วรรณกรรมอนุบาล ผลงานพี่สอนน้อง


ผมเชื่อว่า..หลักคิดแห่งความพอเพียง โดยไม่ต้องไปหาซื้อหนังสือสำหรับเด็กสำเร็จรูปที่มีราคาแพงมาก พี่เขียนเรื่อง น้องอ่านเรื่อง พี่สอนน้องอ่าน ความใกล้ชิด เรียนรู้จากง่ายไปหายาก จะเรียนรู้ได้ง่ายกว่า.....

การศึกษายุคนี้ ไม่เหมือนเมื่อ ๒๐ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาปฐมวัย ไม่ใช่เพียงแค่เล่น กินนมแล้วก็นอน การฝึกกล้ามเนื้อมืออย่างเดียวคงไม่พอ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ในท้อง สื่อสังคมในปัจจุบันมีหลากหลาย เด็กรับรู้ตั้งแต่ยังไม่เข้าโรงเรียน การสอนอ่าน..ให้เด็กปฐมวัย จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

ผมรู้สึกมั่นใจในเรื่องนี้ เมื่อ ผอ.เขตคนใหม่ ให้นโยบายที่โดนใจผม ตั้งแต่ข้อที่ ๑...ที่จะมุ่งพัฒนาเด็กอนุบาล ๒ ให้มีความพร้อมมากที่สุด คือ ให้ไปถึงขนาดอ่านได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึง ป.๑

อ่านได้..เมื่อเขามีความพร้อมที่จะอ่าน..อ่านได้ คือ อ่านคำพื้นฐานที่ระบุไว้ ๒๐๐ กว่าคำ ในระดับอนุบาล ๒

เมื่อศึกษานิเทศก์มานิเทศที่โรงเรียน ผมรายงานว่า เด็กอ่านได้จริงๆ เป็นไปตามนโยบายฯ ศึกษานิเทศก์จะเชื่อหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจ..แต่เมื่อเห็นลายมือแบบมีหัวตัวตรงของเด็กอนุบาล ๒ ถึงกับออกปากว่า นี่มันเด็กป.๒ - ป.๓ ชัดๆ

ครับ การเขียนพัฒนายากกว่า..ทำไมการอ่านจึงจะพัฒนาไม่ได้ ถ้าเรามีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งผมอยู่ระหว่างทดลองใช้ในภาคเรียนนี้ โดยใช้หนังสือทำมือ ฝีมือพี่ ป.๖ สร้างสรรค์วรรณกรรมอนุบาล

หลักคิด ให้พี่ ป.๖ แต่งประโยคง่ายๆก่อน ใช้คำพื้นฐานในแม่ ก.กา (คำที่ไม่มีตัวสะกด) บางประโยคอาจมีตัวสะกดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำพื้นฐานที่เด็กคุ้นเคย

ผมเชื่อว่า..หลักคิดแห่งความพอเพียง โดยไม่ต้องไปหาซื้อหนังสือสำหรับเด็กสำเร็จรูปที่มีราคาแพงมาก พี่เขียนเรื่อง น้องอ่านเรื่อง พี่สอนน้องอ่าน ความใกล้ชิด เรียนรู้จากง่ายไปหายาก จะเรียนรู้ได้ง่ายกว่า

เด็กจะเข้าใจเด็กด้วยกัน น้องจะซึมซับสำนวนภาษา ความคิดสร้างสรรค์ การวาดภาพระบายสีจากรุ่นพี่ เป็นทักษะที่เรียนรู้ได้ ผ่านตัวหนังสือและฉากที่พี่ปั้นแต่ง จากประโยคสู่เรื่องราว จากเรื่องใกล้ตัว ค่อยๆขยายไปสู่โลกที่กว้างขวางขึ้น

การอ่าน..เป็นทักษะภาษา ที่ต้องเรียนย้ำซ้ำทวน ผลงานวรรณกรรมของพี่ ที่น้องหยิบอ่านบ่อยๆ ดูและอ่านซ้ำๆ ย่อมจดจำฝังลึก แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในวัยประถมต้น โดยไม่ต้องรอให้ขึ้น ป.๑ ซึ่งอาจจะสายเกินไป

ครูและผู้ปกครอง..อย่าได้ปฏิเสธการอ่าน..ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย..อย่าคิดว่าเด็กจะเบื่อหน่ายเมื่อถึงวัยอันควร คิดแค่ว่า ฝึกให้เด็กอ่านเล่นๆไม่เห็นเป็นไร มากน้อยแค่ไหนไม่ใช่สาระสำคัญ มันอยู่ที่การเริ่มต้นให้สวยงามและประทับใจ อยู่ในความทรงจำตั้งแต่วัยนี้ ด้วยสื่อที่พี่หยิยยื่นให้

สำเร็จเป็นประการใด..แล้วผมจะนำมาเล่าให้ฟังครับ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗

</strong>

หมายเลขบันทึก: 583138เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2014 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2014 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แบบนี้.....พี่ทำ (เล่มเล็ก)



น้อง อ่าน (เล่า)



สิ่งดีดี ทั้งนั้นเลย นะคะ




ชื่นชมในสิ่งที่อาจารย์ทำนะครับ

เป็นกำลังใจครับ

เด็กๆยิ่งเยาว์วัย..เหมือน..ผ้าขาว..ซึมซับ..สกปรกง่าย..ป้อน..สอน..(ระวังไว้..ให้จงดี.)...อิอิ

แวะมาอวยพรปีใหม่..อโรคา..เจ้าค่ะ

เป็นกลยุทธที่สุดยอดมากค่ะ พี่ก็ได้เรียนรู้ น้องก็ได้ประโยชน์ และเราได้เห็นว่าผลงานที่ทำไม่ต้องไปหมกอยู่ที่ใดที่หนึ่งเหมือนงานต่างๆที่ครูให้นักเรียนทำ การเรียนรู้ที่จะทำแล้วได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อด้วยเป็นสิ่งที่เราคนไทยไม่ค่อยได้ตระหนักนะคะ แบบนี้ไม่เสียของเปล่าและเรียกว่าเป็นหนังสือหนึ่งเดียวในโลกทีเดียวเชียว คนทำก็อยู่ในวัยที่น่าจะเข้าใจคนอ่านมากกว่าเราๆที่เป็นผู้ใหญ่เสียด้วย ชอบนโยบายนี้มากค่ะ เชื่อว่ามีแต่ทางได้ไม่มีอะไรเสียเลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท