เรือนจำพลังงานกังหัน


เรือนจำพลังงานกังหัน ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการประหยัดพลังงาน (การใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือก) แนวคิดคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพลังงานที่สะอาด การประหยัดงบประมาณ และ เพื่อให้เรือนจำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ เรือนจำสีเขียว


เรือนจำพลังงานกังหันที่นำมาเสนอในวันนี้ คือ เรือนจำ Standford Hill (HM Prison Standford Hill) หรือ เรือนจำเกาะ Sheppey ตั้งอยู่ใกล้ทางภาคใต้ของประเทศอังกฤษ เป็นเรือนจำสำหรับใช้คุมขังนักโทษผู้ใหญ่ชาย ที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี มีนักโทษทั้งหมด 462 คน ( ณ - กรกฎาคม 2008 ) ขณะนี้เรือนจำฯ ได้เริ่มนำแนวคิดเรือนจำสีเขียว เพื่อการประหยัดพลังงาน และ เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมชุมชน มาใช้ในการดำเนินงานโดยการติดตั้งกังหันลมเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ได้พลังงานที่สะอาด ราคาถูก และ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษอย่างยั่งยืน


เรือนจำพลังงานกังหัน Standford Hill


แนวทางการดำเนินงาน เรือนจำ Standford Hill ได้ดำเนินการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ 2.3 MW จำนวน 2 ตัว สำหรับใช้เป็นพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน เมื่อ มิถุนายน 2011การติดตั้งแล้วเสร็จ และ เปิดดำเนินการเมื่อ - กุมภาพันธ์ 2013 เป็นการดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนและการให้ความร่วมมือระหว่างห้างหุ้นส่วนพัฒนาพลังงานหมุนเวียน (PFR) ภาคเอกชนซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานโครงการพลังงานทดแทนบนที่ดินของภาครัฐร่วมกับเรือนจำฯ ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงให้เรือนจำฯเป็นผู้จ่ายค่าเช่าจากร้อยละของเงินที่ได้จากค่าขายกระแสไฟฟ้า


การติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ 2.3 MW


ผลการดำเนินงาน สามารถช่วยประหยัดงบประมาณเรือนจำฯ จากการผลิตพลังงานสะอาดบนที่ดินสาธารณะ ทำให้เรือนจำฯ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยที่กังหันทั้ง 2 ตัว ที่ติดตั้ง ดังกล่าว มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวม 4.6 เมกะวัตต์ ซึ่งเรือนจำฯ จะได้ใช้กระแสไฟฟ้าโดยตรงจากกังหัน และ ยังเหลือเพียงพอสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนได้ถึง 2,257 หลัง รวมทั้งสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 4,300 ตันต่อปี


กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดสูง 121m ที่เรือนจำ Standford Hill


โดยสรุป

เรือนจำพลังงานกังหัน Standford Hill การดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการประหยัดพลังงาน (การใช้พลังงานทดแทน หรือ พลังงานทางเลือก) แนวคิดในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน และ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ( public–private partnership ) โดยภาครัฐหรือเรือนจำลงทุนออกที่ดิน เอกชนลงทุนด้วยเงิน เทคโนโลยีและการก่อสร้าง และ เรือนจำฯ เป็นผู้จ่ายค่าเช่าจากร้อยละของเงินที่ได้จากค่าขายกระแสไฟฟ้า ผลการดำเนินงาน เรือนจำฯ ได้ใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานกังหัน และ ยังเหลือเพียงพอสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนได้ถึง 2,257 หลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพลังงานที่สะอาด เพื่อการประหยัดงบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชน เพื่อการลดลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ มุ่งเป้าหมายไปสู่หรือเรือนจำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือเรือนจำสีเขียว ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเรือนจำพลังงานกังหัน เป็นนวัตกรรมสีเขียวเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ ประจำปี 2556 ที่น่าสนใจอีกนวัตกรรมหนึ่ง


....................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

วันที่ - เดือน ๒๕๕๘



อ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.guardian.co.uk/environment/2013/feb/15/windpower-renewableenergy




คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 586897เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณอาจารย์ทิมดาบมากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท