กิเลส ๓ ระดับ


กิเลสนั้นมีอยู่ ๓ ระดับ คือ ระดับหยาบ ระดับกลาง และระดับละเอียด ซึ่งอาจจะเคยได้ยินหรือรับทราบกันมาก่อนแล้ว

กิเลสหยาบ คือ การกระทำความผิด หรือกระทำความชั่วทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ (ซึ่งหากไม่ใช่ฆ่ามนุษย์หรือสัตว์สงวนก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย) ลักทรัพย์ (ทั้งผิดกฎหมายและศีลธรรม) และพฤติผิดในกาม (ผิดกฎหมายก็ได้ ไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ผิดศีลธรรมก็ได้ แต่เป็นกิเลส)

กิเลสระดับกลาง คือ นิวรณ์ ๕ ความพอใจในรูปรสกลิ่นเสียง (กามฉันทะ) โกรธแค้นพยาบาท (พยาบาท) ความง่วงหงาวหาวนอน (ถีนมีทธะ) ความฟุ้งซ่านลำคาญใจ (อุธัจจะกุกกุจจะ) และความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา)

กิเลสละเอียด คือ สังโยชน์ (ซึ่งมี ๑๐ อย่าง) และอนุสัย (ซึ่งมี ๗ อย่าง) คือ กิเลสที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์

สังโยชน์ คือ กิเลสหรือธรรมที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือเครื่องร้อยรัดจิตใจ ให้อยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่น

๒. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และกฎแห่งกรรม

๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่น การถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะ รวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย

๔. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ

๕. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ

๖. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน

๗. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย

๘. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน

๙. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน

๑ๆ. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

ส่วนอนุสัย ๗ อย่าง ก็เหมือนหรือซ้ำกับสังโยชน์ ๑๐ (ถือเป็นเรื่องเดียวกันที่แบ่งคนละแบบก็ได้) ได้แก่

๑. ทิฏฐิ การหลงในความเห็น (สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตตปรามาส)

๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๓. ปฏิฆะ ความไม่ยินดีพอใจ

๔. ราคะ ความยินดีพอใจในกาม (กามราคะ)

๕. ภวราคะ ความยึดติดในภพ ทั้ง รูปภพ อรูปภพ

๖. มานะ ความสำคัญว่าดีกว่า เสมอกัน เลวกว่า ในสิ่งทั้งปวง

๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง


ในทางทฤษฎีนั้น เราจะพูดถึงไตรสิกขากันว่า

ศีล ระงับหรือกำจัดกิเลสหยาบ

สมาธิ ระงับหรือกำจัดกิเลสระดับกลาง และ

ปัญญา ระงับหรือกำจัดกิเลสละเอียด ซึ่งไม่ผิด แต่จริงๆ แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคแปด ไม่ได้แยกกัน คือ ทางเส้นเดียวที่มีองค์ประกอบ ๓ อย่าง (ไตรสิกขา) หรือมีองค์ประกอบแปดอย่าง (มรรคมีองค์แปด)

จึงเกิดปัญหาหรือคำถามขึ้นว่าแล้วจะปฎิบัติอย่างไรให้ไตรสิกขาหรือมรรคมีองค์แปดถึงพร้อม หรืออยู่รวมกัน ไม่ได้แยกจากกัน ซึ่งจะขจัดขัดเกลากิเลสได้ในทุกๆ ระดับ

หมายเลขบันทึก: 585758เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this reminder:

"ศีล ระงับหรือกำจัดกิเลสหยาบ

สมาธิ ระงับหรือกำจัดกิเลสระดับกลาง และ

ปัญญา ระงับหรือกำจัดกิเลสละเอียด ซึ่งไม่ผิด แต่จริงๆ แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคแปด ไม่ได้แยกกัน คือ ทางเส้นเดียวที่มีองค์ประกอบ ๓ อย่าง (ไตรสิกขา) หรือมีองค์ประกอบแปดอย่าง (มรรคมีองค์แปด)

จึงเกิดปัญหาหรือคำถามขึ้นว่าแล้วจะปฎิบัติอย่างไรให้ไตรสิกขาหรือมรรคมี องค์แปดถึงพร้อม หรืออยู่รวมกัน ไม่ได้แยกจากกัน ซึ่งจะขจัดขัดเกลากิเลสได้ในทุกๆ ระดับ"

I think "siila" equates to "vinaya" (in the books of tipitaka), "samadhi" equates to "sutta" and "pa~n~aa" equates to "abhidhaama" - the 3 levels of teaching. ศีล sets conditions for learning; สมาธิ sets the frame (view point/port) in the right direction; ปัญญา is developed through the magga - the Noble Eightfold Paths (NEP/N8P). ปัญญา is not cleverness or smartness in our daily sense but the understanding of human reality (or dhammas as it arises, grows and falls away among levevant conditions).

Thank you again.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท