พหุวัฒนธรรม กับ ชนชั้น (class)


ในสังคมมนุษย์ สิ่งประดิษฐ์อีกประการหนึ่งที่กำหนดโครงสร้าง และความสัมพันธ์พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม ถือเป็นความแตกต่างภายในชุมชน ภายในสังคม และในระหว่างชุมชนและสังคมที่แตกต่างกัน นั้นก็คือ ชนชั้น (Class) ชนชั้นเป็นความแตกต่างพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งในระบบความสัมพันธ์ทางสังคม ความแตกต่างหลากหลายที่สามารถจัดแบ่งได้แบบนี้ไม่ได้มีในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ก็มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน นอกจากมีอำนาจเหนือกว่ามนุษย์แล้ว ในอำนาจเหนือธรรมชาติก็แบ่งแยกกันเป็นหลาย ๆ ชั้น ถ้าดูในไตรภูมิพระร่วง จะเห็นอำนาจตามระดับชั้นได้ชัดเจน ในจักรวาลวิทยาในความเชื่อของชาวจีน ก็มีองค์ประกอบของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีแบ่งแยกกันเป็นชั้น ๆ

ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ สิ่งที่บ่งบอกถึงชนชั้นที่เห็นได้ชัดก็คือ วรรณะ(Caste) แบบอินเดีย อินเดียมีชนชั้นประกอบด้วย วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ วรรณะศูทร โดยวรรณะต่าง ๆ นี้ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ พราหมณ์ หรือนักบวชที่มีหน้าที่ติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า รองลงมาก็เป็นกษัตริย์ หรือนักรบผู้ปกครอง รองลงมาอีกก็คือ วรรณะแพศย์ คือ พ่อค้าวาณิชย์ และวรรณะศูทร คือผู้ใช้แรงงาน ความสัมพันธ์และวรรณะได้มาจากการเกิด การสืบเชื้อสาย หากไม่ได้ดำเนินการตามวรรณะ หรือ ทำผิดข้อห้ามวรรณะ ก็จะถูกขับออกไปจากสังคม เป็นวรรณะใหม่คือ วรรณะจัณฑาล
ความสัมพันธ์อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าฐานันดร (Estate) เป็นการแบ่งโดยใช้อำนาจในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ระบบฟิวดัลของยุโรป ได้กำหนดให้พระราชา ขุนนาง พระ มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเหนือกว่า พ่อค้า และสามัญชน การถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นปัจจัยการผลิต ความแตกต่างเหล่านี้ถูกสร้างโดยระบบสังคม ต่อมาเมื่อสังคมเข้าสู่ระบบการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบฐานันดร ไปเป็น ชนชั้น(Class) สิ่งที่กำหนดก็คือเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นการพัฒนาจากฐานันดร มาสู่การถือครองทรัพย์สินโดยตรง ทำให้พ่อค้าและสามัญชน ได้มีโอกาสถือครองทรัพย์สินจากการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งการเกิดชนชั้นตามที่แบ่งในสังคมวิทยา ประกอบด้วย ชนชั้นสูระดับสูง (Upper-upper class) กลุ่มนี้จะเป็นคนที่พัฒนามาจากตระกูลเก่าแก่ที่ได้รับมรดก ได้รับการศึกษาระดับสูงเป็นปัญญาชนของสังคม
ส่วนชนชั้นสูงระดับต่ำ (Lower-upper class) กลุ่มนี้พัฒนาการมาจากพ่อค้า สามัญชน ซึ่งผลิตสินค้าและบริการ เป็นคฤหบดี มีการศึกษาไม่ค่อยสูงนัก ส่วนชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-middle class) กลุ่มนี้มีพัฒนาการมาจากสามัญชนที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพเป็นนักวิชาการมหาวิทยาลัย เทคโนแครต ใช้ความรู้ระดับสูงในการดำเนินงาน ส่วนชนชั้นกลางระดับต่ำ (Lower-middle class) พัฒนาการมาจากสามัญชน มีอาชีพเป็นพวกเสมียน พนักงาน คนมีฝีมือ ส่วนชนชั้นต่ำระดับสูง (Upper-lower class) ได้แก่ พวกคนงานกรรมกรที่ไม่ค่อยมีฝีมือ สะอาดเป็นระเบียบ ส่วนชนชั้นต่ำระดับต่ำ (Lower-lower class) ได้แก่ พวกคนงานหรือกรรมกรที่ไม่มีฝีมือ

การ review ความสัมพันธ์ทางสังคมให้เห็นก็เพื่อที่จะเข้าใจถึง สถานภาพและบทบาท ที่สังคมเป็นผู้แจกจ่ายตำแหน่งแห่งที่ในโครงสร้างของระบบสังคม ซึ่งมีความแตกต่างกันหลากหลาย ไม่หยุดนิ่ง เป็นพลวัตร เมื่อสังคมเข้าสู่ระบบทุนนิยมแล้ว ชนชั้นยิ่งแบ่งแยกกันตามทรัพย์สินที่ถือครอง ความสามารถในการผลิต การบริโภค สิ่งเหล่านี้เป็นสาระของวัฒนธรรม หรือระบบความสัมพันธ์ นก็ฯ็น

คำสำคัญ (Tags): #พาหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587298เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2015 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2015 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมว่ามันเป็นสันชาตญานของสิ่งมีชีวิตบนโลกครับ ลองมองดูสัตว์ต่างๆที่อยู่ร่วมกันเป็นฝูงก็มีการแบ่งชนชั้นกัน เช่น มด ช้าง ลิง เป็นต้น สังคมมนุษย์ เมื่อสมองมีกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการแบ่งวรรณะที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อให้สังคมมีการจัดระเบียบให้มากยิ่งขึ้น

ดูเหมือน "ความเท่าเทียม กับ อิสรภาพ มักจะสวนทางกันอยู่เสมอ" เนื่องจากมนุษย์มีความทะเยอทะยานในการปีนบันใดสังคม ไม่เท่ากัน ดังนั้นแม้นมนุษย์จะมีอิสระในการใช้ชีวิตเพียงใดก็ตามจุดยืนในสังคมย่อมห่างกันตามปณิทานทางสังคมที่แตกต่างอยู่ดี

ขอบคุณครับ ผมพยายามแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอันเป็นสัจธรรมของมนุษย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท