​พระแท้ตาม "หลักการ" น่าจะดีกว่า พระแท้ตาม "ใบรับรอง"


พระแท้ตาม "หลักการ" น่าจะดีกว่า พระแท้ตาม "ใบรับรอง"

******************************************************
คำว่า "หลักการ" ผมหมายถึง ชุดความรู้ 3 หัวข้อ คือ....
ก. ประวัติและเจตนาในการสร้าง
ข. มวลสารที่ใช้(รวมเทคนิควิธีการปรุงแต่งมวลสาร) และ
ค. พัฒนาการของมวลสารตามสภาพแวดล้อมระยะเวลาที่ผ่านมา

แล้วใช้หลักสามข้อนี้เป็น "หลักการ" ในการพิจารณา
ที่ทำให้เกิดความเก่า (หลักข้อที่ 1)
ในความเก่ามีความใหม่ ในความใหม่มีความเก่า แบบหลากอายุ หลากแบบปะปน ทับซ้อนกัน (หลักข้อที่ 2) และ
การทับซ้อน ผสานกับการกร่อน หรือสึกกร่อน ทำให้เกิดผิว "เหี่ยว" มีการงอกใหม่ "ฉ่ำๆ" และ ความนวลของผิว หรือความนุ่มนวลของผิว (หลักข้อที่ 3)
ที่ผมผนวกไว้ในหลัก 123

และเมื่อพิจารณาลงรายละเอียดของแต่ละเนื้อ ก็จะพบว่า

ก. เนื้อผง มีการพัฒนาการทั้งหมด 7 ลักษณะ จึงมีหลักเนื้อผง 1-7 การอ่านจุดเด่นของเนื้อในหลักที่ 8 การอ่านพุทธศิลป์ในข้อที่ 9 การสังเกตตำหนิ ในข้อที่ 10 การสัมผัสลื่นมือ ในข้อที่ 11 และการมีน้ำหนัก ในข้อที่ 12

ข. เนื้อดิน มีการพัฒนาการของผิว 8 ลักษณะ

ค. เนื้อชิน เนื้อโลหะ มีการพัฒนาการของสนิมหลากหลาย ทั้งแนวดิ่ง แนวระดับ และหลากอายุ

ง. เนื้อว่าน ก็คล้ายกับเนื้อดินผสมเนื้อผง แล้วแต่จะแก่ไปทางดิน หรือทางผงปูน

หลักการที่สำคัญๆ ก็มีเท่านี้
ถ้าจะจับหลักง่ายๆ ละก็......

1. ความเหี่ยวของพระทุกเนื้อ

ไม่ว่าจะเป็น ดิน ผง ชิน และโลหะ ที่ทำได้ยากมากๆ
ซึ่งผมคิดว่าน่าจะใช้เป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ได้เลย
ที่เหลือก็........

2. พัฒนาการหลักๆของเนื้อ
ก. เนื้อผง 3+2
ข. ดิน มวลสารนูน มน เหี่ยว ฉ่ำ นวล แพร่
ค. โลหะ ใหม่ๆสนิมทอง 4 ระดับ โลหะเก่า สนิมหลากแบบ
แล้วก็ขยับไปดูว่า.....
3. พุทธศิลป์ถูกต้อง

พอได้ครบสามหลักดั่งนี้แล้ว อิอิอิ เอาใบรับรองที่ไหนมาแลก ก็ไม่ยอม
5555555555

คำสำคัญ (Tags): #การดูพระแท้
หมายเลขบันทึก: 587650เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2015 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การเล่นพระอย่าฟังนิทานครับ ดูเนื้ออย่างเดียวครับ

คือว่าผมดูไม่เป็นเลยครับ รู้แต่ว่าเป็นพระสมเด็จแต่ไม่ทราบรายละเอียดประจำองค์ท่านครับอาจารย์ ขอความกรุณาด้วยครับ

แล้วทราบได้อย่างไรว่าเป็นพระสมเด็จ อิอิอิอิ.....

ขออนุญาตท่านอาจารย์คุยด้วยคนครับ..ผมแนะนำคุณกิตติศักดิ์ไปหาซื้อหนังสือ "กุศโลบายในการสร้างความยิ่งใหญ่" ของท่านพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ มาอ่านนะครับ หรือหยิบยืมจากห้องสมุดก็ได้ครับ เพราะเล่มนี้หายากแล้วครับ มีในร้านหนังสือเก่าครับ ที่คุณกิตติศักดิ์ บอกว่า ทำงานแล้วมีผลงาน แต่ไม่ก้าวหน้า เพราะประจบเจ้านายไม่เป็น อ่านแล้วจะได้เรียนรู้วิธีการทำงานในคนหมู่มาก (เรื่อง) ครับ..

วกกลับมาเรื่องที่คุณได้พระสมเด็จฯ มาจากวัด ความจริงเรียกพระลักษณะนี้ว่า เป็นพิมพ์ "พระสมเด็จฯ" ซึ่งหลังจากที่ท่านสมเด็จ(โต) วัดระฆังฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯของท่านจนมีชื่อเสียงในด้านพุทธคุณต่างๆ ก็มีพระอีกหลายวัดทั่วประเทศไทย ได้สร้างพิมพ์แบบพระสมเด็จฯของท่าน มากๆจนพูดได้ว่า ถ้านำ พิมพ์แบบพระสมเด็จนี้ มาปูพื้นก็จะเต็มท้องทุ่งสนามหลวงกันเลยทีเดียวเชียว..

ของคุณนี้ ถ้าเจอคนที่ตอบอย่างไม่เกรงใจก็ตอบว่า เก๊ระยะ ๒๐๐ เมตร..ตอบอย่างเกรงใจก็ตอบว่า เป็นพระเกจิอาจารย์สร้างรุ่นหลังครับ...ตอบแบบสนามพระท่าพระจันทร์ก็ตอบว่า ดีแต่ยังไม่ถูกใจครับ..

สรุปก็คือ..ถ้าคุณกิตติศักดิ์ นับถือพระรูปที่ให้มา ก็ใส่แขวนคอเป็นกำลังใจครับ ตำรวจไม่จับ..แต่อย่าแขวนไปเข้าสนามพระ ครับ อยู่ใกล้ท่านอาจารย์แสวง ก็ไปสมัครเรียนกับท่านเลยครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นประเภท "ใกล้เกลือ กินด่าง" ครับ สว้สดีตอนเช้าครับท่าน..

ตอบแบบไม่เกรงใจ...ร้องเพลงของคุณไก่ (ตลกโพธิ์ทอง) ...เก๊...มาแต่ไกล...๔๐๐ เมตร ครับ ผิดทั้งเนื้อ และพิมพ์ครับ...

ขอเสริมนิดครับอาจารย์ การดูพระแท้ตามหลักการ ก็คือ การใช้ประสบการณ์ในการดูพระแท้ และเทียม นั่นเอง ส่องพระแท้แล้ว ถ้ามีโอกาส พบเจอของปลอมระดับฝีมือ ก็น่าที่จะเก็บขึ้นมาศึกษาหาข้อเปรียบเทียบ ว่า ที่เป็นของแท้ เนื้อหา พิมพ์ มันเป็นอย่างไร และ ของเทียม มันต่างกันตรงไหน โดยเปรียบเทียบแบบชนิดจุดต่อจุดได้เลยยิ่งดี การผ่านตาในการพบเจอแต่พระแท้ๆ ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าจะดีกว่าการท่องตำรานับร้อยๆเล่มเสียอีก (เหมือนกับเรียนแต่ทฤษฎี แต่ขาดการปฏิบัติ อย่างนี้ก็ไม่ work เท่าไหร่) ส่วนใบรับรองในกรณีของพระแท้ก็ถือว่าเป็นเสมือนกับประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพเพื่อที่จะย้ำความแน่นอนให้มันแน่ใจขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง แต่ก็ต้องหมายถึงว่า ใบรับรองนั้นจะต้องมาจากสถาบันที่น่าเชื่อถือได้ เช่น ใบประกาศรางวัล 1-4 ที่ได้รับจากการตัดสินของคณะกรรมการงานประกวดพระเครื่อง ฯ ในระดับที่ มีการรับรองของสมาคมพระเครื่องระดับชาติ ที่ได้รับการยอมรับจากวงการพระเครื่องโดยทั่วไป (ไม่ใช่การรับรองโดยใครก็ไม่รู้ในระดับท้องถิ่นที่จัดประกวด) แต่ก็มีบางสถาบันเหมือนกันที่ทำเพื่อการค้า ออกใบรับรองออกมา ซึ่งมีทั้งพระเก๊ และพระจริง ตรงนี้ก็แล้วแต่่วิจารณญาณของแต่ละท่านที่จะเลือกสรรกันเอาเอง ครับผม

ไม่ต่างกันครับ วงการนี้มีอะไรลึกลับมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท