ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ทำหน้าที่โค้ช.



วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ผมไปประชุมคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ ในการประชุมมีการรายงานผลการดำเนินการ โครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Project for Change) ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งมีเป้าหมาย ๖ ประการคือ

  • ๑.เป้าหมายการจัดการศึกษา
  • ๒.หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
  • ๓.การพัฒนาครู
  • ๔.โครงสร้างการจัดการเรียนการสอน
  • ๕.สภาพแวดล้อม
  • ๖.การวัดและประเมินผล

ตามเอกสารประกอบการประชุมซึ่งอ่านได้ ที่นี่

โปรดสังเกตว่า การพัฒนาครูเน้นการใช้ AAR ซึ่งก็คือ reflection หรือโยนิโสมนสิการ สิ่งที่ครูพบเห็นในห้องเรียนของตน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ทำหน้าที่โค้ช

ซึ่งหมายความว่า ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย" ต่อการเรียนรู้ของครู ที่เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ให้ครูได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ

ผู้บริหารไม่ได้ทำหน้าที่หลักด้านการควบคุมสั่งการ แต่ทำหน้าที่หลักด้านการเอื้ออำนวย ให้เกิดการเรียนรู้ของครู ที่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ

นักเรียนชอบการเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนนี้ ดูได้จากสไลด์ Ppt ในภาพประกอบ

โรงเรียนในประเทศฟินแลนด์ ก็ใช้วิธีนี้ คือครูใหญ่ทำหน้าที่เป็นโค้ชของการเรียนรู้ของครู เป็นหน้าที่หลัก นักเรียนเรียนตั้งแต่ ๘.๓๐ - ๑๔.๓๐ น. หลังจากนั้น เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เป็นเวลาเรียนของครู ครูเรียนทุกวัน จากห้องเรียนของศิษย์ จากการสังเกตพฤติกรรมของศิษย์ แล้วเอามา ลปรร. กันในช่วงเวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยมีครูใหญ่ทำหน้าที่โค้ช

นี่คือ PLC (Professional Learning Community) ที่ผมเคยบันทึกไว้ในชุด บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ ที่นี่


นักเรียนชอบวิธีเรียนแบบใหม่

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ย. ๕๗ เพิ่มเติม ๒๒ ธ.ค. ๕๗


หมายเลขบันทึก: 583906เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2015 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2015 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท