ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ มอ.


บันทึกนี้ขอเขียนฐานะผู้ใช้คนหนึ่งของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ มอ. ค่ะ เพื่อเป็น feedback ให้แก่ศูนย์คอมฯ ในการพัฒนางานแบบ User-centered system development

ดังนั้นดิฉันจะเขียนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งปีในทุกครั้งที่มีการต้องเข้าใช้ระบบของ มอ. และหวังจะได้รับความเห็นต่อยอดจากผู้ใช้ระบบของ มอ. คนอื่นๆ ด้วย โดยมีเป้าหมายว่าร ะบบต่างๆ ของ มอ. จะเข้ามาช่วยลดภาระงานเอกสารของอาจารย์ได้จริงค่ะ

ระบบที่ใช้ในปัจจุบันมีดังนี้:

  1. http://hrmis.psu.ac.th ลงบันทึกภาระงาน ควรกรอกให้เสร็จเป็นอย่างแรก ทั้งงานสอน งานวิจัยและผลงานวิชาการ งานบริการวิชาการ และงานบริหาร (มีหลายคนเข้าใจผิดว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานน้อย)
  2. http://tor.psu.ac.th ทำข้อตกลงภาระงาน ทำไมไม่ดึงมาจาก hrmis ทั้งหมดให้อัตโนมัติ และทำไม tor ต้องกรอกหลังจากทำงานไปแล้ว
  3. http://sis.psu.ac.th ดูว่าสอนอะไรบ้าง นำรหัสชื่อวิชาและจำนวนผู้เรียนมากรอกใส่ใน hrmis (ทำไมไม่ดึงมาข้อมูลมาใส่ในระบบอื่นๆ ให้อัตโนมัติ)
  4. http://personnel.psu.ac.th ดูประวัติการศึกษาและการทำงาน เพื่อนำไปกรอกใน tor (ทำไมไม่ดึงมาข้อมูลมาใส่ในระบบอื่นๆ ให้อัตโนมัติ)
  5. http://tqf.psu.ac.th ใช้เขียนแผนการสอนเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาและประเมินผลการสอน
  6. http://competency.psu.ac.th ประเมินสมรรถนะเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ และตนเอง
  7. http://grade.psu.ac.th ส่งเกรดนักศึกษา

ปัญหาในการใช้ระบบ

  • บันทึกไว้เลยว่าใช้เวลาร่วมอาทิตย์ในการกรอกแบบฟอร์มระบบทางออนไลน์ซ้ำซ้อนและ interface สับสน
  • สำหรับคนที่ภาระงานเยอะทั้งงานสอน งานวิจัยและผลงานวิชาการ งานบริการวิชาการ และงานบริหาร เหนื่อยกันพอสมควรทีเดียว และได้รับเสียงบ่นกันมามากมายจากอาจารย์หลายๆ ท่านค่ะ
  • ปีหนึ่งทำแค่สองหนเท่านั้น ดังนั้นการทำ pre-processsing & post-processing จึงเป็นไปได้แน่นอนนะคะ
  • ปัญหาการ input ข้อมูลที่ซ้ำซ้อน และปัญหาด้าน interface design มีมานานหลายปีแล้วค่ะ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น กลับเพิ่มระบบต่างๆ ขึ้นมาอีกมากมายเพื่อให้ผู้ใช้ต้องมากรอกเพิ่มเติมอีก

ข้อเสนอแนะ

  • มอ. ควรมีระบบศูนย์กลางข้อมูลในการทำงานต่างๆ เหล่านี้สำหรับบุคลากรเป็นรายคนค่ะ และ personalize สำหรับแต่ละบุคคลได้เลยค่ะ เช่น my.psu.ac.th เป็นต้น
  • ไม่ควรเพิ่มระบบใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้ก็ต้องมานั่งนึกว่าต้องเอาข้อมูลอะไรจากระบบไหนมากรอกใส่ เชื่อว่าปัญหา human errors เกิดขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
  • ที่สำคัญมากๆ คือ เก็บ user requirements ให้ชัดเจน และทำ user testing บ่อยๆ ค่ะ
หมายเลขบันทึก: 580808เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2014 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นกำลังใจนะคะอาจารย์

น่าจะสื่อสารโดยตรงถึงหน่วยงานที่จัดทำเรื่องนี้ด้วยนะคะ เผื่อว่าเขาจะลืมนึกถึงไป อิ อิ

จันจะเขียนที่นี่ไปเรื่อยๆ ค่ะ เก็บไว้เป็นบันทึกความทรงจำของเราเองด้วยค่ะ เชื่อว่าศูนย์คอมฯ ต้องได้อ่านและเปิดใจรับฟังผู้ใช้แน่นอนค่ะ

ได้ลองใช้แนะให้ทีมงาน กับบันทึกการลางานของบุคลากร เนื่องจากระบบเดิมเป็นส่งกระดาษรอลายเซ็นอนุมัติ ปรับปรุงโดยใช้ ปฏิทินงานการประชุม

แทนที่จะเป็นปฏิทินแต่ละคน เป็นปฏิทินของหน่วยงาน การลาของแต่ละคน คือนัดหมายการประชุมวันนั้นๆ ตามเวลาที่กำหนด เช่น ลาเต็มวัน ลาครึ่งวัน

มีสรุปว่า แต่ละเดือนมีประชุมอะไรบ้าง ก็คือใครลาอะไรบ้าง

ตอนนี้ทีมงานกำลัง ลองทำเพิ่มอีกครับ เป็นเรื่อง สถานะการไปงานราชการ ก็เป็นลักษณะคล้ายๆกัน ครับ

ผู้ที่ขออนุมัติลา หรือไปราชการ จะสามารถ access online ว่าได้รับอนุมัติแล้ว


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท