สร้างพืชให้แข็งแรงเหมือนไก่ชน


หลังจากบราซิลพ่ายให้แก่เยอรมันไป 7-1 สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่แฟนบอลชาวบราซิลกว่าค่อนประเทศ ต่างก็แสดงอารมณ์ความรู้สึกรับไม่ได้ ร้องห่มร้องไห้เสียใจ เผาเสื้อทีม อื่นๆอีกมากมายสุดจะพรรณาเนื่องด้วยศักดิ์ศรีความเป็นเจ้าภาพค้ำคอพ่วงอยู่ด้วยอีกหนึ่งตำแหน่งนั่นเอง ต่อมาอีกคู่หนึ่งระหว่างอาร์เจนตินากับฮอลแลนด์เพิ่งจะผ่านไปสดๆร้อนเมื่อคืนนี้เองนะครับเริ่มตั้ง 03.00 จนเกือบถึง 05.00 ผลสุดท้ายดวลแข้งกินกันไม่ลงจนต้องมาตัดสินกันที่จุดโทษผลอาร์เจนตินาชนะไป 4 ต่อ2 ทีนี้ก็ต้องลุ้นกันต่อไปในนัดชิงระหว่างเยอรมันกับอาร์เจนตินา รับรองว่าน่าจะสนุกสุดเหวี่ยงทีเดียวเชียวละครับ


พูดถึงการแข่งขันการต่อสู้เอาชัยชนะก็นึกไปถึงนักสู้ในสังเวียนไก่ชน ซึ่งตัวแสดงในที่นี้หาใช่มนุษย์ไม่แต่เป็นไก่ และเป็นไก่ที่ไม่ธรรมดา เขาเรียกกันว่า "ไก่ชน" ซึ่งจะพูดถึงรายละเอียดแล้วนั้นมีมากมายหลายสายพันธุ์และสายพันธุ์ที่โด่งดังมีประชาชนคนไทยรู้จักมากที่สุดน่าจะเป็นพันธุ์ "เหลืองหางขาว" ที่สมเด็จพระเนรศนำมาประชันขันแข่งเดิมพันหมายมั่นปั้นว่าจะชิงบ้านชิงเมืองกับมังสามเกียรติในขณะที่ทรงเยาว์พรรษานั่นทีเดียว

ไก่ชนที่จะนำมาประชันกันนั้นจะต้องผ่านการประคบประหงมดูแลเป็นอย่างดี ทั้งที่ความจริงแล้วก็เป็นไก่สายพันธุ์ที่มีความแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจดีอยู่ อาจจะจัดอยู่ในหมวดนักเลงเมื่อเทียบกับคนหรือมนุษย์ คือเจอหน้าตัวผู้เหมือนกันแล้วเป็นจะต้องท้าตีท้าต่อยอยู่ร่ำไป ยิ่งมีการบำรุงรักษาดูแล ให้อาหารเสริม แคลเซียม ซิลิก้า ออกกำลังกาย จับล่อจับชน (ปล้ำไก่) อาบแดด ฯลฯ ยิ่งมีพละกำลังมีภูมิต้านทานในร่างกายแบบไร้ที่ติ ทำให้กำดำรงคงชีวิตนั้นค่อนข้างที่จะไร้โรคภัยไข้เจ็บอย่างน่าประหลาดใจ ดังที่เราๆท่านได้เห็นผ่านหูผ่านตากันมาแล้วในกรณีของไข้หวัดนกH5N1. ที่มีแต่ไก่ชนเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยเอาชีวิตผ่านมาได้

เฉกเช่นเดียวกันครับท่านผู้อ่านท่านลองคิดดู หากเรานำพืชมาบำรุงเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพืชให้กินอาหารครบทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม และให้แร่ธาตุพิเศษอย่างซิลิก้าที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟก็จะช่วยทำให้พืชของเรามีความแข็งแกร่งทนทานต่อโรคแมลงเพลี้ยหนอนราไรได้เช่นกัน ดังที่มีข้อมูลการวิจัยจากหลายหน่วยงานเช่น 1. ทัศนีย์ ชัยวัฒน์ หินแร่ภูเขาไฟต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2. อิทธิพลของซิลิกอนและฟอสฟอรัสต่อการดูดใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสของข้าวและข้าวโพดที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัดชุดดินรังสิตกรดจัด (รัตนชาติ ช่วยบุดดา พจนีย์ มอญเจริญ กองวิเคราะห์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จตุจักรกรุงเทพฯ, จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข ภาคปฐพีวิทยา คณะเกษตร ม.ก. บางเขน, เอ็จ สโรบล ภาควิชาพืชไร่นาคณะเกษตร ม.ก. บางเขน) 3. อิทธิพลของการใช้ภูไมท์ซัลเฟตร่วมกับปุ๋ยพืชสดต่อการเจริญเติบโตผลผลิตข้าวและการปลดปล่อยแก๊สมีเทน. (ดวงสมร ตุลาพิทักษ์ ศูนย์ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ม.ขอนแก่น, พัชรี แสนจันทร์ ภาควิชาพืชศาสตร์แงะทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น) 4. การใช้ซีโอไลท์ปรับปรุงดินเพื่อการเกษตรผลที่มีต่อปริมาณธาตุอาหารในดินและธาตุอาหารที่ถูกชะล้าง (นงลักษณ์ วิบูลสุข, พวงเล็ก โมลากุล กลุ่มงานวิจัยเคมีดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร) 5. ซิลิคอนอินเอกริคัลเจอร์ (Silicon In Agriculture) หนังสือรวบรวมงานวิจัยจากดอกเตอร์ทั่วโลก ฯลฯ

แร่ธาตุซิลิก้าหรือซิลิสิคแอซิดนี้จะช่วยทำให้พืชมีภูมิต้านทานมีความแข็งแร่งคล้ายไก่ชนเมื่อเจ็บป่วยมีโรคแมลงรบกวนก็สามารถใช้จุลินทรีย์และสมุนไพรใช้รักษาในแนวทางชีวภาพปลอดภัยไร้สารพิษรักษาก็กระทำได้โดยง่ายได้ง่าย พี่น้องเกษตรกรที่ต้องการทางเลือกอาชีพเกษตรกรรมที่ทำแล้วปลอดภัยไร้สารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็สามารถใช้หินภูเขาไฟเป็นทางเลือกสร้างความแข็งแกร่งให้กับพืชได้อีกทางหนึ่งนะครับ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 581547เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท