เป็นวิทยากร วินัยเชิงบวก


ผมก็ได้แต่นั่งฟังครับ ไม่ได้โต้ตอบอะไร ก็ได้แต่คิดในใจว่า ยากเหมือนกันครับ กับการนำวินัยเชิงบวกมาใช้ในสังคมไทย
วันนี้ ช่วงเช้า ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร เรื่อง วินัยเชิงบวก จัดที่โรงแรมแทรเวิลลอดจ์ จันทบุรี



ผู้เข้าประชุม ประมาณ ๖๐ คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน และ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



บรรยากาศการประชุม ก็จะเป็นแบบเสวนาเสียมากกว่า เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แลแชร์ประสบการณ์กัน วิทยากรก็มีหลายท่านครับ ผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ผลัดกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


ผมเองก็ไม่ทราบว่า โชคดีหรือโชคร้าย ได้พูดเป็นคนแรกเลย ก็รู้สึกประหม่าและตื่นเต้นพอสมควร เพราะเป็นการติดต่อ ทางโทรศัพท์ ไม่รู้จักทั้งผู้จัด ทั้งวิทยากรร่วม และ ผู้เข้าประชุม (ในภาพ ผมนั่งตรงกลาง เสื่อสีม่วงอ่อน) แต่ก็แข็งใจพูดออกไป จากประสบการณ์จริงของตัวเองที่ผ่านมา ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติจริง เรื่องของ วินัยเชิงบวก ผมพูดว่า ผมนำวินัยเชิงบวกมาใช้ โดยอิงกับหลักการทางจิตวิทยาของมาสโลว์ เป็นความต้องการ ๕ ขั้น ที่ผมเคยท่องจำเพื่อนำไปสอบ ว่า "กายใจรับชมเอง" กาย คือ ความต้องการด้านร่างกาย ปัจจัยสี่ ใจ คือ ความปลอดภัยด้านจิตใจ รับ คือ การยอมรับให้มีตัวตน เอง คือ ให้เขาได้เป็นตัวของตัวเองบ้าง และ ก็นำมาเทียบเคียงกับ สมองสามชั้น คือ สมองสัตว์เลื้อยคลาน สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ สมองมนุษย์ พฤตืกรรมการตี การดุด่า การลงโทษ เป็นการพัฒนาเด็กได้แค่ขั้นที่ ๑ ของมาสโลว์ ไปไม่ถึงขั้นที่ ๒ ซึ่งจริงๆ แล้ว ต้องไปถึงขั้นที่ ๕ และ การดุด่า การตี สมองที่ทำงาน คือ สมองสัตว์เลื้อยคลาน ตามที่มีนักวิชาการได้วิพากษ์การศึกษาไทยเอาไว้ว่า พัฒนาได้แค่สมองสัตว์เลื้อยคลาน


ผมได้พูดถึงการทำงานของสมอง การดุด่า การตี สมองจะหลั่งสารเครียด ออกมา สารนี้ ยับยั้งการเรียนรู้ และพูดถึง การทำงานของสมองในจิตใต้สำนึก สมองนี้ จะจำเรื่องที่สะเทือนอารมณ์ โดยไม่คำนึงถึงถูกผิด ดังนั้น แม้นคุณครูจะร่ำเรียนมาขนาดไหนก็ตาม แต่คุณครูจะสอนโดยจดจำพฤติกรรมของครูตัวเอง ตอนที่ตัวเองเป็นเด็ก นั่นคือ เมื่อตอนเป็นเด็ก ครูลงโทษด้วยการตี ตัวเองก็จะจดจำวิธีการแบบนนั้นมาใช้บ้าง


ผมได้พูดถึงละครเรื่อง ทองเนื้อเก้า ตัวเด่น คือ วันเฉลิม ไม่ใช่ลำยอง ที่วันเฉลิม เป็นคนดีได้ ทั้งที่ ครอบครัวแตกแยก แม่ก็ทั้งเมาเหล้า ติดการพนััน มีสามีใหม่หลายคน พ่อก็มีเมียใหม่ แต่วันเฉลิมดีได้ เพราะได้ความรักจาก พระและโรงเรียน ดังนั้น เด็กที่มีปัญหา ครอบครัวแตกแยก เกเร ก้วร้าว เราสามารถช่วยเหลือเขาได้ ขอเพียงมีใครสักคนให้ความรักความอบอุ่นเขา นั่นก็คือ "ครู" ผมยกตัวอย่าง เรื่องจริง เด็กชายตอ๊ด ขึ้นมาชั้น ป.๖ ประวัติเด็ายตอ๊ด ตั้งแต่ ป.๑ ถึง ป.๕ ชอบแกล้งเพื่อน ไม่รับผืดชอบ ไม่มีน้ำใจ ไม่ทำงาน เพื่อนฝูงรังเกียจ คุณครูหลายท่านก็สายหน้าเอือมระอา ประทับตราว่าเป็นเด็กไม่มีเสน่ห์ พอขึ้นมาชั้น ป.๖ คุณครูก็แก้ปัญหาด้วยการไปเยี่ยมบ้านก่อน พบว่า อยู่กับย่า ปู่ก็ป่วยเป็นมะเร็ง ฐานะยากจน บ้านก็ทรดโทรม พ่อแม่ แยกไปมีคู่ใหม่กันหมด ตอ๊ด ถูกดุ ถูกด่า ถูกตี จากย่า ด้วยความที่ย่าโกรธ พอและแม่ ที่ทิ้งลูกไป คุณครูเห็นสภาพครอบครัวก็เข้าใจ แล้วสังเกตว่าตอ๊ดเก่งอะไร ปรากฏว่า ตอ๊ดเก่งกีฬา เก่งปิงปอง มีการสอบปิงปอง นักเรียนหญิงคนหนึ่ง เรียนเก่ง แต่สอบเสิร์พปิงปอง ไม่ผ่าน คุณครูบอกตอ๊ด ให้ช่วยนักเรียนหญิงคนนี้ ช่วยสอนให้เสิร์พให้ผ่าน ปรากฏว่า ตอ๊ด เอาจริงเอาจังมาก สอนนักเรียนหญิงจนสอบผ่าน คุณครูก็นำมาชมในห้องเรียน มอบหน้าที่ให้ตอ๊ด เป็นคนรวบรวมงานมาส่ง ใครไม่ส่งตอ๊ด ต้องตามทวง ปรากฏว้า ตอ๊ด ทำหน้าที่ได้อย่างดี และพฤติกรรมของตอ๊ดก็เปลี่ยนไป รับผิดชอบทำงาน งานไม่ค้าง เลิกแกล้งเพื่อน ช่วงว่าง ตอ๊ด จะเก็บใบไม้ที่หล่นในสระสวยงาม โดยที่ครูไม่ได้ใช้ มีวันหนึ่ง งานออกค่าย คุณครูถามว่า ครูขอจิตอาสา ๕ คน มาช่วยงานในค่าย ปรากฏว่า ตอ๊ด ลุกขึ้นยืนเป็นคนแรก ผมก็บอกว่า นี่ละ เด็กชายตอ๊ด ได้พัฒนามาถึงขั้นที่ ๕ ของมาสโลว์ แล้ว ตอนนี้ ตอ๊ด เป็นขวัญใจของห้อง

</span>

</span>



ช่วงพักกลางวัน ผมได้รับประมานอาหารร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มหนึ่ง ประมาณ หกเจ็ดคน แทบทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วินัยเชิงบวก ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับสังคมไทย เป็นของฝรั่ง วัฒนธรรมไทย เหมาะกับการตี เด็ก อย่างไรก็ต้องตี ไม่ตีจะเอาไม่อยู่ เราตี เราก็ตีไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล คนที่ถูกตี ได้ดีทุกคน ส่วนคนที่ไม่ถูกตี ใช้วินัยเชิงบวก พวกนี้ นิสียเสียหมด เรียนไม่จบ เกเร

ผมก็ได้แต่นั่งฟังครับ ไม่ได้โต้ตอบอะไร ก็ได้แต่คิดในใจว่า ยากเหมือนกันครับ กับการนำวินัยเชิงบวกมาใช้ในสังคมไทย

คำสำคัญ (Tags): #วินัยเชิงบวก
หมายเลขบันทึก: 585750เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาแบ่งปันนะคะ

สิ่งหนึ่งที่ยากในงานของครู คือ การเปลี่ยนความคิดของเพื่อนร่วมวิชาชีพ

เป็นกำลังใจให้อาจารย์นะคะ ดิฉันจะนำวินัยเชิงบวกไปปรับใช้ให้เหมาะสมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

-สวัสดีครับอาจารย์ฺ

-เป็นการแลกเปลี่่ยนที่ได้"แลกเปลี่ยน"จริงๆ นะครับ

-วินัยเชิงบวก...

-ขอบคุณครับ

วินัยเชิงบวกไม่ยาก

แต่เปลี่ยนเจตคติผู้อื่น

ยากครับ

ต้องใช้เวลานานมากๆๆ

ท่าน อาจารย์ จิตศิริน ครับ ขอบคุณมากครับที่มาให้กำลังใจ ยากจริงๆ ครับ กับการนำวินัยเชิงบวกมาใช้ในสังคมไทย

ขอบคุณครับ คุณเพชรน้ำหนึ่ง เข้ามาทักทาย

ใช่ครับ ท่าน อ.ขจิต วินัยเชิงบวกไม่ยาก แต่เปลี่ยนทัศนคตินี่ ยากมากๆ ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท