Art and Science 1


Intangible to Tangible

Art and Science ตอนที่ 1

ระหว่างนี้ตัวเอง กำลังสนใจเรียนรู้แนวคิดของ Art เช่น สถาปัตยกรรม ศิลปะต่างๆ กับแนวคิดวิทยาศาสตร์ การวิจัยที่สร้างสิ่งใหม่ อย่างสนุกอยู่ เพราะพบว่ามีเรื่องหลายสิ่งมหัศจรรย์มาก น่าทึ่งมาก และสนุกมาก

เรื่องแรก เรขาคณิต และเลขคณิต คืออะไรกันแน่

เรขาคณิต เลขคณิต นั้นเป็นมากกว่า บวก ลบ คูณ หาร ที่เราเคยเรียน เพราะสามารถเปลี่ยน Intangible เป็น Tangible ได้

สำหรับงานสถาปัตยกรรม

สถาปนิกผู้ออกแบบพยายามสื่อถึงสิ่งที่เป็น Intangible ให้เป็น Tangible เช่น ความปรารถนา ความต้องการที่จะทำดีเพื่อไปสู่สวรรค์ ความอ่อนช้อย ความสงบเบิกบาน ความเป็นไทย สถาปนิกสามารถออกแบบแปลสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้เราเห็น ให้เราสัมผัส จับต้องได้ โดยใช้เรขาคณิต และเลขคณิต

เช่นเดียวกับงานคุณภาพการดูแล และงานวิจัย

งานคุณภาพการดูแลก็พยายามวัด ความเอื้ออาทร ความปลอดภัยผู้ป่วย คุณภาพชีวิต ออกมาให้เรารับรู้ และเปรียบเทียบให้เห็น โดยผ่านตัวชี้วัดซึ่งเป็นตัวเลข นั่นก็คือใช้ "เลขคณิต" เช่นกัน

และงานวิจัยก็เช่นกัน สามารถ ทำเรื่องที่ sensitive ที่เป็น intangible เช่น คุณค่าความเป็นมนุษย์ Humanize จิตลักษณะ ความเชื่ออำนาจแห่งตน ให้เป็น tangible ออกมาให้เราค้นพบ ตีค่าได้ ตัวเองจึงคิดว่าน่าแปลกมากที่มันสอดคล้องตรงกัน เพราะงานวิจัยก็ใช้หลักการเดียวกันคือ "เลขคณิต" อีกเช่นกัน

มันน่าทึ่งไหมคะ ดังนั้นตัวเองจึงขอคารวะ "matchmatics"

และมีอีกหลายสิ่งที่มหัศจรรย์ในความเป็น art and science


ขอบพระคุณอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม และวิจัย (ครับผม)

หมายเลขบันทึก: 580582เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2014 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2014 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบใจใช้ผสมผสานกัน

หายไปนานมากๆ

คิดถึงๆครับ

ปลายเดือน จะมา บรรยาย ที่ มรภ อยุธยา ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท