สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 1


การฟังเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับบุคคลโดยทั่วไป เพราะว่าในการที่จะฟังการสนทนาของผู้อื่นนั้น จำเป็นที่จะต้องฟังคำสนทนา และเข้าใจในสิ่งนั้นเสมอ นอกจากนี้ ในวิชาภาษาอังกฤษ เราทุกคนต้องการที่จะฟังสิ่งที่ชาวต่างชาติพูดในความเร็วแบบปกติ (a natural speed) ที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องเข้าใจสิ่งที่ฟังนั้นด้วย คนที่เรียนภาษาอังกฤษทุกคนต้องการที่จะเข้าใจภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, และหรือประกาศต่างๆ โดยสรุปก็คือ จุดมุ่งหมายของทุกๆคนก็คือเข้าใจหรือสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในโลกที่เป็นจริง (real world)

อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ต้องการจะรู้เรื่องภาษาอังกฤษนั้น เรายอมรับว่าทักษะการฟังเป็นทักษะที่ท้าทายและมีความต้องการเป็นอย่างมาก อย่างน้อยคนไทยน่าจะเคยมีประสบการณ์กับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดทั้งหมด ความไม่สามารถในทักษะการฟังนี้เกิดขึ้นกับคนไทยตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย

ในบันทึกบทนี้ ผมจะได้เสนอสภาพทั่วไปในทักษะการฟัง, วิธีการสอนที่เน้นการฟัง, ทักษะและยุทธวิธีแบบต่างๆในทักษะการฟัง, ปัญหาและแนวทางแก้ไข

1. การสอนทักษะการฟังในวิชาภาษาอังกฤษ

1.1 การสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ

มีนักเรียนหลายคนโดยมากมักจะมีปัญหากับการฟังภาษาอังกฤษที่พูดโดยชาวต่างชาติ ถึงแม้ว่า

เด็กๆเหล่านั้นอาจทำทักษะอื่นๆได้ดี มีนักเรียนบางคนกล่าวว่า ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเข้าใจชาวต่างชาติ ที่สอนในโรงเรียน (เพราะชาวต่างชาตินั้นพูดช้า และชัดเจน) แต่พวกเขาก็ไม่สามารถฟังภาษาอังกฤษที่พูดด้วยน้ำเสียงปกติได้เลย ทำไมจึงเกิดปัญหาเหล่านี้ได้? มีอะไรที่ผิดในการสอนการฟัง?

ปัญหาแรกเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ และน่าจะมีความสำคัญมากๆ นั่นคือ ถึงแม้ว่าการฟังจะเป็นหนึ่งในสี่ทักษะที่สำคัญ แต่การสอนที่เพียงพอ และสื่อวัสดุต่างๆในชั้นเรียนยังมีไม่พอเพียง ในการฝึกภาษาในชั้นเรียน นักเรียนได้ฟังแค่ซีดี หรือเทป พร้อมกับมีบทให้อ่าน หรือหลังจากฝึกอ่านแล้ว จะมีคำถามที่เป็นตัวเลือก หรืออาจเป็นกึ่งอัตนัย (แต่มีตัวเลือกให้เลือกไปเติม) คำถามที่ถามจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับบทอ่านนั้น นอกจากนี้ในบางบทสอน คำตอบที่ถูกที่สุดจะได้รับการเน้นมากเสียจนกระบวนการฟังรูปแบบอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการถอดรหัสข้อมูลจะไม่ได้รับการเน้น เช่น ทักษะที่จำเป็นและการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปก็คือ นักเรียนจะเน้นแต่เพียงคำตอบที่ถูกที่สุด แต่ไม่ได้รับวิธีการที่จะฟังภาษาอังกฤษเลย

ปัญหาประการที่สอง ระยะเวลาที่สอนในการฟังมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบการพูด การอ่าน หรือแม้แต่การเขียน เช่น ในบางโรงเรียน การสอนฟังในแต่ละคาบไม่เกิน 5 นาที หรือในบางโรงเรียนจะไม่มีการสอนฟังเลย นักเรียนจะไม่คุ้นเคยในการฟังสื่อที่สมจริง (authentic material) กล่าวให้ง่ายก็คือ พวกนักเรียนจะคุ้นเคยกับการฟังที่ชัดเจนและช้าๆในชั้นเรียน และจะเข้าใจมันได้ แต่เด็กๆจะรู้สึกละอาย และสับสนเมื่อได้ฟังภาษาอังกฤษที่มีอยู่ในชีวิตจริง (real English) ที่พูดด้วยสำเนียงปกติ

ประการที่สาม นักเรียนจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษเพื่อการพูด และภาษาอังกฤษเพื่อการเขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการพูดจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะอย่าง เช่น มีการลังเล (false start) การปรับเข้ากับลักษณะของสังคม (assimilation) ความลังเล (hesitation) การพูดที่ผิดไวยากรณ์ (ungrammatical utterance) และมีการใช้คำมากเกินไป (redundancy) หากนักเรียนไม่คุ้นเคยกับลักษณะพวกนี้ พวกเขาก็ยากที่จะฟัง และเข้าใจสิ่งที่ชาวต่างชาติพูดได้

ประการสุดท้ายก็คือ ครูไม่มีแนวคิดว่าการฟังสามารถที่จะฝึกไปพร้อมกับทักษะอื่นๆ เช่น การพูด การเขียน หรือการอ่านได้ หากเราไปสำรวจโลกที่เป็นจริง เราจะไม่เคยเห็นหรือพบทักษะใดทักษะหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยสรุปก็คือ ทักษะทั้ง 4 อย่างนั้น ต้องเชื่อมโยงกัน และฝึกไปด้วยกัน.

1.2 ความจำเป็นในการพัฒนา

อะไรคือจุดประสงค์ทางการศึกษาภาษา? การทำให้นักเรียนผ่านจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ และการสอนภาษาอังกฤษต้องไม่จำกัดแค่อยู่ในโรงเรียนเท่านั้น ในโลกแห่งนาๆชาติ การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และโลกาภิวัตน์ จำเป็นที่จะสอนภาษาอังกฤษในชีวิตจริง การสอนภาษาอังกฤษในชีวิตจริงก็คือจุดประสงค์หลักในการสอนของเรา นอกจากนี้ การเข้าใจสำเนียงภาษาอังกฤษทุกสำนวน ก็มีส่วนช่วยให้เราสามารถสื่อสารได้กับภาษาอังกฤษทุกสำนวน เพื่อที่จะเติมเต็มจุดประสงค์เข้าใจภาษาอังกฤษ เราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาวิธีการฟัง และยุทธวิธีการฟังที่มีประสิทธิภาพ ก็เพื่อช่วยนักเรียนของเราในกานติดต่อสื่อสารกับภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาพูดและสมจริงด้วย (authentic spoken English)

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening.

หมายเลขบันทึก: 581849เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2014 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2014 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท