กิเลสซ้อนกิเลส


ปัญหาของมนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่ใช่ว่าไม่รู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี

แต่บ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่รู้ว่าดี ก็ไม่สามารถจะกระทำได้

หรือรู้ว่าไม่ดี ก็ไม่สามารถจะหักห้ามใจที่จะไม่กระทำได้

บ่อยครั้งที่มีความคิด หรือได้ยินได้ฟังเรื่องที่ดีๆ หรือเรื่องราวชีวิตของคนดีๆ ก็เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ หรือเกิดแรงบันดาลใจ (inspiration) อยากจะกระทำความดีนั้น หรืออยากทำตาม แต่ไม่นาน ก็กลับไปทำสิ่งต่างๆ เหมือนเดิม ตามความเคยชิน นิสัย หรือสิ่งที่ลึกไปกว่านิสัยไปอีก ที่เรียกว่าสันดาน (คำว่าสันดาน ในภาษาของคนทั่วไป อาจจะฟังดูหยาบ แต่ในบางวงการ เช่น วงการของนักกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นหยาบ อย่างคำว่าผู้สืบสันดาน เป็นต้น)

สิ่งที่อยู่ในจิตส่วนลึกของมนุษย์ กำหนดความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของมนุษย์ และความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของมนุษย์ ก็เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางกายวาจาใจของมนุษย์อีกทีหนึ่ง

การอธิบายเรื่องกิเลสซ้อนกิเลส แบบง่ายๆ ก็คือ มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดและความพึงพอใจในการทำตามกิเลสของตน ไม่ว่าผิดหรือไม่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรมหรือไม่ การกระทำตามกิเลส ส่วนใหญ่มิใช่สิ่งที่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรมที่มนุษย์ตกลงกัน กำหนดหรือบัญญัติขึ้น แต่อย่างใด

นั่นคือกิเลสนั้นมีระดับ กิเลสระดับลึกเป็นตัวกำหนด และบังคับควบคุมให้มนุษย์กระทำตามกิเลสระดับตื้นอีกทีหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 585757เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท