ต้อนรับผู้บริหารใหม่..ป้ายแดง


หลายคนเป็นห่วง แต่ผมเฉยๆ เกี่ยวกับผู่้บริหารรุ่นใหม่ ได้รับปริญญาโท มาแบบง่ายๆไม่ต้องทำวิจัย เวลาบริหารโรงเรียน ก็จะทำอะไรแบบมักง่าย สบายๆ ชอบแต่เป็นนายคน มีแต่บ่นกับสั่งไปวันๆ สื่อสารกับครูไม่รู้เรื่อง อ่านและเขียนไม่แตกฉาน ผมกลับคิดว่า..คนพัฒนาได้ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์คน แต่อาจต้องใช้เวลา

การพูดจากประสบการณ์..อาจจะดูไร้น้ำหนัก เหตุและผลที่ไม่ผ่านกระบวนการวิจัย อาจดูเลื่อนลอย การไม่มีเอกสารและภาพถ่ายที่มากพอ จึงดูไม่น่าเชื่อถือ แต่ผมก็ใช้บันทึกนี้ บอกเล่าเรื่องราว แง่คิดมุมมอง และใช้เป็นเวทีสื่อสารแลกเปลี่ยน จะเร้าพลังให้เกิดการขับเคลื่อนหรือพัฒนาสานต่องานการศึกษาแค่ไหน ผมเองก็ไม่แน่ใจ.........

และไม่มีเจตนาสร้างภาพลักษณ์ โรงเรียนขนาดเล็ก ให้ดูเกินจริง แต่สิ่งที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ข้อมูลก็คือ มีโรงเรียนเล็กราว ๗๐% ที่กำลังรอ..ผู้บริหารใหม่ป้ายแดง ที่ผ่านการสอบคัดเลือกไปสดๆร้อนๆ รอฟังผลว่าใครจะผ่านเกณฑ์และขึ้นบัญชี

ผมมีโอกาสประเมินผลงานผู้สมัครสอบตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นครูสายผู้สอนอายุค่อนข้างน้อย ไฟแรงทีเดียว สังเกตจากแฟ้มสะสมงาน พบว่า ทุกคนมีความรู้ความสามารถ และรักความก้าวหน้า

ถ้ามาจากครูโรงเรียนเล็กๆ เชื่อมั่นได้ระดับหนึ่งว่า..รู้ปัญหา และแก้ปัญหามาแล้วด้วยซ้ำ อาทิ ครูไม่ครบชั้น ทำงานหลายหน้าที่ มีประชุมอบรมสัมมนาบ่อย เด็กมีน้อย..แต่อ่านหนังสือไม่คล่อง ต้องถูกทดลองด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ และผู้บริหารย้ายไปแล้ว ต้องรอนาน.............

จริงๆจะว่าไปแล้ว ทั้งหมดที่กล่าวมา บุคลากรที่อยู่ในสถานการณ์ อาจมองดูว่าไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นความชาชิน ที่ต้องอยู่ ต้องเป็น ต้องไป และใส่ใจไปตามบริบท เพื่อความอยู่รอดในแต่ละปีการศึกษา

ข้อค้นพบบ่อยๆ ก็คือผู้บริหารใหม่..มักไม่อดทนต่อแรงเสียดทาน ที่เรียกว่า อุปสรรคปัญหาและความขาดแคลน ตลอดจนความยากลำบากนานัปการ ที่ไม่มีในตำรา หรือมีตำรา แต่ในตำราไม่เคยบอกเลยว่า พบแล้วจะให้ไปต่ออย่างไร.... นอกจากทำใจ ปรับใจให้อดทนและต่อสู้กับปัญหาใหม่ๆให้จงได้

เมื่อผู้บริหารใหม่ ป้ายแดง ไม่มีโรงเรียนขนาดเล็กที่สมบูรณ์แบบให้เลือก ก็เป็นหน้าที่ของต้นสังกัดเอง ที่จะต้องเน้นให้หน่วยฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษา ให้เข้าใจงานตลอดแนว นอกเหนือจากงานหลัก ๔ งานแล้ว ยังมีงานประกันคุณภาพ งานบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยการระดมทรัพยากรจากชุมชน การสื่อสารกับบุคลากรและองค์กรภายนอก การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ผู้บริหาร..มาจากครู..ตอนสอบก็รู้ทุกอย่าง แต่พอเข้าสู่รั้วโรงเรียน อาจต้องทำทุกอย่าง รู้และเข้าใจ เพื่อการนิเทศกำกับติดตาม และอาจต้องลงมาช่วยครูสอนประจำชั้นด้วยซ้ำ ดังนั้น ต้นสังกัดต้องปฐมนิเทศผู้บริหารเพื่อจุดประกาย ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น

หลายคนเป็นห่วง แต่ผมเฉยๆ เกี่ยวกับผู่้บริหารรุ่นใหม่ ได้รับปริญญาโท มาแบบง่ายๆไม่ต้องทำวิจัย เวลาบริหารโรงเรียน ก็จะทำอะไรแบบมักง่าย สบายๆ ชอบแต่เป็นนายคน มีแต่บ่นกับสั่งไปวันๆ สื่อสารกับครูไม่รู้เรื่อง อ่านและเขียนไม่แตกฉาน ผมกลับคิดว่า..คนพัฒนาได้ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์คน แต่อาจต้องใช้เวลา

ข้อสำคัญ..เรียนรู้และพัฒนา ยังดีกว่า ไม่คิดปรับตัวปรับใจ ไม่คิดจะพัฒนา รอให้ถึงเวลาเขียนย้าย เพื่อการจากไปสู่โรงเรียนที่ดีกว่า เหมือนที่เคยเป็นกันมา หากเป็นเช่นนี้การปฏิรูปการศึกษานอกจากจะก้าวไปได้ช้าแล้ว ยังจะถอยหลังลงคลองด้วยซ้ำ...เหตุและผลจะเกิดในโรงเรียนขนาดเล็กนี่แหละ ลองติดตามดูนะครับ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

</span></strong>

หมายเลขบันทึก: 586171เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2015 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2015 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีดอกไม้มาฝาก..มีรักมามอบให้เป็นกำลังใจ..เจ้าค่ะ..

มีหนึ่งคำถาม.....( แต่ไม่คาดหวังคำตอบนะ) ....คือ

ทำไม....ครูผู้สอน....จึงต้องการสอบเป็นผู้บริหาร

ขอบคุณครับ

ทำไม..ครูผู้สอน..จึงต้องการสอบเป็นผู้บริหาร

ผมขอตอบในบันทึกต่อไปนะ

</span></strong></span>

ผักนักเรียนงามดีนะครับ

อยากเห้นผู้บริหารที่ทำงานเชิงรุกแบบ ผอ ครับ

มีหนังสือสำรวจโลกวิทยาศาสตร์ 1 ลังที่พี่เปิ้นฝากมาให้ห้องสมุดโรงเรียน ผอ

ถ้ามีครูผ่านมาแถวนี้แจ้งด้วยครับ

จะฝากไปโรงเรียนเพื่อเข้าห้องสมุดใหม่เย้ๆๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท