มาดูกันซิว่า ไวตาไลเซอร์ กับ ซิลิโคเทรซ นั้นมีลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันอย่างไร?


มีคำถามและความสงสัยของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของซิลิก้า (Silica) เป็นองค์ประกอบหลักที่ชื่อว่า ไวตาไลเซอร์ (Vitalizer) และ ซิลิโคเทรซ (Silicotrace) ว่ามีรูปแบบและลักษณะการนำไปใช้ที่มีความผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หรือถ้าจะมองอีกเหตุผลหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะเกิดความสับสนที่ตัวของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเองที่อาจจะไม่ได้มีการอธิบายถึงลักษณะผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน อีกทั้งถ้าเราดูแบบเผินๆ แบบไม่ตั้งใจ ก็อาจจะมีสิทธิ์ที่จะคิดว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันเป็นอย่างยิ่ง ว่าเป็นกลุ่มของแร่ธาตุสารอาหารในกลุ่มจุลธาตุ ที่เอาไว้ฉีดพ่นทางใบช่วยในการป้องกันอาการขาดแคลนกลุ่มของจุลธาตุ

ก็ต้องขอบอกไว้ ณ ตรงนี้นะครับว่า จริงๆแล้ว ไวตาไลเซอร์ กับ ซิลิโคเทรซ นั้นมีความแตกต่างทั้งสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ธาตุสารอาหารภายในตัวของเขาเอง และวัตถุสงค์ในการใช้งานก็ยิ่งมีความแตกต่างมากเข้าไปอีก เพราะว่าชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้พัฒนาซิลิโคเทรซขึ้นมาที่มีส่วนประกอบของ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม แมกนีเซียมและซิลิก้า เพื่อเอาไว้เติมเต็มแร่ธาตุสารอาหารให้ครบถ้วนอยู่ตลอดทุกช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกระยะต้นเล็กจนไปสู่การเจริญเติบโตในระยะต่างๆ กระทั่งถึงช่วงตั้งท้องติดดอก จึงจะหยุดแล้วเปลี่ยนไปใช้ ไวตาไลเซอร์แทนในช่วงนี้ เพราะว่า ไวตาไลเซอร์นั้นมีส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาพืชให้เกิดเป็นดอกที่สมบูรณ์ จะเห็นว่า ไวตาไลเซอร์นั้นประกอบไปด้วย ซิลิสิค โบรอน สังกะสีและวิตามินอี แค่เพียง 4 ฃนิดในมวลสารร้อยเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ ซิลิโคเทรซ ที่มีสารอาหารหลากหลายกว่าในอัตราที่เท่ากัน

นั่นแสดงว่ามีนัยยะบางอย่างของไวตาไลเซอร์ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริมให้พืชติดดอกออกผลได้อย่างสมบูรณ์นั้นเอง ทีนี้เราลองมาดูบทบาทและหน้าที่ของสารอาหารทีละตัวในไวตาไลเซอร์กันนะครับ เริ่มที่ซิลิสิค นั้นมีบทบาทช่วยป้องกันการเข้าทำลายของโรคแมลงเพลี้ยหนอนไรราที่จะเข้ามาทำลายดอก และมีบทบาทช่วยในการสร้างการขยายตัวของเซลล์ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ตัวที่สองคือ โบรอนทำหน้าที่ขยายรังไข่ เมื่อรังไข่ใหญ่ ดอกก็ใหญ่ และก็มีผลที่ใหญ่ตามมา ส่วนสังกะสีนั้นช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน ช่วยให้ขั้วดอก ขั้วผลเหนียว และวิตามินอี ช่วยผสมเกสร และทำให้เกสรไม่เป็นหมัน ทำให้การผสมเกสรดียิ่งขึ้น อันนี้ก็คือหน้าที่ของไวตาไลเซอร์ที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการดูแลบำรุงรักษาดอก จะอย่างไรก็ตาม เราจะเริ่มใช้ไวตาไลเซอร์ก่อนการเกิดดอก 1 เดือน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมแล้วค่อยๆฉีดพ่นไปทุกๆ 7 วัน จนกว่าจะมีผลอ่อนเท่าเม็ดถั่วเขียว แล้วจึงสลับกลับไปฉีดพ่น ซิลิโคเทรซ ดังเดิมไปจนตลอดอายุการเก็บเกี่ยวก็ได้

ทั้งหมดนี้คือการอธิบายขยายความเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า "ไวตาไลเซอร์" กับ "ซิลิโคเทรซ" เพื่อที่ว่าขจะได้เป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกบางท่านที่อาจจะเพิ่มเริ่มเข้ามาศึกษาหาข้อมูลในเว๊บไซด์ www.thaigreenagro.com นะครับ จะได้ไม่เกิดความสับสน เพราะเป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้อ่านและแฟนคลับหลายท่านติดใจสงสัยและถามกันเข้ามาค่อนข้างบ่อยมาก จึงนำมารวบรวมและเรียงในบทความเป็นการตอบคำถามไปด้วยในตัว (แฮ่ะ ๆ) สำหรับวันนี้ก็เพียงเท่านี้นะครับ สวัสดีครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581555เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท