ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๑๕ : ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทศบาลบ้านวิทย์น้อย (๖) "แม่เหล็กสามารถขยายพันธุ์ได้หรือไม่?"


อ่านบันทึกที่ ๑ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๒ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๓ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๔ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๕ ที่นี่

ถ้ามีเด็กอนุบาลถามว่า "คุณครูขา...แม่เหล็กขยายพันธุ์ได้ไหมคะ" ....ท่านจะตอบอย่างไร .... ใช่ครับ วิธีที่ดีคือไม่ตอบ... แต่ "ชวน" ให้เด็กมาทดลองหาคำตอบกัน...

เราสามารถทำ "สารแม่เหล็ก" (ในอุณหภูมิห้อง มีเพียงสามธาตุคือ เหล็ก นิเกิล และโคบอลท์ ) กลายเป็น "แม่เหล็ก" ได้ ๒ วิธี ได้แก่ ๑) การเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก และ ๒) เหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าซึ่งจะได้แม่เหล็กที่เราเรียกว่า "แม่เหล็กไฟฟ้า"

วิธีแรกคือ ชวนให้เอาแท่งเหล็ก เช่น ตะปู มาถูกับแม่เหล็กถาวร (ถูไป-กลับในทิศทางตรง) แล้วนำไปทดลองดูดกับสารแม่เหล็กขนาดเล็กเช่น ตะปูเข็ม หรือลวดหนีบกระดาษ จะพบว่าแท่งกลายเป็นแม่เหล็ก

วิธีที่สองคือนำเอาขดลวดพันรอบๆ แท่งเหล็กหลายๆ รอบ แล้วต่อวงจรปล่อยกระแสไฟฟ้า ให้ไหลผ่านขดลวด แท่งเหล็กจะกลายเป็นแม่เหล็ก โดยจัดอุปกรณ์ดังรูป


จากเดิมที่แท่งเหล็กนั้นเป็นเพียงสารแม่เหล็ก ไม่ใช่แม่เหล็ก

หรืออาจเรียกว่า "ลูก" แต่เมื่อนำไปถูกับแม่เหล็กแล้ว "ลูก" กลายเป็น

"แม่เหล็ก" .... นี่อาจเรียกว่าขยายพันธ์ุได้หรือไม่?....


ผมคิดว่าเด็กๆ อาจจะไม่รู้จักการขยายพันธุ์ ดังนั้น ผมเสนอว่าควรที่จะบอกเด็กๆ ว่า ทั้งสองวิธีนี้ไม่ใช่การขยายพันธุ์ แม่เหล็กไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ แต่สามารถกลายเป็นแม่เหล็กได้เมื่อถูก "เหนี่ยวนำ" .... แบบนี้แม้เด็กจะจำไม่ได้ ... แต่ต่อไปเมื่อโตขึ้น อาจจะเรียนได้ไว เข้าใจได้ลึกครับ ...


สำคัญที่สุดคือ การสร้างแรงบันดาลใจและเจตคติในการเรียนรู้ให้กับเด็ก รองลงมาคือการออกแบบกระบวนการให้เด็กได้ฝึก "ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์" ในที่นี้คือ กระบวนการ ๖ ขั้น ของเทศบาลบ้านวิทย์น้อย .... ดังนั้น ท่านอาจารย์ต้องออกแบบกิจกรรมและทำตามขั้นตอนคล้ายๆ กับบันทึกที่ผ่านมานะครับ ....

หมายเลขบันทึก: 582322เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"สำคัญที่สุดคือ การสร้างแรงบันดาลใจและเจตคติในการเรียนรู้ให้กับเด็ก รองลงมาคือการออกแบบกระบวนการให้เด็กได้ฝึก "ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"

ชอบมากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท