ลดพื้นที่ปลูกข้าว ลดพื้นที่ปลูกยาง เพิ่มพื้นที่อ้อย มัน ปาล์ม ข้าวโพดจะช่วยคนไทยได้ไหม?


นโยบายเกี่ยวกับภาคการเกษตรในเรื่องที่จะลดพื้นที่การปลูกข้าวจาก 70 ล้านไร่ให้เหลือ 50 ล้านไร่โดยมีวัตถุประสงค์จะลดปริมาณข้าวเปลือกส่วนเกินทร่ง้นตลาดอยู่ในขณะนี้กว่า 30 ล้านตันและให้ลดน้อยถอยลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 20 กว่าล้านไร่เพื่อพยุงราคาข้าวเปลือกมิให้ลดน้อยถอยลงไปมากกว่านี้คือปัจจุบันนั้นราคาข้าวตกลงมาอยู่ประมาณ 7,000-8,000 บาท แต่ต้นทุนเราอยู่ที่8,000-9,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาขายและสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่มีเป้าหมายในการส่งออกข้าวเหมือนบ้านเรา เวียดนามทำต้นทุนได้ต่ำที่สุดอยู่ที่ 4,000 กว่าบาท เมียนมาร์. กัมพูชา ลาว อยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 บาท จะเห็นว่าเรานั้นใช้ต้นทุนที่สูงมากเกินไป


ส่วนยางพารานั้นก็พยายามที่จะลดพื้นที่ปลูกให้เหลือเพียง 15 ล้านไร่ ส่วนหนึ่งประมาณ 2 ล้านไร่จะให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือยางพันธุ์ดีและอีกประมาณ 5 ล้านเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างจากเหตุผลด้านบนดังที่เราๆท่านๆทราบกันมาบ้างแล้วนั่นแหละครับคือสภาวะยางล้นตลาด เศรษฐกิจโลกถดถอยตกต่ำกำลังซื้อตก ประเทศจีนสามารถผลิตน้ำยางได้เองจากพื้นที่ในประเทศและกลุ่มพันธมิตร อย่างลาว กัมพูชา เมียนมาร์และเวียดนาม ซึ่งถึงระยะเวลากำหนดกรีดจึงทำให้ราคายางพาราในห้วงช่วงนี้ตกต่ำ แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้เขียนก็เชื่อว่าราคายางในระยะอันใกล้นี้ก็น่าจะกลับมาแพงได้อีกหากเศรษฐีจีนกับอินเดียมีจำนวนเพิ่มขึ้นมอีก10-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าจะมีเศรษฐีที่ใช้รถยนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่างที่เกี่ยวข้องกับยางพาราเพิ่มขึ้นมาอีก 200-400 ล้านคน ซึ่งถือเป็นคนรวยที่มีมากกว่าประเทศไทยถึงห้าหกเท่าทีเดียวเชียวล่ะครับ

ก็อยากจะรู้ว่าการลดพื้นที่ปลูกข้าวและยางพาราแล้วหันมารณรงค์ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังนั้นจะสามารถช่วยให้พี่น้องเกษตรกรสามารถจะลืมตาอ้าปากได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การทดลองการทดสอบที่ให้พี่น้องเกษตรกรเป็นผู้รับเคราะห์กรรม ที่พูดอย่างนี้ใช่ว่าจะมองโลกในแง่ร้ายเสียทีเดียว ก็เพียงเพื่อให้รัฐบาลใหม่ในการนำของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาได้คิดขบทบทวนทุกกระบวนการด้วยความละเอียดรอบคอบ เพราะอย่างน้อยก็อย่าลืมว่ายางพาราที่มีราคาตกต่ำก็มาจากการรณรงค์ส่งเสริมจากภาครัฐในยุคก่อนๆ คิดว่าน่าจะยังจำกันได้นะครับ โครงการปลูกยางหนึ่งล้านไร่ที่ทำให้ยางพารามีกระจัดกระจายไปในทุกแห่งหนแทนที่จะมีอยู่แค่ภาคใต้และภาคตะวันออกเท่านั้น

จะอย่างไรก็ตามพี่น้องเกษตรกรก็อย่าลืมการพึ่งพิงอิงอาศัยตนเองให้มากกันนะครับ โดยเฉพาะในเรื่องของการลดต้นทุนด้วยการใช้อินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน การใช้จุลินทรีย์ถ้อนถิ่นจากขี้ควาย(สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์สี่กระเพาะ) หรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยที่ไม่ต้องซื้อหามาจากต่างประเทศ ใช้ในการย่อยสลายปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพให้เกิดผลเร็วขึ้น การหมักพืชสมุนไพรไล่แมลงโรคเชื้อราต่างๆการตรวจวัดกรดด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม การสร้างความแข็งสร้างภูมิต้านทานจากซิลิก้าที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟ ฯลฯ เพื่อช่วยให้เรามีกำลัง มีต้นทุนสะสมในการที่จะดำเนินชีวิตพิชิตกับโลกที่ต้องมีการแข่งขันโดยเฉพาะภาคการเกษตรได้อย่างราบรื่นชื่นบานตลอดไป


มนตรีบุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581546เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท