UNDO จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)


เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่ของกองคลัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ติดต่อผู้เขียนซึ่งเป็นข้าราชการเกษียณมาตั้งแต่ตุลาคม ๒๕๕๕ และเคยเป็นสมาชิก กบข และรับเงินกองทุนซึ่งเป็นเงินก้อนตั้งแต่เกษียณไปเรียบร้อยแล้ว

  • เจ้าหน้าที่ผู้นี้ ได้ถามว่า ผู้เขียนได้รับเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณากลับไปคำนวณเงินบำนาญตามระบบเดิม หรือ UNDO หรือไม่ และขอให้ผู้เขียนเข้าไปกองคลัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรับเอกสารประกอบการพิจารณา UNDO หรือไม่

  • กรณีของผู้เขียน ตามสูตรการคำนวณประกอบการพิจารณา ต้องนำเงินมาคืนจำนวนหนึ่ง และหากคำนวณตามระบบบำนาญแบบเดิม จะได้เงินบำนาณรายเดือนเพิ่มขึ้น

  • ปัจจุบัน ผู้เขียนไม่ได้เป็นสมาชิก กบข แล้ว เนื่องจากเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด

  • ผู้เขียน ได้นำเงินก้อนให้ กบข บริหารต่อ ซึ่ง ๒ ปี ที่ผ่านมาได้ผลตอบแทนประมาณ ๖ เปอร์เซ็นต์กว่าๆ

  • จึงอยากทราบว่า หาก ผู้เขียน UNDO เงินก้อนที่ให้ กบข บริหารให้นั้น จะยังคงให้ กบข บริหารต่อได้หรือไม่

  • เจ้าหน้าที่ กองคลัง กรุณาติดต่อ กบข เพื่อสอบถามรายละเอียด จึงได้ทราบว่า กบข ยินดีบริหารเงินก้อนต่อให้ โดยวงเงินเดิมจะไม่ถูกหักยอดเงินเดิมใดๆทั้งสิ้น

  • ขณะนี้ จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะตัดสินใจ UNDO หรือไม่

  • สำหรับเรื่องนี้ ผู้เขียนได้ลองสอบถามเพื่อนๆที่เกษียณอายุราชการแล้ว

  • บางท่านก็ UNDO เพราะคิดถึงเงินบำเหน็จตกทอด ที่จะได้เท่ากับเงินบำนาญที่เพิ่มขึ้น คูณด้วย ๓๐

  • ซึ่งหากพิจารณาเงินที่ต้องคืนให้กับราชการ หักด้วยเงินบำนาญที่จะได้เพิ่มขึ้น คูณด้วย ๓๐ ก็จะเป็นค่าของเงินที่ต้องคืนจริง

  • เช่น ตัวเลขที่ต้องคืน เท่ากับ ๙ แสนบาท และหากคำนวณเงินบำนาณที่จะได้เพิ่มขึ้น เท่ากับ ๙๐๐๐.-บาท
ก็นำเงิน ๙ แสน หักด้วย ๒๗๐,๐๐๐.-บาท (๙๐๐๐ x ๓๐) เหลือต้องจ่ายตามค่าเงินจริงเท่ากับ ๖๓๐,๐๐๐.-บาท (๙ แสน หัก ๒๗๐,๐๐๐)

เพื่อนท่านนี้ ก็ คิดว่า ประมาณ ๕-๖ ปี นำ๖๓๐,๐๐๐ หารด้วย ๙๐๐๐ ได้เท่าไร หารด้วย ๑๒ จะได้ ๕.๘๓ ก็คือ หากมีอายุอยู่อีกประมาณ ๕-๖ ปี ก็คุ้มแล้ว เป็นต้น

  • สำหรับบางท่าน UNDO เพราะว่าเกษียณอายุราชการมาหลายปีแล้ว ไม่ต้องคืนเงินราชการ ได้รับเงินคืน แถมเงินบำนาณเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก อย่างนี้ ไม่ต้องคิดเลย ใช่ไหมคะ

  • สำหรับบางท่านไม่ UNDO เพราะว่า พอคำนวณ UNDO แล้ว ต้องคืนเงินให้กับราชการ ๗ แสน แต่เงินบำนาณพอคำนวณแล้วได้เงินเพิ่มขึ้น เดือนละ ๕๐๐๐.-บาท

  • เช่น ตัวเลขที่ต้องคืน เท่ากับ ๗ แสนบาท และหากคำนวณเงินบำนาณที่จะได้เพิ่มขึ้น เท่ากับ ๕๐๐๐.-บาท
  • ก็นำเงิน ๗ แสน หักด้วย ๑๕๐,๐๐๐.-บาท (๕๐๐๐ x ๓๐) เหลือต้องจ่ายตามค่าเงินจริงเท่ากับ ๕๕๐,๐๐๐.-บาท (๗ แสน หัก ๑๕๐,๐๐๐) เพื่อนท่านนี้ ก็ คิดว่า ประมาณ ๙-๑๐ ปี (นำ๕๕๐,๐๐๐ หารด้วย ๕๐๐๐ ได้เท่าไร หารด้วย ๑๒ จะได้ ๙.๑๘ ก็คือ หากมีอายุอยู่อีกประมาณ ๙-๑๐ ปี ถึงจะคุ้ม เป็นต้น
    แต่ละท่านจะมีรายละเอียดในการคิดคำนวณแตกต่างกัน ก็คงแล้วแต่ใครจะคิดอย่างไรนะคะ


คำสำคัญ (Tags): #undo
หมายเลขบันทึก: 588161เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2015 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2015 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แก้ว ยังไม่ undo

ถึงจะได้เงินรายเดือนน้อยลง แต่เราก็ได้เงินก้อนมาใช้ก่อน

สวัสดีค่ะพี่ใบบุญ

ตอนนี้น้องยังไม่ได้ตัดสินใจค่ะพี่ รอดูสถานการณ์ไปก่อนค่ะ

ขอบคุณพี่บุญ

มีประโยชน์มากๆ

  • คุณแก้วคะ โดยส่วนตัว เห็นว่าผู้ที่ยังรับราชการและเป็นสมาชิก กบข. นั้น ยังน่าจะเป็นสมาชิก กบข. ต่อไป ยกเว้นกรณีมีเหตุความจำเป็นบางอย่างค่ะ
  • คุณยายคะ ก่อนตัดสินใจ ควรจะได้ศึกษาทุกอย่างให้รอบคอบค่ะ ทั้งนี้ เราสามารถเปิดดูเว็บไซต์ของ กบข. ได้ที่ https://www.gpf.or.th/ และสามารถสอบถามได้ในฐานะสมาชิก หรือกรณีเกษียณ ไม่ใช่สมาชิก ก็ได้ค่ะ
  • ทาง กบข ให้คำตอบได้จนเรากระจ่างค่ะ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ค่ะ
  • อาจารย์ขจิตคะ ยินดีค่ะที่บันทึกนี้ พอจะเป็นประโยชน์ได้บ้างค่ะ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท