ดินดำน้ำชุ่ม อุ้มปุ๋ยด้วยแร่ธาตุหินแร่ภูเขาไฟ


เป็นที่ทราบกันดีนะครับท่านผู้อ่าน ว่าดินป่าสมบูรณ์ดินป่าเปิดใหม่ที่พี่น้องชาวไร่ชาวนาชาวเขาได้ถากถางในปีแรกๆ นั้น ปลูกอะไรก็จะเจริญเติบโตงอกงามสมบูรณ์ ผลลิตที่ออกมาก็เก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และหลังจากนั้นก็จะค่อยทยอยน้อยลงไปทีละน้อยๆ จนต้องมีการเติมเสริมปุ๋ยทางดินและทางใบเข้ามาช่วย เพื่อรักษาอัตราผลผลิตให้คงเดิมหรือมากกว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะประเทศไทยเราอยู่ในเขตมรสุม ร้อนชื้น อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ รา แบคทีเรียและไส้เดือน ที่ต่างช่วยกันดำรงคงกิจกรรมย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ได้จากธรรมชาติให้กลายเป็นปุ๋ยสะสมอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก พื้นดินที่มีพืนปกคลุมอยู่ตลอดเวลาและผ่านเวลาที่ยาวนาน จึงเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ จากเศษไม้ใบหญ้าที่ร่วงหล่นทับถมลงมานั่นเอง

แต่เมื่อถูกมนุษย์คุกคามถากถางและมีการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวลงไปเป็นจำนวนมากและถี่ ทรัพยากรและแร่ธาตุในดินนั้นก็พร่องร่อยหรอลดน้อยถอยลงไปเป็นธรรมดา แตกต่างจากดินในทวีปอื่นๆ โดยเฉพาะเมืองหนาวนั้นที่มี่ฤดูกาลมากถึง 4 ฤดูนั่นก็คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ ดินของเขาอาจจะอุดมไปด้วยแหล่งแร่ธาตุและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ค่อนข้างมากและดีกว่าอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายและสูญหายเร็ว โดยชั้นของเนื้อดินเต็มไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชจากชั้นของหินแร่ แต่บ้านเรานั้นจริงๆจะมีอยู่แค่เพียง 2 ฤดูกาลคือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ทำให้ต้องอาศัยแร่ธาตุและสารอาหารที่ได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก (ยกเว้นพื้นที่ที่ถูกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า) ชั้นของแร่ดินก็มีแร่ธาตุและสารอาหารน้อย ยกเว้นพื้นที่บริเวณภูเขาไฟเก่า ดินในพื้นที่เหล่านี้จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ค่อนข้างดี เช่น ลพบุรี (เทือกเขาพนมฉัตร, บุรีรัมย์ (ภูกระโดง), สุรินทร์ (ภูสวาย), ศรีษะเกษ (ภูฝ้าย), อุบลราชานี (ภูน้อย) และข้ามโขงไปยังฝั่งลาว ทุ่งหญ้าโบโลเวน์ พื้นที่เหล่านี้เมื่อปลูกพืชจะเจริญเติบโตค่อนข้างดี กิ่ง ก้าน ใบ มีสีสันสดใส รสชาติอร่อย กรอบ เพราะมีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช

การที่จะช่วยทำให้ดินที่เราเพาะปลูกเป็นดินดำน้ำชุ่มอุ้มปุ๋ยก็จำเป็นที่จะต้องจำแลงแปลงพื้นที่เพาะปลูกของเรา โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือจากเขตภูเขาไฟเก่า ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยหินแร่ภูเขาไฟจากถิ่นอื่น มาใส่เสริมเพิ่มเติมลงไป หินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนหลายร้อยหลายพันองศา เมื่อระเบิดเกิดขึ้นเป็นลาวาและละอองเถ้าภูเขาไฟ จะมีค่าความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุ (C.E.C.) และตัวของเขาเองอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ที่พืชสามารถย่อยสลายดูดกินได้ ทำให้ดินในบริเวณนั้นทำหน้าที่คล้ายตู้เย็นให้พืช พืชหิวก็กินอิ่มก็หยุด ทำให้พืชไม่เฝือใบ อีกทั้งซิลิก้าที่ละลายน้ำได้เมื่อสะสมในผนังเซลล์พืชช่วยให้มีภูมิต้านทานต่อโรคแมลงเพลี้ยหนอนราไรได้เป็นอย่างดี

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581560เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท