ภัยแล้งแห่งเอลณิโญ


ปีนี้เป็นปีที่ใช่ว่าจะมีปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นเฉพาะแต่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นนะครับ เพราะหลายประเทศทั่วโลกก็ประสบพบเจอด้วยเช่นเดียวกัน มีการคาดการณ์กันว่าปีนี้อาหารสัตว์ก็จะแพง เพราะถั่วเหลืองทางอเมริกาก็ไม่สามารถเพาะปลูกได้ตามเป้าหมายอีกทั้งไทยก็ไปส่งเสริมปลูกพืชอื่นแทนข้าวและยางพารา ไม่ยอมรณรงค์ให้ปลูกถั่วเหลืองที่เราต้องนำเข้าปีหนึ่งมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ให้ไปปลูกอ้อย ปาล์ม มันสำปะหลังและข้าวโพดอาหารสัตว์แทน ไม่รู้ว่าเมื่อผลผลิตออกมาล้นตลาดจะมีสภาพเหมือนรัฐบาลยุคก่อนอีกไหมที่เคยรณรงค์ส่งเสริมให้ปลูกยางเป็นล้านไร่ จนมียางทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อีกทั้งจีน อินเดีย ผลผลิตข้าวก็จะน้อยลง อาจจะต้องสำรองเอาไว้ในประชาชนคนในประเทศของตนเองไว้กินกันเองภายในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ อันนี้ในบางแง่มุมก็อาจจะช่วยราคาข้าวในประเทศไทยเราได้อานิสงส์ทำให้ราคาข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามกลตลาดโลกก็เป็นได้ ต้องลองติดตามเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด

ปีนี้เป็นปีที่มีเหตุการณ์เอลนิโญเกิดขึ้นด้วยนะครับ คือเกิดความผิดปรกติของอุณหภูมิเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่ปกติไหลจากฝั่งตะวันออกมาสู่ฝั่งตะวันตกอ่อนกำลังลง ในภาวะปรกติกระแสน้ำอุ่นจะไหลพัดเอากระแสน้ำอุ่นมากองรวมอยู่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จนระดับน้ำชายฝั่งทวีปออสเตรเลีย และเอเชียสูงกว่าระดับน้ำชายฝั่งชิลี เปรู และเอกวาดอร์ถึง 60-70 เซนติเมตร ปรากฎการณ์เอลณิโญทำให้กระแสลมสินค้าตะวันออกกำลังกระแสน้ำอุ่นไหลกลับทำให้ไปกดทับกระแสน้ำเย็นฝั่งตะวันออก (ชิลี เปรู เอกวาดอร์) ทำให้กระแสน้ำเย็นไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำลอยตัวกระจายเหนือพื้นทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ส่วนฝั่งทวีปออสเตรเลียและเอเชียหย่อมความกดอากาศสูงที่ควบแน่นเหนือผิวน้ำทำให้เกิดสภาวะหนาวเย็นแห้งแล้ง เกิดความแห้งแล้งในทุ่งหญ้าออสเตรเลีย เกิดควันไฟป่าในประเทศอินโดนีเซีย สัตว์ขาดหญ้า ขาดอาหาร พืชไร่ไม้ผลที่ได้รับอิทธิพลจากควันไฟเกิดการแก่สุกเร็วกว่าปรกติ ทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านการตลาดอย่างมหาศาล พื้นที่ทางตอนบนของประเทศไทยก็จะมีปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าทุกๆ ปี สังเกตได้ตั้งแต่ปี 2521 2526 2531 2536 2541 2547 ซึ่งเป็นปีที่มีปัญหาสภาวะภัยแล้งจากเอลณิโญ (ความจริงในห้วงช่วงสี่ส้าห้าปีมานี้เราก็จะเจอปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเกือบทุกปีอยู่แล้ว) สังเกตได้จากการหยุดห้ามทำนาปรังทุกครั้งที่มีปัญหาเรื่องความแห้งแล้ง

การดูแลแก้ปัญหาจะหวังรัฐบาลอย่างเดียวก็คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปป่าสมบูรณ์เหนือเขื่อนนั้นกลายสภาพจากไม้ยืนต้นกลายเป็นพืชไร่ ทำให้ระบบนิเวศน์หน้าดินขึ้นมาไม่สามารถกักเก็บดูดซับจับตรึงแร่ธาตุและสารอาหารได้เหมือนเดิม ป่ายุคนี้สามารถกักเก็บน้ำฝนดะเพียง 30 %อีก 70% ไหลลงสู่เขื่อนอย่างรวดเร็วทำให้ เขื่อนต้องรีบปล่อยน้ำออกก่อนกำหนด เพราะรักษาระดับน้ำในเขื่อนไม่ให้อยู่ในจุดที่เกิดความเสี่ยงต่อเขื่อนแตก แต่ถ้าป่าเหนือเขื่อนเป็นป่าดิบชื้น ป่าสมบูรณ์เช่นในอดีตป่าจะกักเก็บน้ำฝนได้มากถึง 70 % และมีน้ำส่วนเกินค่อยๆ ไหลลงสู่เขื่อนอีก 30 % ทำให้เราเห็นน้ำตกได้ยาวนานมีฤดูกาลท่องเที่ยวที่มากกว่าปัจจุบัน

ฉะนั้นการทำสระน้ำประจำไร่นาของตนเองจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ควรจะทำ เพราะจะช่วยให้เรามีน้ำไว้ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้เป็นประจำตลอดทั้งปี ระดับความลึกถ้าเป็นดินเหนียวดินดำน้ำชุ่มก็อาจจะขุดความลึกลงไปสึก 4 -5 เมตร ส่วนพื้นที่ดินทรายให้ขุดความลึกระดับ 6 – 7 เมตร แล้วใช้สารอุดบ่อ 1 – 2 กิโลกรัม (โพลิเอคริลามายด์) คลุกผสมกับกลุ่นของแร่สเม็คไทต์ หรือเบนโธไนท์ 100 กิโลกรัม หว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อที่กักเก็บน้ำไม่อยู่ โดยเฉพาะพื้นที่ดินทราย อาจจะใช้ทรายหยาบทรายละเอียดหว่านรองพื้นแล้วตามด้วยสารอุดบ่อหลังจากนั้นใช้ดินเดิมจากปากบ่อหว่ากลบทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง อาจจะบดอัดแน่นด้วยสามเกลอ(ท่อนไม้ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต มีด้ามไม้ขนาดเหมาะมือยาวพอเหมาะสมกับความสูงของคนที่จะใช้แล้วนำมาตอกตะปูหรือติดยึดน๊อดให้แน่นทั้งสาม เวลาใช้ให้สามคนจับยกและกระแทกลงไปพร้อมกัน) หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ก็ตามแต่จะสะดวก หลังจากนั้นจึงค่อยปล่อยน้ำเพื่อให้สารอุดบ่อทำงาน ขยายพองตัวอุดรอยรั่วประสานกับกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ ทำให้ไปอุดปิดรอยรั่วหรือช่องโหว่ของเนื้อดิน ทำสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้แบบปีชนปี ถ้าไม่ปล่อยแห้ง หรือมีฝนตกมาทันก็สามารถเก็บน้ำต่อเนื่องได้หลายปี โดยเฉพาะถ้ามีการหมั่นสร้างน้ำเขียวจากมูลสัตว์เพิ่มเติมด้วย

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581553เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท