ฮอร์โมนไข่ ใช้อย่างไรไม่ให้เกิดความสับสน


กระแสการใช้ออร์โมนไข่ในการทำมะนาวนอกฤดูมีเพิ่มมากขึ้นทุกๆวัน ไม่รู้ว่ามาจากบทความที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ "หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู เล่ม 2" ของไม่ลองไม่รู้หรือไม่ เพราะเห็นว่าขายดิบขายดีติดเบสเซลเลอร์ของซีเอ็ดบุ๊คเซนเตอร์ทื่มีอยู่หลายสาขาทั่วประเทศ ทำให้กระแสการปลูกมะนาวนอกฤดูกาลแบบปลอดภัยไร้สารพิษ และไม่ต้องการทรมานต้นมะนาวด้วยการใช้สารแพคโคบิวทราโซน หรือสารโพแทสเซียมคลอเรทที่ใช้ในลำไย นำมาทรมาทรกรรมต้นมะนาวของเราให้บอบช้ำและอายุสั้น อยู่กับเราได้ไม่กี่ปีก็มีอันต้องชำรุดทรุดโทรมล้มตายไปก่อนที่จะถึงวัยอันควร (นั่นก็คือเป็นสิบยี่สิบปีทีเดียวเชียวล่ะครับ)

แต่ถ้าเราไปทรมานเขาด้วยการบังคับให้ออกดอกนอกฤดูด้วยสารเคมีและวิธีการบังคับที่หลากหลายก็ทำให้มะนาวของเรานั้นมีอายุที่สั้นลงอาจจะเหลือเพียง 6 – 7 ปี ก็ตาย เรื่องนี้สำคัญนะครับท่านผู้อ่านโดยเฉพาะชนชั้นกลางที่ลาออกจากงานมาทำมะนาวนอกฤดูในวงซิเมนต์ เพราะซึ่งกิ่งพันธุ์ ซื้อวงซิเมนต์ ซื้อฝา เบ็ดเสร็จก็ตกหลายหมื่นต่อมะนาวจำนวนร้อยต้นหรือร้อยวง ลองคิดกันเล่นๆ นะครับ ค่าวงซิเมนต์ 200 บาท ฝาอีก 100 บาท ค่าต้นพันธุ์อีก 100 – 150 บาท ค่าแรงในการปลูกและเตรียมวัสดุ แค่นี้ก็เหยียบแสนแล้วละเนอะ

แต่ที่สำคัญอยู่ตรงที่กว่าจะดูแลทำนุบำรุงให้โตจนสามารถเปิดดอกได้ก็ใช้ระยะเวลาไปปีกว่าหรือเกือบสองปี กว่าจะทำให้มะนาวออกดอกได้ดังใจต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์อีกกว่า 2 -3 ปี รวมเป็น 5 ปี พอจะเริ่มชำนิชำนาญต้นมะนาวในวงซิเมนต์ก็มีอันตรธานล้มหายตายจากไปเสียก่อน ทำให้ทุนหายกำไรหดไปตามๆ กัน แทนที่จะได้กลับเสียเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก อันนี้ก็ฝากให้คิดและวางแผนกันให้ดีๆนะครับ มิได้แอนตี้หรือไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ชื่นชอบประการใดรับ

ส่วนในเรื่องของฮอร์โมนไข่นั้น ผู้คนสับสนอลหม่านกันเหลือเกินครับกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย และการหมักบีทีชีวภาพปราบหนอน และบีเอสพลายแก้วปราบโรคแคงเกอร์ บางคนคิดว่าบีทีชีวภาพหมักไข ก็คือฮอร์โมนไข่ บางคนก็เอาฮอร์โมนไข่ไปหมักปุ๋ยชีวภาพ บางคนก็เอาจุลินทรีย์หน่อกล้วยไปทำปุ๋ยฮอร์โมนอาหารเสริมพืช ทำให้ใช้แล้วก็ไม่ได้ผล แถมทำให้เกิดความสับสนกับผู้เลียนแบบนำไปใช้ต่อ วันนี้ก็อยากจะชี้แจงสักเล็กน้อยนะครับ ว่า ฮอร์โมนไข่นั้นวัตถุประสงค์มีไว้เพื่อ ฉีดพ่นมะนาวเพื่อสะสมอาหาร สร้างสัดส่วนของคาร์บอนให้สูงกว่าไนโตรเจน ง่ายต่อการที่มะนาวจะเปิดตาดอก ส่วนจุลินทรีย์หน่อกล้วยนั้น เน้นการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น ลงไปสู่แปลงเรือกสวนไร่นา เน้นการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุตอซังฟางข้าว ให้กลายเป็นปุ๋ยได้รวดเร็วขึ้น เน้นการสร้างกองทัพจุลินทรีย์ท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่เพื่อเป็นทหารคอยคุ้มกันต้นพืชหรือมะนาว อย่าเผลอเอาไปใช้ในการเป็นปุ๋ยหรือฮอร์โมนทีเดียวเชียวนะครับ เพราะว่ามันจะไม่ได้ผล ...ส่วนการหมักบีทีชีวภาพปราบหนอน และบีเอสพลายแก้วในการปราบโรคแคงเกอร์นั้นกับสูตรไข่ไก่ โดยมีน้ำ 20 ลิตร ไข่ไก่สด ไม่เอาเปลือก 5 ฟอง น้ำมันพืช 5 ช้อนแกง และสเม็คไทต์ 5 ช้อนแกง (หินแร่ภูเขาไฟลดการบูดเน่าแล้วเกิดก๊าซแอมโมเนีย ไนไตรท์ ทำให้จุลินทรีย์โตช้า) หมักกับเครื่องอัดอากาศ หรือออกซิเจน 24-48 ชั่วโมง แล้วนำมาผสมกับน้ำเปล่าอีก 80 ลิตร อันนี้ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุน เมื่อเทียบกับการใช้จุลินทรีย์ดังกล่าวในรูปแบบเพียงๆ 5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งทำให้ต้นทุนอาจจะสุงเกินไปสำหรับเกษตรบางท่าน เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ครับ.

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

คำสำคัญ (Tags): #ฮอร์โมนไข่
หมายเลขบันทึก: 581550เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท