วิทยุท้องถิ่น : การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนในจังหวัดชุมพร


การเข้าถึงและการรับรู้ข่าวสาร เป็นสิทธิอย่างหนึ่งของชุมชน ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 40

   สื่อมวลชน (Mass Media ) หมายถึงช่องทางที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมาก ที่มีความหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน สื่อดังกล่าวได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์  นิตยสาร   ฯลฯ

   ส่วนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน คือ ระบบการสื่อสารที่อาจจะใช้สื่อประเภทใดก็ได้ หากแต่ว่า ได้ดำเนินการไปตามหลักการที่ว่า เป็นการสื่อสารของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน

    การที่ยกคำสองคำดังกล่าวมาพูดเกริ่นนำ เพราะไม่ว่า ช่วงที่เกิดพายุ ซีต้าร์ ทำให้เกิดนำท่วมที่จังหวัดชุมพร หรือเกิดฝนตกหนักในระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา ทำให้หลายแห่งมีนำท่วม ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ก็ไม่ถึงกับสูญเสียมากมายดังเช่นที่อื่น ทั้งนี้เพราะปัยจัยอย่างหนึ่งที่ทุกคนต้องยอมรับ  เรามีสถานีวิทยุในท้องถิ่นทั้งของภาครัฐ และเอกชน  ที่คอยสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลข่าวสาร  ระวัง เตรียมพร้อม อยู่ตลอดเวลา  เจ้าหน้าที่ของสถานีวิทยุท้องถิ่น ทุกแห่ง อาทิ สถานีวิทยุกรมอุตุวิทยา หรือที่เรามักเรียก สอต. ชุมพร  สถานีวิทยุ อสมท.จังหวัดชุมพร  สถานีวิทยุ  วศป 1449 สถานีกองทัพภาคที่ 4  สถานีวิทยุราชดำริสัมพันธ์ สถานีวิทยุ วปถ. 15 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร พร้อมด้วยสถานีวิทยุชุมชน อีกหลายแห่ง ที่คอยดูแล เอาใจใส่แจ้งรายงานข่าวคราวแก่คนในชุมชน เป็นบรรยากาศที่เอื้ออาทร ของชาวชุมพร ผู้จัดรายการทำงานด้วยใจ ทำงานด้วยจิตสำนึก ผู้ฟังที่อยู่ทางบ้านก็คอยสื่อสารรายงานข่าวจากพื้นที่ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง ( Two-way Communication ) 

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  วิทยุท้องถิ่นของจังหวัดชุมพร ได้เปลี่ยนโฉมหน้าและบทบาทในการเข้ามาทำงานใกล้ชิดกับชุมชน  เพื่อก้าวไปสู่การเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชน  ให้การศึกษาแก่ชุมชน นอกเหนือจากความบันเทิง และการโฆษณา และสื่อเหล่านี้ คงเข้าถึง ทำให้ประชาชนต่นตัว และรับรู้ว่า การสื่อสารเป็นสิทธิอย่างหนึ่งของชุมชน ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 23540 มาตรา 40 ซึ่งระบุไว้ว่า  "คลื่นความถี่ ที่ใชในการส่งวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ  ..........การใช้ต้องคำนึง ถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น  ทั้งในด้านการศึกษาและวัฒนธรรม  ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น ๆ

     ท้ายที่สุดของคารวะขอบคุณ สื่อวิทยุ ในจังหวัดชุมพร ที่ยึดมั่นในบทบาทการสื่อสารและการพัฒนาชุมชน ในจังหวัดชุมพรและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญคงจะสมบูรณ์และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ถ้าสื่อท้องถิ่น และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  หันมาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ปรับเปลี่ยน บทบาทของประชาชน  จากเดิมเป็นเพียงผู้รับข้อมูลข่าวสาร  มาเป็นทั้งผู้ให้และ ผู้รับ  สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน  เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ ในเรื่อง การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (Participation Communication ) มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #เวทีแลกเปลี่ยน
หมายเลขบันทึก: 5870เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2005 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
   การกระจายอำนาจมาตรา 40 ทำไมวุ่นวาย ...ผลประโยชน์ของนายทุน เข้ามาบดบังสิทธิอันชอบธรรมของชาวบ้าน..วิทยุชุมชุน ที่เขาฝึกปฎิบัติเป็นศูนย์การเรียนรู้..มายาวนานโดยมีปรัชญา แนวคิด  ของชุมชน  เพื่อชุมชน  โดยชุมชน ต้องมาล่มสลายเพราะนายทุน............ กรมประชาสัมพันธ์ ควรช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ใช่ช่วยนายทุน  รัฐธรรมนูญ ฯ ใช้มา 8-9 ปี แล้ว แต่คนยังบิดเบิอน ...................................น่าสังเวช..ประเทศ....ไทย (เรื่อง มาตรา 40 )

พายุซีต้าเข้าชุม คือวันที่ 18-22 สิงหาคม 2540 ครับ ไม่ใช่เดือนตุลาคม 2540 กรุณาแก้ไขด้วย

พายุซีต้าเข้าชุม คือวันที่ 18-22 สิงหาคม 2540 ครับ ไม่ใช่เดือนตุลาคม 2540 กรุณาแก้ไขด้วย ขอคุณครับ

ต้องขออภัยนะครับ ผมขอแก้ไข ข้อความ เรื่องพายุซีต้าถล่มชุมพร ได้ได้ไปค้นเรื่องเก่า ๆ ขอแก้ไข เป็น พายุซีต้า ZITA ถล่มชุมพร ระหว่างวันที่ 22-31 สิงหาคม 2540 ส่วนวันที 18-22 สิงหาคม 2540 เป็นวันที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จ ฯ เยือน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 8 แห่งในจังหวัดชุมพร ขอยืนยันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท