คุยกันบนฐานปฏิบัติ


ผมเชื่อว่า วิธีนำเสนอเรื่องที่ซับซ้อน นำเสนอบนฐานปฏิบัติ ได้ผลดีต่อผู้ฟัง มากกว่านำเสนอ บนฐานทฤษฎี หรือบนฐานวิจัย เพราะจะทำให้ผู้เข้าฟัง เห็นลู่ทางนำไปใช้ในบริบทของตนมากกว่า เพราะได้ทั้งความรู้ปฏิบัติ (tacit knowledge) และความรู้ทฤษฎี (explicit knowledge)


ผมมีข้อสังเกตว่า ในการประชุมต่างๆ มักออกแบบให้มี "ผู้รู้" มาแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เมื่อผมถูกอุปโหลกให้เป็น "ผู้รู้" ไปพูด หรือไปเป็นประธานการประชุมในที่ต่างๆ โดยหวังว่าผมจะไป เปลี่ยนใจคนได้ และผมรู้ว่า ผมไม่มีฤทธิ์ถึงขนาดนั้น ผมจึงหาโอกาสเสนอให้เปลี่ยนวิธีออกแบบเวที

แทนที่จะคุยกันบนฐานทฤษฎี ผมเสนอให้เปลี่ยนไปคุยกันบนฐานปฏิบัติ ให้ผู้จัดการประชุม ไปหาเรื่องราวของความสำเร็จ หรือการดำเนินการตามแนวที่ต้องการ และเชิญแกนนำที่ดำเนินการกิจกรรมนั้น มาเล่าเรื่อง ว่าคิดอย่างไรจึงทำอย่างนั้น ใครบ้างมีส่วนร่วม ดำเนินการกันอย่างไร เห็นผลอะไร

อาจนำเสนอสองสามราย ในรูปแบบต่างๆ กัน หรืออาจทำเป็นวีซีดีมานำเสนอก็ได้ แล้ว "ผู้รู้" จึงร่วมกันตีความ ว่าทำไมจึงเกิดผล ผลที่เกิด และวิธีการที่ทำอธิบายได้ด้วยหลักการหรือทฤษฎีอะไร มีทางที่จะทำให้เกิดผลยิ่งกว่านั้นได้อย่างไร ทีมงานควรทำอะไรต่อ หน่วยงานหรือผู้บริหารควรสนับสนุน อย่างไร เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่อง

ผมเชื่อว่า วิธีนำเสนอเรื่องที่ซับซ้อน นำเสนอบนฐานปฏิบัติ ได้ผลดีต่อผู้ฟัง มากกว่านำเสนอ บนฐานทฤษฎี หรือบนฐานวิจัย เพราะจะทำให้ผู้เข้าฟัง เห็นลู่ทางนำไปใช้ในบริบทของตนมากกว่า เพราะได้ทั้งความรู้ปฏิบัติ (tacit knowledge) และความรู้ทฤษฎี (explicit knowledge)

ผมเรียกวิธีออกแบบการประชุมแบบนี้ว่า เป็นการประชุมแบบ KM-Based แต่จะเห็นว่า ผู้จัดต้องออกแรงทำการบ้านเพิ่มขึ้นมาก



วิจารณ์ พานิช

๑๓ ก.พ. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 587292เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2015 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2015 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท