ป้องกันโรคกล้าเน่ายุบในต้นหอม ผักชี กุยช่ายให้พอขายในเทศกาลกินเจ


ในห้วงข่วงนี้ก็จะมีเทศกาลถือศีลกินเจนกันอยู่นะครับท่านผู้อ่าน โดยเฉพาะปีนี้นั้นเทศกาลกินเจมีต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน โน่นเลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าตามปฏิทินโหราศาสตร์จีนจะมีเดือนเก้าสองหน (คล้ายกับบ้านเราที่มีเดือนแปดสองหนนั่นแหละครับ) จึงทำให้รอบระยะเวลาการถือศีลกินเจก็จะมีสองรอบและมีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น. นั่นหมายถึงพี่น้องเกษตรกรจะมีช่วงระยะเวลาที่ราคาพืชผักผลไม้จะมีราคาที่สูงขึ้นติดต่อยาวนานขึ้นด้วยเช่นกัน


แว่วๆมาว่าราคาเห็ดในกรุงเทพฯไม่ว่าจะเป็นภูฏาน, นางฟ้า, ฮังการี ราคาขยับขึ้นไปเฉียดแตะ 200 บาท ผักชี ต้นหอม กุยช่าย คื่นฉ่าย และผักชนิดอื่นๆที่มีคุณสมบัติในการประกอบอาหารเจก็ได้รับอานิสงฆ์จากเทศกาลกินเจนี้ด้วยเช่นกันและที่สำคัญยังมีระยะเวลาอีกนานหลายเดือน พี่น้องเกษตรกรที่กำลังปลูกหรือเริ่มปลูกต้องหมั่นดูแลประคบประหงมพืชพันธุ์ธัญญาหารของท่านไว้ให้ดีด้วยนะครับ เพราะคำสุภาษิตคำพังเพยที่โบราณกาลขับขานบอกไว้ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก" ช่วงนี้ทำอะไรก็ราคาดี ต้องรีบกันหน่อยแล้วนะครับ

เรื่องที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยากบอก นั่นก็คือการดูและบำรุงรักษาพืชผักผลไม้ที่จะนำไปจำหน่ายจ่ายแจกควรจะต้องเน้นในเรื่องของความปลอดภัยไร้สารพิษไว้สักหน่อยก็ดีนะครับ เพราะผู้บริโภคอาหารเจส่วนใหญ่ก็คงไม่มีใครอยากรับประทานอาหารที่มีสารพิษติดตามเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายด้วย เนื่องด้วยอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆตามมาอีกเยอะแยะมากมายทั้ง โรคความดัน โรคหัวใจ เบาหวาน อัมพฤต อัมพาต ปากเบี้ยวมือหงิก โรคภูมิแพ้ สะเก็ดเงินสะเก็ดทอง ฯลฯ ที่พร้อมจะเข้ามาฉกฉวยโอกาสกับร่างกายของเราๆท่านๆอยู่ตลอดเวลา

การดูแลแปลงปลูกด้วยการใช้หินแร่ภูเขาไฟให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน สร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์พืช ใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าและบีเอสพลายแก้วป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชหรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคแคงเกอร์ในมะนาวและพืชตระกูลส้ม หรือการรักษาเชื้อราโรคเห็ดเจ้าจุลินทรีย์บีเอสพลายแก้วก็ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมช่วยทำให้เห็ดไม่มีสารพิษตกค้างการใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช. หรือจุลินทรีย์บีทีชีวภาพปราบหนอนหนังเหนียว หนอนแมลงวันแมลงหวี่ การแก้ปัญดินดานดินแน่นดินแข็งซึ่งเป็นสาเหตุที่พืชแคระแกร็นให้ร่วนซุย การเติมอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอย่างต่อเนื่อง หรือจะเสริมด้วยสารละลายดินดาน(Ammonium Lauleth Ether Sulphate) ฯลฯ เทคนิควิธีการต่างๆด้งที่ได้กล่าวไปนี้สามารถช่วยให้เราสามารถเพาะปลูกพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัยไร้สารพิษไปสู่ผู้บริโภคได้ไม่ยากนะครับ. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อฝ่ายวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ. www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581544เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท