เป็นไวยากรณ์กับคลังคำ หรือ ไวยากรณ์ผ่านคลังคำ? (Grammar vs lexis or grammar through lexis?) ตอนที่ 3


ไวยากรณ์ต่อจากคลังคำ (Grammar after lexis)

บทเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา จะมีการสอนเกี่ยวกับคลังคำ เช่น Good morning, How are you?, Where do you live? อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เรียนโตขึ้น พวกเขาก็จะได้ความทรงจำที่น้อยลง ผู้เรียนได้เปิดการคิดเชิงวิเคราะห์ และพวกเขาได้แบ่งแยกภาษาออกเป็นส่วนๆ สื่อการสอนที่แบ่งแยกไวยากรณ์กับคำศัพท์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากเหมือนกัน

พวกเราจะช่วยผู้เรียนให้สามารถสร้างระบบไวยากรณ์และในขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้กฎที่ไม่ได้เรียนรู้ (unlearnable rules)ได้อย่างไร ย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่า ประเด็นสำคัญก็คือ การเริ่มต้นด้วยตัวอย่างของภาษาที่ใช้จริง แต่ต้องนำเสนอไว้เป็นคลังคำทั้งหมด (whole chunk) โดยที่ไม่ต้องใช้เวลาไปวิเคราะห์โครงสร้าง ในช่วงต้นเสียก่อน เช่น กริยาช่วยที่ใช้ในการขอสินไหม (deduction), ขออนุญาต (permission) รวมทั้งการใช้คำที่เป็นอดีตของ may กล่าวคือ might เป็นต้น

คลังคำที่จำได้เหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดการรับรู้ไวยากรณ์ (grammar acquisition) นอกจากนี้ยังง่ายที่จะสร้างประโยคอย่างง่ายๆ ที่เห็นได้ทั่วไปมากกว่าจะใช้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม การจะจำสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา ในตอนสุดท้ายผู้เรียนต้องสามารถนำคลังคำเหล่านั้นมาแต่งเป็นประโยคได้ เช่น It might take a long time. It might take a couple of weeks. เป็นต้น

หนังสืออ้างอิง

Leo Selivan.(2011). Grammar vs lexis or grammar through lexis?. http://goo.gl/A1adzK

หมายเลขบันทึก: 587765เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2015 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2015 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท