ลดอัตตาวิชาชีพปฏิรูปสุขภาวะสังคมไทย


ขอขอบพระคุณคณะผู้จัดงาน ANHPERF และขอบพระคุณท่านอาจารย์จรัส สุวรรณเวลา ที่สร้างความตระหนักรู้ให้บุคลากรสุขภาพปรับความคิดความเข้าใจว่า "เราจะไม่เอาวิชาชีพมากันวิชาชีพ...สหวิชาชีพจะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง"

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมที่ระดมความคิดเห็นในภาคบุคลากรด้านสุขภาพได้มากถึง 380 ท่าน ที่จะมีการกำหนดยุทธศาสตร์ต่อไป และจะจัดการประชุมนี้ในครั้งที่สองราว มิ.ย. ปี 2558

  • นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพจากร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2557-2561) WHO (2013) และ Lancet (2010) ซึ่งท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช ได้แสดงความคิดเห็นใน Blog ของท่านด้วย
  • ระบบการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพจะต้องวางแผนในระยะ 15-20 ปี ในการปฏิรูประบบการบริหารของคณะในหลายมิติ ได้แก่ การพัฒนาอาจารย์ การพัฒนาเจ้าหน้าที่สนับสนุน การจัดสรรและการหาแหล่งงบประมาณที่นอกกรอบจากรัฐ (ใช้วิธีการที่นำไปสู่บัณฑิตที่พึงประสงค์เป็นตัวตั้ง) การวิจัยทางการศึกษาถึงการวางแผนการผลิตกับการใช้บัณฑิต (จำนวน คุณภาพ และการกระจาย) และมีโครงสร้างคณะที่มีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษากับคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนที่เข้าถึงการบริหารงานในรายหลักสูตรได้จริง
  • ระบบการบริการสุขภาพที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ (Interdisciplinary) และมุ่งเป้าตามความต้องการของผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพิ่มเครือข่ายด้วยสัมพันธภาพที่ดีระหว่างรัฐ-เอกชนทั้งองค์กรวิชาชีพ สถานบันการผลิต และหน่วยงานให้บริการสุขภาพ รวมทั้งการสร้างระบบและกลไกในการสื่อสารวางแผนเชิงระบบและกลยุทธ์ในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง (มีประเด็นคิดเรื่องผู้ให้บริการที่ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้บริหาร...จะต้องมีกำลังคนทดแทนหรือพัฒนาคนใหม่อย่างไร)
  • เป้าหมายของการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปฯ คือ ความเสมอภาค ความสามารถ (สมรรถนะ) และความพร้อมในการเข้าถึงคุณภาพของระบบบริการสุขภาพที่มีการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ท่านอาจารย์จรัส สุวรรณเวลาได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจโดยสรุปดังนี้

  • เมื่อวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาในระบบบริการสุขภาพของไทย คือ แต่ละองค์กรวิชาชีพทำงานแยกส่วน แต่ละองค์กรรัฐ-เอกชนเกิดความร่วมมือทำงานอย่างยากลำบาก แต่ละหน่วยบริการสุขภาพทำงานไม่ประสานกัน ไม่มีการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพที่ยืดหยุ่นหรือยังคงใช้อำนาจการตัดสินใจเฉพาะวิชาชีพหนึ่ง เรามี Best Practice ที่ดีในระดับรพ.ท้องถิ่นแต่ไม่พยายามเรียนรู้หรือไม่ลดความคิดต้านทานการเปลี่ยนแปลง แต่ละบุคคลเรียนรู้ด้วยการคิดเฉพาะการบำบัดรักษามากกว่าการคิดแล้วลงมือทำการส่งเสริมสุขภาวะแนวคิดใหม่ และสุดท้ายทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบบริการสุขภาพของไทยที่เกิดคำถามว่า "ประชาชนเข้าถึงและมีสุขภาพดีขึ้นแค่ไหน...ทุกวิชาชีพมีการสื่อสารเชิงระบบและเชิงทำงานร่วมกันเป็นทีมแค่ไหนที่มีสุขภาวะทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการทุกระดับและทุกภาคส่วน"
  • แนวทางจัดการรากเหง้าของปัญหาข้างต้น (Fragmented, Inertia, และ Imbalance Structure) ซึ่งถ้าไม่ทำประเทศไทยกำลังจะตกเหวใหญ่ของการบำบัดรักษาที่ไม่ได้ผลก่อให้เกิดความพิการและความตายมากขึ้น จึงควรปรับกลยุทธ์การให้บริการเชิงรุก ได้แก่ ระดับ 1 การป้องกันโรค การประเมินพฤติกรรมความเสี่ยง จนถึงการคัดกรองระยะแรกเริ่มอย่างเร็วจากทีมสหวิชาชีพ ระดับ 2 สหวิชาชีพร่วมมือกันควบคุมโรคมิให้แย่ลงแต่หากระบวนการต่างๆเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้รับบริการได้ในชีวิตจริง และระดับ 3 สหวิชาชีพเปิดโอกาสด้วยทางเลือกของการให้บริการแก้ผู้พิก่ารที่เกิดจากผลกระทบของการให้บริการในระยะก่อนและขณะเกิดโรค/อุบัติเหตุที่ช้าเกินไป (ไม่ได้รับบริการในระดับ 1 & 2) ให้มีสุขภาวะทางร่างกาย จิตสังคม และมีส่วนร่วมเป็นพลเมืองดีของไทย
  • เคล็ดลับในการสร้างแนวทางการจัดการเพิ่มคุณภาพของการให้บริการสุขภาพเชิงรุก คือ P4 Medicine: Participatory, Predictive, Preventive, และ Personalized ได้แก่ การทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพและด้านอื่นๆที่มิใช่สุขภาพ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานข้ามสาขาวิชาชีพในการศึกษาทำนายพฤติกรรมต่างๆที่เสริมสร้างสุขภาวะ การสร้างระบบการป้องกันโรคอย่่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการวิเคราะห์พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสุขภาวะในระดับส่วนบุคคล (พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมกายภาพ-สังคม) จนถึงระดับสังคมของผู้รับบริการ ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจและจัดลำดับความต้องการที่จำเป็นของผู้รับบริการอย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับการกระจายผู้ให้บริการสหวิชาชีพที่มีคุณภาพและมีสุขภาวะของการให้บริการด้วยหัวใจ อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพยกย่องผู้อืน เรียนรู้เปิดใจสม่ำเสมอ ลดอัตตาของตัวเอง สำรวจสิ่งที่ไม่รู้ด้วยใจ ค้นคว้าหลักฐานเชิงประจักษ์และชุมชนนักปฏิบัติต้นแบบที่ดีอย่างต่อเนื่อง และฝึกสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบที่นอกกรอบโดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนวัดผลได้และเห็นคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชน/ผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
หมายเลขบันทึก: 580809เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจพี่หมอครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่นงนาทและคุณเพชรน้ำหนึ่ง

เป็นบันทึกทึกที่ดีมากๆ อยากให้ทีมสุขภาพทุกท่านได้อ่านเช่นกันครับ

ยินดีและขอบพระคุณมากครับคุณทิมดาบ วันนี้ผมส่งต่อทางอีเมล์ให้อาจารย์กายภาพบำบัดกับกิจกรรมบำบัดได้อ่านก็ดูกระตุ้นพลังความคิดได้ดีนะครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท