ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๑๑ : ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทศบาลบ้านวิทย์น้อย (๒) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล


อ่านบันทึกที่ ๑ ที่นี่

ผมมีความเห็นว่าสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อปลูกฝัง "นักวิทย์น้อย" คือการสอนแบบเน้น "กระบวนการ" ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการคราวนี้ เราจึงเน้นเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล มากเป็นพิเศษ และพยายาม ย้ำ ซ้ำ ทวน ตลอดการฝึกอบรม

ก่อนที่จะลงมือ ปฏิบัติการบ้านวิทย์น้อย ผมบรรยายบอกครูเพื่อให้รู้ "เห็นกระบวนการ" ของงานด้านวิทยาศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ... (เชิญท่านทดลองอ่านให้ดี แล้วลองบอกว่า นักวิทย์เขาคิดอย่างไรบ้าง)

วงการศึกษาสื่อสารว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลองตรวจสอบสมมติฐาน และวิเคราะห์สรุปผล แต่สำหรับนักเรียนระดับอนุบาล โครงการบ้านวิทย์น้อย (ซึ่งรับการถ่ายทอดมาจากเยอรมัน) ใช้รูปแบบการสื่อสาร ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ตั้งคำถาม ๒)รวบรวมความคิดตั้งสมมติฐาน ๓)ค้นคว้าทดลอง ๔)สังเกตและบรรยายรายละเอียด ๕)บันทึกและแสดงผล สุดท้าย ๖)อภิปรายและสรุปผล (ดังรูป)

(หมายเหตุ : ผมนำมาปรับปรุงนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายขึ้น)

กระบวน การ ๖ ขั้นนี้ คือเครื่องมือของครู ที่จะจัดการเรียนรู้ระดับอนุบาล หลักสำคัญคือ เน้นที่ความสนุก ท้าทาย และทำให้ง่ายขึ้นจากกระบวนการปกติ โดยเน้นไปที่ "ทักษะสังเกต" "การตั้งคำถาม" "ทักษะการคิด" และ "ทักษะการสื่อสาร" อธิบายรายละเอียด

ขอเสนอวิธีการสื่อ สารเพื่อปลูกฝังกระบวนการ ๖ ขั้นให้กับเด็กด้วยสัญลักษณ์เหมือนเป็นโลโก้ เมื่อยกสัญลักษณ์ขึ้นโชว์ เด็กจะพร้อมใจกันทำขั้นตอนนั้นๆ ทีละขั้น ดังนี้

๑) ตั้งคำถาม

แสดงสัญลักษณ์นี้เมื่อใด เด็กๆ จะช่วยกันตั้งคำถามตามที่ตนเองสงสัยอยากรู้ ... แน่นอนว่าครูต้องนำเข้าสู่บทเรียนให้เกิดแรงบันดาลใจพอสมควรก่อน

๒) รวบรวมความคิดและตั้งสมมติฐาน

ขั้นตอนนี้ต้องไม่มีผิด ไม่มีถูก คือครูไม่ตัดสินว่า ความคิดของเด็กคนได้ผิดหรือถูก วิธีที่ดีคือให้นักเรียนวาดรูปคำตอบของตนเอง ความคิดของตนเอง และนำไปติดไว้ในที่ๆ เขาสามารถเป็นคนติดเอง และเพื่อนๆ และครูมองเห็นได้ชัด

๓) ค้นคว้า ทดลอง

ส่วนนี้เบื้องต้น ครูอาจต้อง "ทำให้ดู" และ "พาทำ" โดยเน้นไปที่ "ความสนุก" และทุกคนได้ลงมือทำ ต่อไป ก่อนที่จะ "ชวนทำ" เมื่อเด็กจำกระบวนการได้ และสามารถคิดได้ด้วยตนเอง

๔) สังเกตและบรรยายรายละเอียด


มุ่งให้นักเรียนได้ "ฝึกสังเกต" และสื่อสารสิ่งที่ตนเองสังเกตได้ ด้วยการบรรยายเหตุการณ์ ทั้งทั้งฝึกคิด ฝึกพูด ฝึกฟัง ไปพร้อมๆ กัน

๕) การบันทึกและแสดงผลการทดลอง

ขั้นนี้มุ่งไปที่ฝึกทักษะการลงความเห็น (Infering Skill) การบันทึก อาจเป็นการเขียนหรือการวาด เป็นการฝึกสร้างสื่อหรือชิ้นงานเบื้องต้น ...

๖) การอภิปรายและสรุปผล

นำข้อมูลที่บันทึกได้ หรือสังเกตผลในขั้นตอนต่างๆ ข้างต้น มาอภิปรายว่า เน้นไปที่การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ฝึกการสังเกตว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล

สรุปอีกครั้งว่า กระบวนการ ๖ ขั้นนี้เป็นเพียงเครื่องมือของคุณครู แนะนำให้แบ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่

  • "ทำให้ดู" คือครูเป็นแบบอย่างเสมอ ในการ คิด ทำ นำเสนอสิ่งต่างๆ โดยใช้กระบวนการ ๖ ขั้นนี้
  • "พาทำ" หมายถึง ครูใช้กระบวนการ ๖ ขั้นนี้ไปพร้อมๆ กับนักเรียน แต่ครูเป็นเหมือน "วิทยากรกระบวนการ" นำกิจกรรม
  • "ชวนทำ" ซึ่งครูเน้นไปที่การ กระตุ้นแรงบันดาลใจ ตั้งคำถาม ชม เชียร์ และถ้าจำเป็นอาจเข้าไปช่วยบ้าง

บันทึกหน้ามาว่ากันเรื่องโครงงานต่างๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 581947เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2014 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2014 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท