อีกปัญหาสาเหตุหนึ่งที่นักเพาะเห็ดมือใหม่คาดไม่ถึง...ก้อนขี้เลื่อยใหม่ นึ่งไม่สุกเกิดก๊าซแอมโมเนียเพิ่ม ออกซิเจนน้อย ดอกและก้านเหลือง


ถ้าจะพูดถึงการเพาะเห็ดหลายๆคนเมื่อทดลองซื้อก้อนจากฟาร์มอื่นๆแล้ว ก็เกิดความอยากที่จะทดลองทำก้อนเชื้อด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ สะสมองค์ความรู้ ลดต้นทุน ความมั่นใจในการควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ไม่ว่าจะด้วยเหตุหรือวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม ผู้ที่ทดลองเพาะเห็ดมือใหม่ก็มักจะประสบพบเจอปัญหาในหลายๆ กรณี ทั้งก้อนหลวมไม่แน่น ขนาดไม่ได้มาตรฐาน อาหารภายในก้อนไม่ได้สูตรที่เหมาะสม อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ขาดหัวเชื้อข้าวฟ่างที่ดีมีคุณภาพ (ส่วนหนึ่งมาจากการขนส่งแล้วตากแดด บ้างก็หัวเชื้ออ่อน จากการต่อเชื้อกันมาหลายรุ่น) ก้อนเชื้อปนเปื้อนราดำ ราเขียว ราส้ม ราเมือก เพราะขั้นตอนการทำก้อนเชื้อประสบการณ์อาจน้อยเสี่ยงต่อการปนเปื้อนได้ง่าย นึ่งไม่ได้ตามที่ระยะเวลากำหนด หม้อนึ่งไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ใช้บีเอสพลายแก้วหมักไปพร้อมขี้เลื่อย ทำให้โอกาสมีเชื้อโรคเห็ดปนเปื้อนสูง


อีกปัญหาหนึ่งที่น่าสนใจและคาดว่าผู้เพาะเห็ดรายใหม่อาจจะไม่ค่อยทราบ นั่นก็คือการเปิดดอกเห็ดหน้าแรกแล้วมีอาการเหลือง แห้งเหี่ยว หงิกงอ หลายคนอาจจะมองไปที่ปัญหาการให้น้ำทำความชื้นเพียงอย่างเดียว หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นสีขิงน้ำขี้เลื่อย ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ด้วยเบ่นกัน แต่สาเหตุที่ทำให้ดอกเห็ดสามารถมีลักษณะอาการในลักษณะนี้ได้เช่นกันก็คือ การระบายถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน ซึ่งอาจจะเกิดหมักหมมก๊าซพิษของเสียต่างๆได้โดยไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นก๊าสแอมโมเนีย ก๊าซไนไตรท์ ก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์ หรือมีเทน เหตุต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้ถ้าสภาพโรงเรือนของผู้เพาะเห็ดมืดทึบ จึงต้องควรมีการระบายถ่ายเทอากาศให้แก่โรงเรือนเห็ดบ้างในบางครั้งบางคราวโดยเฉพาะในห้วงช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว

อีกสาเหตุหนึ่งที่คาดไม่ถึงด้วยสาเหตุจากความไม่รู้ประสบการณ์น้อย นั่นก็คือการนึ่งก้อนเชื้อซึ่งถ้าอุณหภูมิความร้อนไม่ได้มาตรฐานก็อาจจะเกิดปัญหาในเรื่องของก้อนเชื้อขี้เลื่อยไม่สุก โดยเฉพาะการนึ่งก้อนเชื้อกับหม้อลูกทุ่ง ทำให้เกิดกระบวนย่อยสลายของจุลินทรีย์กับขี้เลื่อยยังดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องไป เกิดก๊าซแอมโมเนีย ไนไตรท์เพิ่มขึ้น ออกซิเจนน้อยลง ทำให้ดอกเห็ดมีสีผิดเพี้ยน แห้งเหี่ยว ก้านดอก ครีบดอกเหลือง คล้ายๆกับเป็นโรค บ้างก็ว่าเป็นไวรัส ซึ่งถือว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก การแก้ปัญหาถ้าใช้ระยะเวลานึ่งตามปรกติแล้ว เมื่อเปิดดอกหน้าแรกแล้วมีอาการดังที่กล่าวไว้ให้ทำการยืดระยะเวลาการนึ่งเชื้อออกไปอีกสองสามชั่วโมง หรือจะหาระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่นของตนเองก็ได้ เพื่อจะได้ประหยัดแก๊สประหยัดฟืน อีกทั้งโรงเรือนควรออกแบบให้สามารถเปิดชายขอบด้านข้างดได้หรือไม่ก็หน้าจั่วควรเป็นแสลนด์ปิดคลุมชั่วคราวสามารถเปิดปิดระบายถ่ายเทอากาศได้

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581537เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท