การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และภัยพิบัติแบบองค์รวม


"ต้นไม้ให้อะไรกับท่านบ้าง

ทุกอย่างประกอบซึ่งกันและกัน
เราใช้ธรรมชาติอย่างเดียว ไม่บำรุงรักษาเลย ปล่อยปละละเลย
เราจะอยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นสุข หรือ อย่างเป็นทุกข์
.
พระครูพิทักษ์พรหมรังษี
เจ้าอาวาสวัดพรหมรังษี กรุงเทพฯ
.......................

ป่าไม้ถูกทำลายเพราะใช้สารเคมี เพราะใช้เลื่อยโซ่
เราฆ่าหญ้า ฆ่าแผ่นดิน
.
พ่อปั๋น อินหลี

........................


น้ำห้วยหลายสายลงเป็นน้ำน่าน

คนน่านรวมเป็นชาติไทย
ลูกหลานน่านทำกินตลอดจนแก่เฒ่า
ทุกคนน่านเดินตามรอยพ่อ
..
ป่าไม้ถูกทำลายแผ่นดินจะไร้ค่า
คนดีถูกทำร้ายประเทศชาติจะไร้คุณ
สิ้นป่าเหมือนสิ้นชาติ
.
"เราต้องการ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ชาวบ้านต้องมีส่วนรับรู้ร่วมกัน เช่น การประกาศอุทยาน ประกาศภัยพิบัติ"
.
ผู้ใหญ่สุริยะ
แกนนำบ้านกิ่วน้ำ อ.แม่จริม จ.น่าน

..........................


"เรามีบทเรียนรูปธรรมหลายเรื่องในการจัดการป่า ตั้งแต่บทเรียนของชุมชนศิลาแลง เรื่อยมาจนปัจจุบันที่กำลังทำเรื่องข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในระดับตำบล มีการทำความเข้าใจร่วมกัน ทำข้อมูล จัดระเบียบข้อปฏิบัติของอปท."

.
"ความท้าทายของคนน่าน เรื่องการจัดระบบผังเมืองอย่างไรที่จะรองรับภัยพิบัติและการพัฒนา เรื่องการขยายถนนสี่เลน AEC เปิดชายแดน การท่องเที่ยว แรงานต่างด้าว สายไฟฟ้าแรงสูงที่มารวมกันที่ดู่ใต้ เหล่านี้คนน่านจะจัดการอย่างไร"
.
สถาพร สมศักดิ์
แกนนำเครือข่ายชุมชน
ผู้ประสานงานพอช.

...........................


"ผมใช้ความรักในการทำงาน"
.
" คนที่ดูแลป่าได้ดีที่สุดคือชาวบ้าน เขารู้ว่าตรงไหนเป็นอย่างไร จะจัดการอย่างไร ตัวชี้วัดที่วัดได้คือ มีป่ากว่าแปดหมื่นไร่ มีสัตว์ป่า เสือ หมี เก้ง มีปริมาณน้ำที่ไหลจากป่าแม้ในหน้าแล้ง"
.
"เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ประคอง ให้คำปรึกษา เอาหัวโขนออก ทำตามวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ป่าของเขา อาหารอยู่ในป่าเป็นแหล่งอาหารของเขา เราไปนั่งคุยเป็นมิตรกัน เห็นอกเห็นใจกัน ให้เกียรติกัน"
.
"เราไม่ใช้กฎหมาย แต่ใช้กฎของชุมชน ซึ่งมีความเข้มแข็ง ชาวบ้านเขาใช้จริยธรรมซึ่งมันเหนือกว่ากฎหมาย เช่น ไม่ร่วมสังฆกรรม ตัดออกจากฌาปนกิจศพของชุมชน"
.
บัณฑิต ฉิมชาติ
หน.หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำมีด อ.เชียงกลาง

..................................


"เราใช้สารเคมีการเกษตรกันเยอะมาก ขณะที่อาหารที่ผลิตก็ไม่เพียงพอ เกิดภาวะน้ำท่วม ภัยแล้ง อากาศเปลี่ยน สุขภาพแย่ลง คนป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น"
.
"เราต้องปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต จากพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชหลากหลายชนิด ลดการใช้สารเคมี รวมกลุ่มกันช่วยเหลือกัน มีการจัดการตลาด"
.
"เราอยากให้มีการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างจริงจัง มีการรับรองเมล็ดพันธุ์ พันธุกรรมของชุมชน ไม่เอา GMO"
.
"สิ่งสำคัญคือการน้อมนำเอาพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง"
.
น้องแจง
สอบต.เปือ แกนนำชาวบ้าน
ต.เปือ อเชียงกลาง จ.น่าน

.....................................


"เราใช้ธรรมชาติเกินกว่าเหตุ เราทำลายธรรมชาติ ตัดฟันป่าทำไร่ที่ขุนห้วย ขุดลอกลำห้วย ดินโคลนก็ไหลไปตามลำห้วย ไปตามลำน้ำ ทำให้น้ำตื้นเขิน น้ำก็ท่วม"
.
"เราได้ทำมาแล้วอย่างเป็นรูปธรรม ใน ๕ อำเภอ ๒๐ หมู่บ้าน คือ การจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วม ทั้งประชาชน จนท.รัฐ อุทยาน มูลนิธิต่างๆ มาคุย มาวางแผนร่วมกัน สำรวจป่าด้วยกัน จัดแนวเขตป่า จัดตั้งชุมชน จัดระเบียบป่าร่วมกัน"
.
"ให้ทุกคนเป็นเจ้าของป่าเสีย แล้วเขาจะอนุรักษ์ของเขาเอง
แผ่นดินนี้เป็นของเราตั้งแต่เราเกิด และจะอยู่ไปจนตาย"
ผญ.สวย บ้านห้วยลอย อ.บ่อเกลือ

.................................


"..การจัดการภัยพิบัติ ต้องทำ ๒ อย่าง คือ การวางแผนรองรับภัยพิบัติ และการลดความเสี่ยงภัย Risk reduction ซึ่งอย่างแรกทำกันมาก แต่การลดความเสี่ยงภัยยังทำกันน้อยมาก.."
.
"...การจัดการภัยพิบัติ ต้องการความรู้ใหม่ ต้องมีแผน บูรณาการร่วมกับภาคีต่างๆ สถาบันวิชาการ หน่วยงานรัฐ ลำพังการจัดการที่มีอยู่อาจไม่พอ ชุมชนและเครือข่ายจะยืดตัวเองไปเชื่อมต่อกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ อย่างไร..."
.
"...น่านมีข้อมูล ความรู้ ข้อมูลการจัดการพื้นที่ ขอบเขตรายแปลงขอบเขตพื้นที่ มีข้อญัญญัติท้องถิ่น มีกฎเกณ์ของชุมชน กลไกของชุมชนเครือข่าย มีพลังปัญญาในการจัดการที่เป็นต้นแบบมากมาย และก็ไม่ใช่มีแต่ที่น่านที่อื่นก็มีเช่นเดียวกัน เป็นเรื่องท้าทายยิ่งในการผลักดันสังคมในเรื่องนี้.."
.
"การจัดการน้ำที่ดี ต้องมีธรรมาภิบาล คือ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม"
.
ดร.แมน ปุโรทกานนท์
หัวหน้าทีมประเมินผลแผนงานการจัดการภัยพิบัติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

..............................


"..น่านมีความเข้มแเข็งเป็นแบบอย่างที่อื่น มีกลไกชุมชนที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จัดการทรัพยากรร่วมกัน มีการคุยกันในชุมชน ระหว่างชุมชน คนบนเขา คนพื้นราบ มีกลไกที่เรียกว่าประชาสังคมทำงานที่เข้มแข็ง ให้ชาวบ้านได้มีปากมีเสียง มีกลไกอยู่ ๓ ระดับ คือกลไกระดับชุมช ระดับท้องถิ่น และระดับเครือข่าย..."
.
"ภายในคนน่านจัดการตนเองได้ แต่สิ่งคุกคามภายนอก มันเกินกำลังเกินขีดความสามารถ ต้องมองไปอนาคต ใช้เครื่องมือความรู้ใหม่มาช่วย ไม่ปิดตัว ไม่ปฏิเสธรูปแบบการจัดการใหม่ ต้องดึงนักวิชาการมาช่วย..."
.
"..น่านมีความร่วมมือ มีทุนภูมิปัญญาในการจัดการตนเองอยู่แล้ว ต้องขยายตรงนี้ให้มากขึ้น รัฐไม่ต้องทำเอง เพียงแต่หนุนเสริมให้กลไกประชาสังคมจัดการ.."
.
"...จากการรับฟังความคิดและข้อเสนอจากชาวบ้านและเครือข่ายในวันนี้ ผมขอสังเคราะห์ข้อเสนอของคนน่านไปบรรจุในในรัฐธรรมนูญใหม่ ๓ ข้อ
๑. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ภัยพิบัติแบบองค์รวม เป็นสิทธิหน้าที่ของชุมชน
๒. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ภัยพิบัติแบบองค์รวม ของชุมชนให้อยู่ในกรอบข้อบัญญัติของท้องถิ่น
๓. การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ภัยพิบัติแบบองค์รวม ต้องให้เป็นบทบาทหลักของชุมชน รัฐมีหน้าที่สนับสนุน.."
.
ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

.............................................................


หมายเหตุเสวนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และภัยพิบัติแบบองค์รวม
“เวทีคนน่านจัดการตนเอง”
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ ลานโพธิ์ลานไทร วัดอรัญญาวาส อ.เมืองน่าน

หมายเลขบันทึก: 581416เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2014 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2014 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท