อดีตอุดมศึกษาล้มเหลวจริงหรือ


ปอมท. จัดการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี ๒๕๕๗ อดีต ปัจจุบัน อนาคตสร้างคน สร้างชาติ ภายใต้การปฏิรูปการศึกษา"ที่โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และเชิญผมไปร่วมเสวนาเรื่อง อดีตอุดมศึกษาล้มเหลวจริงหรือ ร่วมกับ ศ . ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน และ อ. ดร. ธนิตสรณ์ จิระพรชัยดำเนินการเสวนาโดย รศ. ดร. ชัยวุฒิ ฉัตรอุทัย

จึงนำ abstract คำอภิปรายของผมมา ลปรร.


อดีตอุดมศึกษาล้มเหลวจริงหรือ[*]

วิจารณ์ พานิช

..............

อุดมศึกษาไทยประสบทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลว แต่ต่างด้าน และต่างสถาบัน ส่วนที่ประสบความสำเร็จคือการทำให้อุดมศึกษาไทยอยู่ในสภาพที่เปิดกว้าง เป็นอุดมศึกษาสำหรับคนทุกคน ไม่ใช่อุดมศึกษาสำหรับคนเรียนเก่งเป็นเลิศเท่านั้น อย่างในอดีต เวลานี้จำนวนที่เรียนระดับอุดมศึกษา มีมากกว่าจำนวนผู้ต้องการเข้าเรียน

ส่วนที่ประสบความสำเร็จอีกอย่างหนึ่งคือศักยภาพของการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มี มาตรฐานสากล โดยที่เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เรายังไม่มีศักยภาพนี้

ส่วนที่ประสบความสำเร็จที่น่าภูมิใจ แต่ผู้คนมักไม่ตระหนักคือ เรามีมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับว่าติดอันดับโลกมหาวิทยาลัยไทยเหล่านี้ คุณภาพดีกว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดังตัวอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 257 ของโลกและอันดับที่ 49 ของเอเซีย ใน QS Ranking 2014/15 หากคิดเฉพาะสาขา Science and Medicine อันดับที่ 117 ของโลก

ใน QS ranking 2014/15 นี้ จุฬามาเป็นอันดับ ๑ ของไทย เป็นที่ 243 ของโลกและที่ 45 ของเอเซีย มหาวิทยาลัยไทยอื่นๆ ที่ติดอันดับเอเซีย / โลก ได้แก่ มช. (104 / 501-550)มก. (135 / 651-700) และ มธ. (150 / 601-650)

หากตรวจสอบแยกออกไปเป็นรายสาขา จะมีบางสาขาที่บางสถาบันของไทยติดอันดับสูงมากเช่น ใน QS Ranking 2012สาขา Agriculture & Forestry มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ติดอันดับที่ ๔๘ สาขา Pharmacy & Pharmacology มหาวิทยาลัยมหิดลติดอันดับที่ ๔๙ สาขา Chemical Engineering จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับที่ ๕๑ - ๑๐๐

ใน URAP 2015-2015 (University Ranking by Academic Performance) ที่เพิ่งประกาศเมื่อ ๑๒ พ.ย.ใน ๒,๐๐๐ อันดับแรกของมหาวิทยาลัยในโลกมีมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับถึง ๑๗ แห่ง ได้แก่ มหิดล จุฬามช. มข.วพม.,มอ., มก., มจธ.,มธ.,มทส., มจล., AIT,มน.,มศว., มฟล.,มมส.,มศก.

ส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จคือเรื่องมาตรฐานคุณภาพยังมีบัณฑิตที่ไม่ได้คุณภาพจำนวนมากและคำว่าคุณภาพที่ยึดถือกัน ก็ยังไม่เหมาะสม ไม่มองสมรรถนะที่ครบถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะด้าน คุณลักษณะ (character) ของความเป็นมนุษย์ ความเป็นคนดี และสมรรถนะของความเป็นคนสู้งาน หรืออาจกล่าวรวมๆ ว่า ยังไม่เข้มแข็งในด้าน ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ และมีตัวเลขบอกว่าบัณฑิตปริญญาตรี ที่ได้งานใน ๑ ปี มีเพียง ๑ ใน ๓

ส่วนที่ท้าทายมากคือ อุดมศึกษาจะต้องเข้าไปมีส่วนสร้างสรรค์และพัฒนาส่วนต่างๆ ของชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในลักษณะของ พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม" (University – Social Engagement) โดยการทำงานเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นผู้นำสังคมในด้านคุณธรรมจริยธรรม

……………………………

ในตอนท้ายของการอภิปราย ผมได้เสนอต่อที่ประชุมว่า หัวใจสำคัญคือการลงมือปฏิบัติ ไม่ใช้มัวเสียเวลาพูดกัน หากจะให้อุดมศึกษาประสบความสำเร็จในการเป็นภาคีพัฒนาบ้านเมือง พัฒนาสังคม พัฒนาชุมชน ท่านที่ร่วมประชุมต้องกลับไปดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปการทำหน้าที่อาจารย์ เปลี่ยนไปทำหน้าที่ครูฝึก ไม่ใช่ครูสอนแบบถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป

วิจารณ์ พานิช

๒๓ พ.. ๕๗



[*] บทคัดย่อ สำหรับการสานเสวนา เรื่อง อดีตอุดมศึกษาล้มเหลวจริงหรือ" ในการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๗ ของ ปอมท.เรื่อง อุดมศึกษาสร้างคน สร้างชาติ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ภายใต้การปฏิรูปการศึกษา " ๒๐ - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ณ โรงแรมอมารี ดอนเมืองเสวนาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗เวลา ๑๐.๑๕ - ๑๑.๓๐ น.

หมายเลขบันทึก: 583666เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2015 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท