วาทกรรม สยาม และ ไทย


จิตร ภูมิศักดิ์ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และ ขอม ได้ให้ความหมายของคำว่าสยามไว้ว่า

"สยามเป็นชื่อดินแดนและกลุ่มชนไม่จำกัดเผ่าพันธุ์หนึ่งใด แต่ไม่ใช่ชื่อชนชาติและไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์ใดหรือเผ่าพันธุ์ใดโดยเฉพาะ หากเป็นชื่อพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่ง มีรากจากคำพื้นเมืองดั้งเดิมว่าซัม ซำ หรือสาม หมายถึงบริเวณที่มีน้ำซับน้ำซึมเป็นตาน้ำพุน้ำผุดโผล่ขึ้นจากแอ่งดินอ่อน หรือดินโคลน แล้วเรียกคนจะเป็นชาติพันธุ์อะไรก็ได้ที่มีหลักแหล่งทำมาหากินบริเวณนี้ว่า ชาวสยามทั้งนั้น"

จากวาทกรรมของจิตร ภูมิศักดิ์ นี้ คือ นิยามของพาหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นดินแดนหรือรัฐ ที่ประกอบด้วยชนชาติหลายชนชาติ หลายเผ่าพันธ์

ส่วนอีกวาทกรรมหนึ่ง ซึ่งประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ในการเปลี่ยนแปลงประเทศสยาม เป็นไทย ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482

"...การที่เราใช้คำว่า ประเทศสยามนั้น นอกจากจะไม่ตรงกับเชื้อชาติของเราแล้ว ในต่อไปภายหน้าคนชาวต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศของเรา ก็อาจที่จะถือเอาสิทธิประเทศของเราเป็นประเทศของเขาก็ได้ คือเราเป็นชาวไทย เราก็อยู่ในประเทศสยาม ชาวจีนก็อยู่ในสยาม ถ้าหากว่าการที่อพยพของชาวต่างประเทศมากขึ้นในต่อไปข้างหน้าตั้งพันปี เราก็อาจจะไม่เข้าใจว่าประเทศสยามนี้เป็นของไทยหรือของจีน หรือของคนอื่น."

จากวาทกรรมของ จอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม คือ นิยามเอกวัฒนธรรม คือมีเชื้อชาติเดียว คือ เชื้่อชาติไทย


ปัจจุบัน เราใช้นิยามวาทกรรมแบบที่สอง ที่ไม่ใช่นิยามแบบพาหุวัฒนธรรม เป็นวาทกรรมแบบรัฐชาตินิยม



คำสำคัญ (Tags): #พาหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587362เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2015 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2015 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วาทกรรม ก็คือระบบในการจำแนกแตกต่าง ซึ่งหมายถึง วาทกรรมต้องเกี่ยวข้องกับอำนาจเสมอ

ครับอาจารย์ต้น เราคอเดียวกันครับ วาทกรรม คือ กระบวนการสร้างความหมาย ความรู้ การสร้างเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ให้กับสรรพสิ่ง และความหมายหรือความรู้ชุดนั้น มีความสัมพันธ์ทางอำนาจ
เช่น วาทกรรมสยาม ให้ความหมายถึงทุกชนเผ่าในดินแดนนี้ภายใต้อัตลักษณ์สยาม ส่วนวาทกรรมไทยก็สร้างอัตลักษณ์แห่งเชื้อชาติ ก็ผลักดันทุกชนเผ่าที่ไม่ใช่ไทย ออกไปสู่ชายขอบแห่งความรู้


ยังติดใจที่อาจารย์ใช้คำว่า พาหุวัฒนธรรม ซึ่งแปลมาจากคำว่า multicultural แต่คนอื่น ๆใช้ พหุวัฒนธรรม สำหรับศัพท์ภาษาอังกฤษนี้กันแพร่หลาย อาจารย์คิดอย่างไรคะ

ขอบพระคุณอาจารย์กัลยาครับ ตอนนี้แก้แล้วนัะครับ

วาทกรรม อัตลักษณ์ ของจังหวัดภาคใต้

คนดีสุราษฏร์

นักปราชญ์เมืองคอน

ขี้ยอนสงขลา

ขี้ด่าเมืองตรัง

ชังกั้งเมืองลุง

ได้ยินวาทกรรมเหล่านี้มานานแล้ว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท