การบริหารความเสี่ยง


การบริหารความเสี่ยง

นักลงทุนสามารถบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนได้ด้วยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ ที่แตกต่างกัน การบริหารความเสี่ยงนักลงทุนสามารถทำได้หลายวิธี จะขึ้นอยู่กับลักษณะการลงทุน และความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ เช่น

การกระจายลงทุนในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน คือ การกระจายความเสี่ยงด้วยการกระจาย การลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรม หากอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเกิดมีปัญหา นักลงทุนจะไม่ได้ผลกระทบมากนัก เพราะยังเหลืออุตสาหกรรมอื่นที่ยังดีอยู่ ที่จะช่วยชดเชยในส่วนที่โดนกระทบ นักลงทุนควรวิเคราะห์ให้ดีว่า อุตสาหกรรมที่เราลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงไม่เป็นอุตสาหกรรม ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน หากมีความเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อเกิดเหตุผิดพลาดจะทำให้กระทบเงินลงทุนทั้งหมด

การกระจายลงทุนตามระดับความเสี่ยง คือ วิธีการกระจายการลงทุนตามระดับความเสี่ยงของตัวสินทรัพย์ ความเสี่ยงในที่นี้จะหมายถึง ความเสี่ยงจากการขาดทุนของเงินต้น นักลงทุนอาจกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน หรือคนละประเภท แต่การกระจายความเสี่ยงด้วยวิธีนี้ระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่จะลงทุน ควรสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถรับได้ และกรอบระยะเวลาลงทุนที่ได้วางเอาไว้

ความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง,กองทุนตลาดเงิน,ตราสารหนี้ภาครัฐบาลมนประเทศ

ความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ตราสารหนี้ภาคเอกชนในประเทศ,ตราสารทุนในประเทศ

ความเสี่ยงสูง ได้แก่ ตราสารอนุพันธ์

หมายเลขบันทึก: 585756เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท