ศาสนา และ พหุวัฒนธรรม


ศาสนานี่ถือเป็นพหุวัฒนธรรมตั้งแต่ดั้งเดิม และในวิกีพีเดีย [1] บอกไว้ว่าในโลกมีศาสนาถึง 4,200 ศาสนา แบบหลักๆ ยังไม่รวมลัทธินิยมต่าง ๆ ที่แยกกันออกมาซึ่งน่าจะมากกว่ากว่านั้นหลายเท่าตัว ในมุมมองของวัฒนธรรมแล้ว ศาสนาคือสิ่งประดิษฐ์สร้างของมนุษย์อย่างหนึ่ง มนุษย์สร้างศาสนาหรือลัทธิความเชื่อ มาจากความไม่มั่นคงทางจิตใจ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในโลกนี้ เช่นฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง ศาสนาระดับแรก ๆ ของมนุษย์ก็คือ Animism[2] (หรือ วิญญาณนิยม) ก็คือความเชื่อว่าทุกสิ่งเบื้องหลังปรากฎการณ์ต่าง ๆ บนโลกนี้มีวิญญาณอยู่เบื้องหลัง มนุษย์ที่ตายไปแล้วก็เป็นวิญญาณ ที่ให้คุณให้โทษได้ มนุษย์แต่ละที่ก็สร้างศาสนา ความเชื่อ ที่แตกต่างกันตามบริบท ก่อให้เกิดความหลากหลายทางศาสนา และลัทธิความเชื่อ นานาหลากหลาย

ศาสนาจะมีส่วนเกี่ยวพันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทุกศาสนา แม้ศาสนาอเทวนิยมอย่างพุทธ กับ ศาสนาเชน ก็มีจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างบรรเจิดเช่นกัน ความสัมพันธ์หลักระหว่างสิ่งเหนือธรรมชาติกับมนุษย์ มีแนวดังนี้คือ สิ่งเหนือธรรมชาติ มีอำนาจพิเศษ ให้คุณ กับ ให้โทษกับมนุษย์ได้ วิธีการในความสัมพันธ์ก็คือ การเอาใจสิ่งเหนือธรรมชาติด้วยการเซ่นสรวงบูชา ในที่สุดก็เพื่อความมั่นคงปลอดภัย การอยู่ดีกินดีของมนุษย์ อย่างน้อยก็เซ่นสรวงก็ขอเพื่อทำให้อาหารอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นวิญญาณนิยมยังเชื่อว่าในธรรมชาติ ก็มีสิ่งเหนือธรรมชาติคุ้มครองอยู่ แม้แต่ในสังคมมนุษย์ บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วยังปกป้องคุ้มครองคนในครอบครัว คนในเผ่า พัฒนาการของ Animism [2]กลายมาเป็น ศาสนาพหุเทวนิยม และ ศาสนาเอกเทวนิยม ตามลำดับ

ศาสนามีส่วนในการควบคุมและกล่อมเกลาทางสังคม โดยการใช้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อควบคุมโครงสร้างทางสังคม การกำหนดสิ่งที่เป็นคุณธรรมจริยธรรม เพื่อกำหนดให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคมที่อยู่ร่วมกันในเผ่าพันธ์อย่างมีความสุข แต่ก็มีในประวัติศาสตร์ที่ใช้ศาสนาให้สงบสุขเฉพาะเผ่าพันธ์ตัวเอง มองเผ่าอื่นคนอื่นที่แตกต่างจากเผ่าพันธ์ตัวเองเป็นศรัตรู บ้างก็เห็นว่าในโครงสร้างศาสนาพิธีกรรมสามารถควบคุมคนในอานานิคมของตัวเอง จึงพยายามเปลี่ยนแปลงชนเผ่าพื้นเมืองให้นับถือความเชื่อเดียวกับผู้ปกครอง ทำให้ความเป็นอาณานิคมยังอยู่ได้อย่างสมบูรณ์

เมื่อสังคมเข้าสู่ระบบทุนนิยม ศาสนาหรือความเชื่อได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องให้ระบบทุนนิยม อย่างเช่น กรณีมาร์ติน ลูเธอ ได้ปฏิวัติศาสนาจักร[3] ให้กลายเป็นความเชื่อย่อย ๆ คือ ลูเธอรัน โปรแตสแตนท์ และ ลัทธิคาลวิน โดยเฉพาะคาลวิล ได้มีคำอธิบายทางศาสนาที่สนับสนุนระบอบทุนนิยมและลัทธิเอกชน อย่างเต็มที่ ทำให้ระบอบการค้า อุตสาหกรรมในยุโรปเฟื่องฟูและแพร่หลาย การประยุกต์คำอธิบายต่อทุนนิยมศาสนาแห่งยุคสมัยในประเทศไทย [4] ก็ได้แก่ การทำศาสนาให้เป็นการค้า การทำบุญหมายถึงการบริจาคเงินเพียงอย่างเดียว วัดเหมือนบริษัทสามารถลงทุนเพื่อทำกำไร ทั้งต่อหน้าและลับหลังอย่างไรก็ได้ การเห็นคุณค่าของจำนวนเงินมหาศาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกทางวัฒนธรรม ที่จะมีคำอธิบายเชิงบวก ต่อระบบทุนนิยม ตลอดจนเรื่องลัทธิพิธี[5] เช่นลัทธิพิธีบูชาเสด็จพ่อ ร 5 เป็นพัฒนาการมาจากความไม่มั่นคงของจิตใจต่อการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนในระบอบทุนนิยม คนจึงประกอบพิธีกรรมเพื่อตอบสนองทางจิตใจของคน ในระบอบทุนนิยมที่มีความเครียดและทุกข์จึงต้องการคำปลอบประโลมใจ

จะเห็นได้ว่า ศาสนาเป็นพหุวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลง มีคำอธิบายเพิ่มเติม ตอบสนองต่อเป้าหมายของมนุษย์และมีความหลากหลาย ผลิตซ้ำ ผลิตใหม่ ในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นถ้ามีคนอธิบายวัฒนธรรมด้านศาสนามีเพียงอย่างเดียว เป็นศาสนาเชิงเดี่ยวนั้น ผิดพลาดต่อสัจจะเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งคำก่อนหน้าศาสนาที่อธิบายพลาดไปเป็นเชิงเดี่ยว



[1] http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0...

[2] Edward Brunett tyler (1832-1917)นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ

[3]http://th.swewe.net/word_show.htm/?380269_1&%E0%B8...

[4]http://www.sriprawat.net/23p.pdf

[5]นิธิ เอียวศรีวงศ์ ศิลปวัฒนธรรม 14,10 (ส.ค. 2536) : 76-98

คำสำคัญ (Tags): #พหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 588014เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2015 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2015 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พวก Heathen อย่างผมต้องการความมั่นคงในจิตใจรึป่าวนะ
ผมว่านะ Heathen ใช้วิทยาศาสตร์เสริมความมั่นคงทางจิต
และมี อิสรภาพทางจิตในการขันเคลื่อนจิตใจให้ก้าวเดิน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท