การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 13


เทคนิคที่ 8 การทำให้เป็นไวยากรณ์ (Grammaring)

ครูสอนไวยากรณ์ แต่นักเรียนต้องการการกระทำให้เป็นไวยากรณ์ (grammaring) การกระทำให้เป็นไวยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการเข้าถึง และใช้เครื่องมือทางไวยากรณ์เพื่อสื่อความหมาย ดังที่ Thonbury (2001) ได้กล่าวไว้ว่า มีความแตกต่างระหว่างการทำไข่เจียว (omeletting) กับไข่เจียว เช่นเดียวกับย่อมมีความแตกต่างระหว่างการทำไวยากรณ์ (grammaring) กับ ไวยากรณ์ เราสามารถความคิดเดียวกันนี้ในงานของ Rutherford (1987) แต่เขาเรียกกระบวนการแห่งการใช้ประโยชน์จากไวยากรณ์ว่า grammarticization

เพื่อที่จะสาธิตถึงวิธีการอันหลากหลาย แต่ในที่นี้จะนำเสนอเพียงสังกัปสัก 1 อัน ผู้เรียนจะได้รับกลุ่มคำบุรพบทสัก 1 กลุ่ม และขอให้บ่งชี้วิธีการอันหลากหลาย ที่พวกเขาจะทำให้เป็นไวยากรณ์ขึ้นมาได้ เช่นในภาษาอังกฤษ หน้าที่ทางภาษาที่แสดงการคำตรงกันข้าม (contrast) ขึ้นมา และคำตรงกันข้ามนี้แสดงออกได้ในหลายวิธี

A. (but) B. (simple conjunction)

A. (between) B. (sentence connector)

A. (whereas) B. (subordinator)

การเน้นในที่นี้ก็คือการสร้างความรู้ที่เป็นกระบวนการ (procedural knowledge) โดยการทำให้ผู้เรียนอ่อนไหวต่อรูปแบบที่ให้มา และกระตุ้นให้ผู้เรียนเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดต่อบริบทในการใช้

ดังนั้นในการสนทนาที่เป็นไปโดยบังเอิญ คำว่า but จึงมีความเหมาะสม ในขณะที่การเขียนที่เป็นทางการ คำว่า whereas จึงมีความเหมาะสม

ภาระงานการกระทำให้เป็นไวยากรณ์ (grammaring task) ต้องการให้ผู้เรียนตัดสินใจว่าเครื่องมือทางไวยากรณ์แบบใด จึงมีความเหมาะสม ในการแสดงความหมายที่ตั้งใจเอาไว้ เช่น พวกนักเรียนจะต้องถามตนเองคำถามต่อไปนี้

1. ฉันควรใช้ active หรือ passive ดี

2. ฉันควรจะใช้กาลเวลาอะไรดี ถ้าเป็นกาลเวลานั้น อันไหน และทำไม

3. ฉันควรจะใช้ coordination หรือ subordination ดี

Thornbary (2001) เสนอกลุ่มของสื่อการสอนที่เป็นภาพกระดาษไว้ด้วย หลายอันของสื่อนี้เป็นกลุ่มแห่งคำ (lexical cluster) ที่ผู้เรียนจะต้องใส่ไวยากรณ์ลงไป เช่น

Boy blue suit Carlos

วิธีการที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งก็คือ The boy in the blue suit is Carlos.

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

หมายเลขบันทึก: 585990เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2015 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2015 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท