มาตรฐานเรือนจำสหประชาชาติ


เป็นเวลานานกว่า 50 ปี ที่สหประชาชาติ (United Nations) หรือ UN ได้มีการศึกษา วิจัย วิธีการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก ซึ่งต่อมาได้มีออกข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังสหประชาชาติ 1955 เป็นเครื่องมือทางกฎหมายสำหรับใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก................................

มาตรฐานเรือนจำสหประชาชาติ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.unodc. org/ Newsletter/pt/perspectives/no02/page004a.html พบว่า เป็นเวลา นานกว่า 50 ปีที่ สหประชาชาติ (United Nations) หรือ UN ได้มีการศึกษา วิจัย วิธีการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก เพื่อให้ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับ จากประชาชน ซึ่งต่อมาได้มีออกข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังสหประชาชาติ1955 เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย สำหรับใช้ใน การบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของ การบังคับโทษจำคุก หลังจากนั้นสหประชาชาติยังได้กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรื่องต่าง เช่น การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การปูองกันเจ้าหน้าที่ในการใช้กำลังกับเหยื่อ การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งในทางปฏิบัติประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกได้อาศัย มาตรฐานขั้นต่ำเหล่านี้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายการบังคับโทษจำคุกของประเทศตนในการนี้ UN ยังได้มีการส่งเสริมและตรวจสอบการใช้มาตรฐานและบรรทัดฐานที่มีอยู่ ผ่านบริการกระบวนการให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค การฝึกอบรมสัมมนา และการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ UN ได้มีการ พัฒนาเครื่องมือและคู่มือเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ ได้ดำเนินงานตาม มาตรฐานและบรรทัดฐานของ สหประชาชาติ ในที่นี้จักได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระสำคัญของมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง สหประชาชาติ1955 ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำฯ ดังกล่าว ได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระสำคัญของมาตรฐานขั้นต่ำ สำหรับการปฏิบัติ ต่อผู้ต้องขัง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของหน่วยงาน บังคับโทษจำคุกในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของ UN ประกอบด้วยแนวคิดและ มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่สำคัญ ดังนี้


องค์การสหประชาชาติ


แนวคิดและบทบัญญัติทั่วไป

การลงโทษจำคุกหรือมาตรการที่คล้ายกัน มี วัตถุประสงค์และเหตุผลในการปกปูองสังคม ให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม ด้วยเหตุนี้ กรมราชทัณฑ์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังผ่าน การฝึกอบรม ความรู้ ทักษะ อาชีพ ในรูปแบบที่เหมาะสมทั้งความรู้สายสามัญ สายอาชีพ ธรรมศึกษา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องขังเกิดความเคารพกฎหมาย ช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ อย่างปกติสุขภายหลังพ้นโทษ

การแยกประเภทผู้ต้องขัง

ให้มีการแยกประเภทผู้ต้องขังระหว่างผู้ต้องขังวัยหนุ่ม ผู้ต้องขัง ผู้ใหญ่ ผู้ต้องขังหญิง ผู้ต้องขังชาย และแยกสถานที่ที่ใช้ในการการควบคุมเท่าที่เป็นไปได้

ห้องขัง

ห้องขังจะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการ เกี่ยวกับสุขภาพ มีการระบายอากาศ ความร้อน แสง และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยที่เหมาะสม

การศึกษาและการพักผ่อนหย่อนใจ

กรมราชทัณฑ์จะต้องจัดการศึกษาให้กับผู้ต้องขังทุกคน สำหรับผู้ต้องขังไม่รู้หนังสือและ ผู้ต้องขังวัยหนุ่มจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับเท่าที่เป็นไปได้ โดย การจัดการศึกษาให้เป็นไปตามระบบ การศึกษาของแต่ละประเทศเพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถดำเนินการการศึกษาต่อได้ต่อเนื่องภายหลังจากที่ถูกปล่อย ตัว นอกจากนี้จะต้องจัดให้มีกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ สันทะนาการ และศิลปวัฒนธรรม เช่น กีฬา ดนตรีและ งานอดิเรก อื่น ๆ ให้กับผู้ต้องขังทุกคน

บริการทางการแพทย์

กรมราชทัณฑ์จะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับจิตเวชอย่างน้อยหนึ่ง คนอยู่ในแต่ละหน่วยงาน สำหรับผู้ต้องขังป่วยจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อาจจัดให้มีการโอนไปรักษาตัว ยังโรงพยาบาล เอกชนตามความเหมาะสม สำหรับหน่วยงานที่มีผู้ต้อขังผู้หญิงที่จะต้องจัดให้มีสถานที่สำรอง พิเศษสำหรับการดูแลรักษาก่อนและหลังคลอด

การแยกผู้ต้องขังรายกลุ่มและรายบุคคล

กรมราชทัณฑ์จะต้องจัดให้มีการแยกผู้ต้องขังออกเป็นรายกลุ่ม และรายบุคคล เพื่อ ความสะดวกในการแก้ไขฟื้นฟู และเพื่อขจัดการสร้างอิทธิพลที่ไม่ดีในหมู่ผู้ต้องขังคนอื่น ๆ

การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีปัญหาเฉพาะทาง

ผู้ต้องขังที่มีประวัติการกระทำผิดที่มีสาเหตุมาจากปัญหาทางอารมณ์ ทางสังคม ทางอาญา และความสามารถทางร่างกายและจิตใจ จะต้องนำมาพิจารณาประกอบการรักษาเพื่อช่วยกระตุ้นให้พวก ผู้ต้องขังเกิดความเคารพตัวเองและพัฒนาความรู้สึกของความรับผิดชอบต่อสังคม

การทำงาน

งานที่ให้ผู้ต้องขังทำต้องเป็นงานที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน ชั่วโมงการทำงาน ประจำวัน สัปดาห์ และวันหยุดให้ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบในท้องถิ่น และให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการศึกษาและ กิจกรรมอื่น ๆ การท างานจะต้องได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียมกันและให้ผู้ต้องขังมีสิทธิ์ใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ของรายได้ตามที่ได้รับการอนุมัติรวมตลอดถึงการส่งเงินกลับบ้าน ด้านการฝึกอบรมวิชาชีพควรเป็นวิชาชีพที่ทำ ให้ผู้ต้องขังมีรายได้โดยเฉพาะผู้ต้องขังวัยหนุ่ม

การจำคุกทางเลือก

เนื่องจากข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการปูองกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทาง อาญาได้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบทางเลือกในการจำคุก มีการวางแผนและการใช้มาตรการไม่ควบคุมตัว เหมาะสม เช่น การบริการสังคม การจำคุกที่บ้าน และมาตรการไม่ควบคุมตัวอื่น ๆ จะสามารถช่วยลดปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชน ช่วยประหยัดทรัพยากร และโดยทั่วไปจะเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการกระทำผิด ซ้ำมากกว่าการจำคุก การช่วยให้หน่วยงานของรัฐปรับบทลงโทษทางอาญาของผู้กระทำความผิดแต่ละคน ในลักษณะที่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดอีกทางเลือกหนึ่ง เช่น การใช้โปรแกรมยุติธรรมบูรณะแก่เหยื่อ ผู้กระทำความผิด และคนอื่นๆ ในการช่วยเหลือและบริการชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเจรจา ต่อรอง กระบวนการที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์และความสมานฉันท์รวมตลอดถึงการเยียวยา และการชดใช้ ค่าเสียหาย เป็นต้น

โดยสรุป

มาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ 1955 การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การปูองกันเจ้าหน้าที่ในการใช้กำลังกับเหยื่อ การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายสำหรับใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการ บังคับโทษจำคุก ที่ UN ได้ใช้เวลาในการศึกษา วิจัยเป็นเวลา นานกว่า 50 ปี ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกได้อาศัยมาตรฐานขั้นต่ำเหล่านี้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย การบังคับโทษจำคุกในประเทศของตน ดังนั้น กรณีของประเทศไทยในฐานะ ที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ถ้าได้มีการดำเนินการตามแนวทางที่สหประชาชาติกำหนด ดังกล่าว ประเทศไทยก็จะได้ชื่อว่าได้มีการปฏิบัติ ต่อผู้ต้องขังตามมาตรฐานสากลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายใน การบริหารจัดการ / เพื่อให้ประชาชน ยอมรับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก


..................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ วันที่ - เดือน - ๒๕๕๘



คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 586856เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท