Analogy of the Day "Psychological Force (แรงทางจิตวิทยา)"


จงคำนวณหาค่าของแรงจากประโยคข้างล่างนี้

"Do not give up, the beginning is always the hardest"

วิธีทำ

"Do not ‪#‎give‬ ‪#‎up‬, the beginning is always the ‪#‎hardest‬" => ‪#‎ลบเปิดหัว‬ ‪#‎ลบปิดท้าย‬

Do not give up อย่ายอมแพ้ => ยอมแพ้ => เป็นคำเชิงลบ [-]

the beginning is always the hardest การเริ่มต้นเป็นเรื่องยากที่สุดเสมอ => the hardest ยากที่สุด => เป็นคำเชิงลบ [-]

รูปประโยคนั้นมีความพยายามที่จะโน้มน้าว(แรงจูงใจ)ให้มองในแง่ดี ค่า operation ของสมการจึงเป็นค่า {+ }

การโน้มน้าว การจูงใจ เป็นคำที่อธิบายถึงการออกแรงแบบเบาๆเพื่อให้มีการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่ง(ท้อแท้)ไปยังอีกจุดหนึ่ง(มีกำลังใจ)

ดังนั้นเราจะได้ว่า [-] + [-] => ผลของการบวกสมการจึงได้ค่า ติดลบ (-)


คำถาม
สถาณการณ์แบบไหน, สภาพแวดล้อมใด, กลุ่มเป้าหมายหรือบุคคลลักษณะไหน ที่เหมาะกับ คำพูด ประโยค หรือสมการทางจิตวิทยาสมการนี้???
ถ้าเรามาโมดิฟายสักหน่อยให้เป็น "The beginning is a starting point of success"

จะเห็นว่า รูปประโยคจะมีผลลัพธ์ของแรงเป็นบวก

beginning (+) starting point (+) success (+) => [+] + [+] + [+]
_______________________
The Mua Theorem

Basic Principle of Language (The Analogy)

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิทยา#analogy
หมายเลขบันทึก: 586898เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับ

แต่ขอแสดงความเห็นต่างว่า

กับบางคน(แม้ตัวเราเอง) ในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องใช้ผลลัพธ์ของแรงเป็นลบ

ทั้งนี้เพื่อให้มีแรงกระตุ้นที่มากพอจะทำให้เกิดการตระหนักรู้ได้จริงๆ อาทิ

การสูบบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาจไม่แรงพอกับ ในบุหรี่มีสารก่อโรคมะเร็ง หัวใจ และโรคปอด

ครับ เข้าใจครับ

นั่นทำไม ในย่อหน้า "คำถาม" ถึงได้เปิดกว้างให้ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์

และค่า operation เช่น จูงใจ โน้มน้าว กระตุ้น

จะสังเกตเห็นว่า จูงใจและโน้มน้าว จะมีการเคลื่อนที่ที่ไม่แรง หรือ ความเร็วคงตัว (a=0) แต่การกระตุ้น เป็นการใส่ เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่ง ค่า operation จึงจะอยู่ในรูปของการ คูณหรือหาร

ดังนั้นในบางกรณีที่ ดูเหมือนเราใส่ แรงเป็นลบ แต่มันมีการคูณ (กระตุ้น) ดังนั้น ลบ x ลบ จึงมีผลเป็นบวกครับ

ในโพสต์นี้เป็น concept ของการเตรียมพร้อม หรือ ในระดับ prototype ก่อนที่เราจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย

ลบ บวก ลบ ยิ่งลบมากกว่า
ลบ คูน ลบ จะมีผลเป็นบวก แล้วเราจะคูณได้ยังไง
ผมมีความคิดว่าเวลาเราจะคูณ เราต้องใช้ความรู้สึกเพื่อให้มีความเร่ง
ตัวอย่าง
เลิกบุหรี่เพราะ มันเป็นอันตราย ถุงลมโป่งพอง มะเร็ง = เลิกบุหรี่(-) + เหตุผล(-) => (-)
อันนี้ผมลองแล้ว หลายรอบ คนที่สูบบุหรี่กว่าครึ่งก็ลองมาแล้ว ผลสรุปเลิกไม่ได้

แต่ถ้าเราไส่ความรู้สึกเข้าไป
เลิกบุหรี่เพราะ มันทำร้ายคนที่เรารัก คนรักเป็นอะไรไปเราจะเสียใจ = เลิกบุหรี่(-) คูณ ความรู้สึก(-) = (+)
และผมก็เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ

ใช่ครับ ตาม คห ที่สองก็กล่าวในลักษณะคล้ายๆกัน การหาบางสิ่งบางอย่างมาเป็นตัวเร่ง จะทำให้เกิด ค่า operation จาก + กลายเป็น x


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท