​บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2:ระบบการศึกษาในประเทศต่างๆ


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง ระบบการศึกษาในประเทศต่างๆ

ผู้บันทึก นางสาวณัฐฏ์พัชรสร สมบัติ รหัสนักศึกษา 57D0103107

ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

*********************************************************************************** 1.ความรู้ความเข้าใจที่ได้หลังจากได้รับการศึกษา

ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์

เมื่อ 300 ปีที่แล้วประเทศฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของประเทศสเปน จากนั้นก็ตกเป็นอาณานิคมของประเทศอเมริกา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงจึงทำให้ต้องปรับหลักสูตรเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าประเทศฟิลิปปินส์ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนเพียง 10 ปีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ใช้เวลา 12 ปี เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางด้านการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศฟิลิปปินส์จึงปรับหลักสูตรให้เป็น 12 ปี

หลักสูตรที่ใช้ คือ K-12 program

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้ก็เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาบุคลากรให้สามารถต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไปและเตรียมความพร้อมที่จะเป็นนักลงทุน ซึ่งหลักสูตรแบ่งช่วงระดับการศึกษา ดังนี้

-อนุบาล ใช้เวลาเรียน 1 ปี

เนื้อหาที่ใช้สอนในระดับนี่ คือ1. ตัวอักษร 2.ตัวเลข3. รูปทรง4. สี จะเรียนโดยใช้เกมส์และเพลง

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนคือ ภาษาฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศหมู่เกาะจึงทำให้มีภาษาที่ใช้มากกว่าร้อยภาษาแต่มีเพลง 12 ภาษาเท่านั้นที่กระทรวงศึกษาธิการระบุให้สามารถใช้ในการเรียนการสอนได้

-ประถมศึกษา ใช้เวลาเรียน 6 ปี

เน้นทักษะการสื่อสารระดับนี้จะเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนจะสามารถอ่านทั้งภาษาอังกฤษและฟิลิปปินส์ สำหรับชั้นประถมปีที่ 4-6 ใช้ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน

- มัธยมต้น ใช้เวลาเรียน 4 ปี

ในชั้นระดับมัธยมศึกษาจะเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์

-มัธยมปลาย ใช้เวลาเรียน 2 ปี

จะเรียน 7 วิชาพื้นฐาน ได้แก่ ภาษา วรรณคดี การสื่อสาร คณิตศาสตร์ ปรัชญา วิทยาสาสตร์ สังคม

สำหรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาจะสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับ การเกษตร ค้าขาย อิเล็กทรอนิก

ระบบการศึกษาของประเทศเวียดนาม

เป็นหลักสูตร 12 ปี

-อนุบาล อายุ 3-5 ปี

-ประถมศึกษา อายุ 6-10 ปี

ช่วงนี้จะเน้นการเรียนวิชา คณิตศาสตร์และภาษาเวียดนาม

-มัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 11-15

วิชาที่เรียน ได้แก่ คณิตศาสตร์ วรรณคดี ฟิสิกส์ เคมี ชีวะวิทยา ประวัติสาสตร์ เทคโนโลยี พลเมืองศึกษา ภาษา (อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย)

-มัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 16-17

แยกเรียนตามความสามารถ แบ่งเป็น

สาย A คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี

สาย B คณิตศาสตร์ ชีววิทยา เคมี (สายนี้จะเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย)

สาย C วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์

สาย D ภาษา วรรณคดี

เวลาเรียน

แบ่งเป็น 2 ช่วง ถ้าเรียนในช่วงเช้าก็จะไม่ต้องเรียนในช่วงบ่าย

ช่วงเช้า 7.00-11.30 น. ช่วงบ่าย 13.00-17.30 น.

ระดับชั้นประถมศึกษา จะเรียนวันจันทร์-วันศุกร์ ส่วนระดับมัธยมศึกษาจะเรียนวันจันทร์-วันเสาร์

การให้เกรด

8.5-10 ดีเยี่ยม (แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 6.5)

6.5-8.4 ดี (แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 5.0)

3.5-6.4 ผ่าน (แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.5)

แต่หากมีวิชาใดวิชาหนึ่งเกรดต่ำกว่า 3.4 ต้องเรียนใหมาทุกวิชา

ระบบการศึกษาของประเทศกัมพูชา

สมัยก่อนไม่มีโรงเรียนและมีเพียงเด็กผู้ชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือแต่จะเรียนที่วัด

หลักสูตรการเรียนการสสอน จะเป็น 12 ปี

-อนุบาล อายุ 3-5 ปี

-ประถมศึกษา อายุ 6-11 ปี

-มัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 12-14

-มัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 15-17

กิจกรรม 7.00 น. และ 17.00 น. จะร่วมกันร้องเพลงชาติ

การเรียนแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 7.00 น.-11.00 น. ช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 14.00-16.00 น.

ระบบการศึกษาของสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็ก มีทรัพยากรทางธรรมชาติน้อยแต่ข้อดีคือเป็นเมืองท่า ด้วยเหตุนี้การศึกษาของสิงคโปร์จึงเน้นไปที่คุณภาพของบุคคล

การเรียนจะแบ่งเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ ปิดเทอมใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์

การศึกษาในระดับก่อนอนุบาล อายุ 2-3 ขวบ จะไม่บังคับ สำหรับระดับอนุบาล อายุ 5-6 ขวบ สามารถเลือกเรียนในช่วงเช้าหรือบ่ายก็ได้ หลังจากที่จบระดับชั้นประถมศึกษาจะต้องมีการสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยม วิชาที่สอบ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาแม่ และยังมีการทดสอบทักษะทางภาษาโดยจะสอบปากเปล่า เพื่อเน้นความเข้าใจและการนำไปใช้

2.สะท้อนแง่คิดที่ได้หลังจากการเรียน

4.1 การจัดการเรียนการสอนที่เป็นไปตามหลักสูตรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและบริบทของประเทศนั้น เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ที่จัดหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนเพื่อการเป็นนักธุรกิจ เพราะสภาพสังคมมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สูง จึงจำเป็นที่จะต้องจัดเนื้อหาวิชาและการจัดกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย

4.2 จากที่ได้ฟังการบรรยายเกี่ยวกับระบบทางการศึกษาของแต่ละประเทศจะพบว่า จะเน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง จะเรียนภาคทฤษฏีในครึ่งวันและอีกครึ่งวันครูจะสั่งงานเพื่อให้นักเรียนไปค้นคว้าเอง นับว่าเป็นกิจกรรมที่เน้นทักษะการทำงาน กระบวนการคิดและความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดีแต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีช่วงเวลาของการเรียนในแต่ละวันที่สูง

4.3 ระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของผู้เรียน ถึงแม้หลักสูตรจะดีแค่ไหนหากผู้เรียนไม่มีวินัย ใฝ่รู้ที่จะเรียนแล้วก็ไม่สามารถบรรลุตามจุดหมายของหลักสูตรได้

4.4 การศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เพียงครูที่สอนในโรงเรียนเท่านั้นหากแต่หมายถึงครอบครัวว่าให้ความสำคัญกับลูกมากน้อยเพียงใด ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในการเลือกหนังสือเสริมทักษะให้ลูก ให้เวลาและเอาใจใส่ลูกเป็นอย่างมาก

4.5 เทคโนโลยีก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการแสวงหาความรู้เพราะอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ มีองค์ความรู้มากมายที่ให้ผู้เรียนที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้ เช่น ในโรงเรียนจะมี Tablet ให้กับนักเรียนในการค้นคว้าหาความรู้แต่สำหรับประเทศไทยแล้ววัตถุประสงค์ที่แท้จึงแล้วต้องทบทวนให้ดีดีครั้งว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่

3.บรรยากาศในการเรียน

ผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้มีทั้งนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติการสอนจริง นักศึกษาปริญญาเอกและโท สาขาหลักสูตรและการสอนนับว่า เป็นการสัมมนาที่เปิดทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาที่ดีมาก เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามคำถามเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่ได้ผู้เล่าประสบการณ์ที่เป็นเจ้าของหลักสูตรและเข้าใจระบบการศึกษาของแต่ละประเทศถือว่าเป็นการสะท้อนความคิด สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประโยชน์ยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 580132เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท