อน แกอาเจียนเลยค่ะ ทั้งที่ยังไม่ได้กินอะไร หรือ ยังไม่มีอะไรสะสมในปากเลย

ดร.ป๊อป: การที่เป็นหวัดเป็นผลจากการสำลักเหงียบที่ทำให้ เกิดการติดเชื้อระหว่างรูจมูกที่เชื่อมกับช่องปาก ส่งผลให้เป็นหวัดและไม่ยอมทานอาหารและแย่ลงเพราะกลืนลำบาก ตอนนี้ไม่ควรบังคับป้อนอาหารที่ต้องเคี้ยวมากนัก ควรเริ่มจากอาหารที่นิ่มและข้นด้วยการปรุงอาหาร มิใช่การปั่น ยิ่งทานอาหารปั่นนานๆ จะทำให้น้องไม่ยอมเคี้ยวและป้องกันการสำลักได้ดี อาหารที่ควรทดลองโดยลดอาหารปั่นลงครึ่งหนึ่ง คือ ซุปข้น ไข่ตุ๋น ผักชิ้นเล็กๆเปื๋อย เค้กนิ่ม ข้าวนิ่ม น้ำผลไม้ มะละกอชิ้นเล็กๆ ฯลฯ ลองไม่เกิน 1/2 ช้อนชา สลับไปเรื่อยๆ ทานได้ตลอดวัน

คุณแม่: ตั้งแต่ลูกอายุ 2 ปี ดิฉันก็เลิก อาหารปั่นสนิทแล้วค่ะ ทุกวันนี้ก็ฝึกเค้ากินข้าวต้มเละโดยไม่ปั่นได้แล้ว ส่วนพวกซุปข้น โยเกิร์ตนี่ลูกกินได้หมดถ้วยค่ะเค้าชอบกิน สบายมากสำหรับเค้า เพราะเค้าจะกลืนๆเลย กินหมดถ้วยด้วยความรวดเร็ว ใน 10 นาทีค่ะ ส่วนเค้กนิ่ม ขนมปัง ก็คืออมอย่างเดียวค่ะ ไม่กลืน ส่วนผลไม้ ลูกสามารถกินมะละกอสับเป็นลูกเต๋า กล้วยครูดเป็นชิ้นๆได้ค่ะ แตงโมหั่นเป็นลูกเต๋าสัก ครึ่งซม ก็กินได้ค่ะ แต่กินได้ 1-2 ช้อนชา แล้วก็จะไม่กินต่อแล้วค่ะ

ดร.ป๊อป: ถ้าไม่ได้ อย่าควักออกมา จะทำให้เจ็บ ให้เด็กคายออกมาเอง ไม่บังคับใดๆ อมอาหารได้แต่ไม่เกิน 3 นาทีให้คายออก แล้วป้อนใหม่ อย่าซ้ำอาหารเดิมในการป้อน จัดเมนูอาหารนิ่มข้นที่ไม่ผสมนมเพราะจะกลืนและเคี้ยวยาก จริงๆฝึกแปรงฟันให้ดีก็จะไม่ฟันผุ ยังไม่ควรให้ขนมปังหรืออาหารที่เป็นแป้งเพราะต้องเคี้ยวมากเกินไป

คุณแม่: คือไม่ควัก ลูกก็จะไม่ยอมคายเลยอะคะ ปิดปากวิ่งหนี ตลอดเลย ผ่านไป2ชม.ยังคงเป็นแบบนั้น หลอกให้กินคำใหม่หลอกให้อ้าปากก็ไม่ยอมอะคะ บอกให้คายออกมา เค้าก็เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างหรือไม่ยอมทำตามบ้าง ส่วนเรื่องแปรงฟัน ตอนนี้ ลูกแปรงฟันแบบไม่ใส่ยาสีฟันกับพ่อแม่ทุกเช้ากับก่อนนอนค่ะ และดิฉันก็จะใช้ผ้าเปียกชุบน้ำถูฟันหลังแปรงให้เค้าอีกทีนึงค่ะ

ดร.ป๊อป: วิธีการที่คุณแม่ปรับอาหารหลังจากคุณหมอแนะนำก็ดู ดี แต่วางอาหารผิดตำแหน่ง ควรวางอาหารคำเล็กๆ ข้างต้นไว้ที่ฟันกรามล่างสลับซ้ายขวาไปไม่เกิน 5 คำ พักบ้างเพราะน้องต้องค่อยๆบดอาหารกับเหงือก ใช้ช้อนที่เป็นยางแบนตื้นเพื่อให้เด็กได้สบฟันกับช้อนและอาหารได้ อย่าให้กัดที่ฟันใดๆ เพราะน้องยังกัดไม่เป็นและใช้ฟันสบไม่ได้ดีเนื่องจากเหตุผลข้างต้น

คุณแม่: วิธีนี้ การวางช้อนอาหารแบบนี้จะกลับไปลองฝึกดูค่ะ เพราะทุกที ที่ป้อน ก็ป้อนปกติ วางบนลิ้นธรรมดาอะคะ รู้สึกว่า เค้าอาจจะยังใช้ลิ้นในการกวาดอาหารไปมา ไม่เป็นค่ะ ฟังอ. อธิบาย สบายใจขึ้นค่ะ ตอนแรก ยังกลัวว่า ลูกเรามีปัญหาตรงช่องคอมันตีบอะไรรึป่าว เพราะเค้าจะกินได้แต่อาหารที่ไม่แข็ง ก้เลยกังวลว่า ลูกเราต้องไปส่องกล้องดูหลอดอาหารอะไรพวกนี้อีกรึป่าาว ที่กังวลที่สุดในตอนนี้ คือ ตอนนี้ ลูก 2ปีครึ่งแล้ว แต่กินข้าวสวย ยังไม่ได้เลย ไปรร.แล้ว อาหาร ก็ไม่มีข้าวต้มเลย ลูกกินไม่ได้ อาเจียนที่รร. เลยอยากฝึกเรื่องการกินอาหารที่แข็งกว่าข้าวต้มที่เป็นอยู่อะคะ และที่รร. เวลากินอาหารมีให้เด็กน้อยมาก แค่ 15 นาที เด็กไม่กิน ก็เก็บแล้ว ครูก็ต้องดูเด็กหลายคน เค้าก็ไม่ได้มานั่งใส่ใจพยายามฝึกให้ลูกเท่่าที่ควร เลยต้องมาฝึกเองที่บ้าน เฉพาะมื้อเช้ากับเย็น ซึ่งก็ยังไม่ค่อยได้ค่ะ

ดร.ป๊อป: รายละเอียดการฝึกเคี้ยวเพิ่มเติมควรพาน้องมาพบผม ที่คลินิกเพื่อประเมินละเอียดกว่าข้อมูลที่คุณแม่ให้มา ผมคาดว่าจะลงคลินิกเม.ย.ครับ รบกวนคุณแม่ส่งข่าวและโทรนัดอีกครั้ง

คุณแม่: ช่วงเมย. จะติดต่อมาที่อ. อีกครั้ง ถึงวันเวลานัดคลินิคค่ะ


หมายเลขบันทึก: 588162เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2015 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2015 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การเรียนรู้ได้ฝึกคิดฝึกการทำงานด้วยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Dr. Pop

คุณยายเข้ามาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณสิ่งดีดีที่นำมาบอกต่อค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ที่นำบันทึกดีๆนี้มาให้อ่านและได้เรียนรู้ค่ะ

ยินดีและขอบพระคุณมากครับคุณอร

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ คุณหมอป. คุณ tuknarak คุณอักขณิช และคุณ GD

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท